ฟ้าใส
นางสาว จินตนาภรณ์ จิน นาคสัมพันธ์

m-Learning ขอขอบคุณ internet.se-ed.com


m-Learning

m-Learning

ในช่วงปี ค.ศ. 1995 – 2000 การศึกษาแบบ e-Learning โด่งดังเป็นอย่างมากไม่ว่าจะทั้งในประเทศไทยเราเอง และต่างประเทศ แทบทุกคนก็คิดว่า e-Learning คงเป็นเทคโนโลยีสุดท้ายที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการศึกษาทางไกล แต่ความไม่แน่นอนก็เกิดขึ้น เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) ได้เข้ามามีบทบาทและเติบโตอย่างมากในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา อุปกรณ์แบบไร้สายต่างๆ ได้เข้ามาแทนที่อุปกรณ์แบบมีสาย (wired) ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ โทรศัพท์มือถือ เมื่อมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีแบบไร้สาย เทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ก็ถูกพัฒนาตามขึ้นไปด้วย ซึ่งได้แก่ Bluetooth, WAP (Wireless Application Protocol), GRPS (General Packet Radio System) และ UMTS (Universal Mobile Telecommunications System) เมื่อเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไป วิธีการศึกษาหาความรู้ก็ถูกพัฒนาตามไปด้วย m-Learning จึงเกิดขึ้น m-Learning ย่อมาจาก mobile learning ซึ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning เป็นการผสมผสานที่ลงตัวของการพัฒนาการศึกษาเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เทคโนโลยีที่กล่าวถึงนี้ก็คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย เราเรียกการเรียนแบบนี้ว่า Wireless Learning , Mobile Learning หรือ m-Learning

ดังนั้น m-learning คือ การศึกษาทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA และ laptop computer

ในปัจจุบันวิธีการศึกษาแบบ m-Learning นั้นยังไม่ปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมมากนัก คงเห็นเพียงแต่การวิจัยของสถาบันการศึกษา และบริษัทที่ให้บริการด้านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ERICSSON และ NKI Distance Education หรือ NKI อินเทอร์เน็ต College ประเทศนอร์เวย์ เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนแบบทางไกลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมมือกันเพื่อทำการศึกษาและวิจัยเรื่อง m-learning ว่ารูปแบบวิธีการเรียนจะเป็นอย่างไรโดยผ่านอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ

นอกจากนี้บริษัท ERICSSON ได้มีการวิจัยและรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เรื่อง d-learning , e-learning จนกระทั่ง m-learning ในขั้นต้นบริษัท ERICSSON ได้ลองทดสอบการเรียนรู้แบบ m-learning กับโทรศัพท์มือถือรุ่น R320, R380 และ R520 โดยเครื่องรุ่น R380 หน้าจอเป็นแบบแนวนอน นอกนั้นเป็นแนวตั้ง และจากการศึกษาก็พบว่าโทรศัพท์รุ่น R380 สามารถแสดงผลได้ดีกว่าอีกสองรุ่น เพราะหน้าจอที่เป็นแนวนอนจะสามารถแสดงผลข้อมูลตัวอักษรและข้อมูลรูปภาพได้ดีและมากกว่าหน้าจอที่เป็นแนวตั้ง

กลับด้านบน

m-learning เรียนกันอย่างไร

จากข้อมูลการวิจัยร่วมของบริษัท ERICSSON และ NKI อินเทอร์เน็ต College ประเทศนอร์เวย์ สามารถสรุปได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่าง วิธีการเรียนรู้เนื้อหาของวิชาที่เรียนผ่านโทรศัพท์มือถือหลังจากที่ ดาวน์โหลด บทเรียนมาเรียบร้อยแล้ว

อาจารย์ประจำวิชาจะจำแนกเรื่องที่จะสอนเป็นบทและหัวข้อย่อยต่างๆ เช่น เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็จะจำแนกเป็นหัวข้อย่อยๆ ดังนี้

1. ประวัติและความเป็นมา

2. หน่วยความจำ

2.1. หน่วยความจำหลัก

2.2. หน่วยความจำเสมือน

3. อุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ

3.1. Input

3.2. Output

4. ………………………….................

4.1………………...............

4.2………………...............

ผู้เรียนสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลต่างๆ ได้โดยผ่านหัวข้อหลักก่อนแล้วจึงเข้าไปในหัวข้อที่ย่อยลงไปได้อีกเรื่อยๆ จนพบรายละเอียด ลักษณะการทำงานเช่นนี้เหมือนกับการเลือกเมนูต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ

เช่น อยากรู้เรื่องหน่วยความจำหลัก บนเมนูจะปรากฏหัวข้อ

ผู้เรียนต้องเลือกหัวข้อที่สอง เรื่องหน่วยความจำ

หลังจากนั้นหน้าจอก็จะปรากฏรายละเอียดที่มีในหัวข้อหน่วยความจำ นั่นก็คือ 2.1 หน่วยความจำหลัก 2.2 หน่วยความจำเสมือน

ผู้เรียนก็เลือก 2.1 หน่วยความจำหลัก เพื่อเข้าไปอ่านรายละเอียด

เราจะเห็นได้ว่าลักษณะการเข้าถึงข้อมูลนั้น คล้ายกับการที่เราเข้าไปยังฟังก์ชันต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือและสิ่งที่นักเรียนสามารถกระทำผ่านการเรียนแบบ m-learning มีดังนี้

  • เรียนรู้เนื้อหาของวิชาที่เรียน

  • จดโน้ตย่อ

  • ทำรายงาน

  • ดาวน์โหลด เอกสารการเรียน

  • หาข้อมูลเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เรียน

  • ส่ง และ รับ อีเมล์ จากเพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกัน อาจเป็นการซักถามกันถึงหัวข้อที่ไม่เข้าใจ

  • รับ อีเมล์ การสั่งงานหรือการบ้านจากอาจารย์ประจำวิชา

  • ส่งรายงานหรือการบ้านผ่านทาง อีเมล์

  • รับ อีเมล์ รายงานหรือการบ้านที่อาจารย์ประจำวิชาได้ตรวจแล้ว

กลับด้านบน

m-learning เหมาะกับใคร

คณะผู้จัดทำสื่อการศึกษาของหน่วยงานพัฒนาและฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้กล่าวถึงข้อดีของการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์แบบไร้สาย หรือ m-learning ว่า มีลักษณะของความเป็นส่วนตัวสูง ดังนั้นวิธีนี้จะสามารถช่วยเหลือและส่งเสริมทักษะการอ่านและเขียน ให้กับผู้ที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับสังคมและเรียนรู้ตามระบบการศึกษาปกติได้ ไม่ใช่ว่า m-learning จะมีประโยชน์เฉพาะกับคนที่มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมเท่านั้น คนปกติอย่างเราๆ ก็สามารถเรียนรู้ผ่าน m-learning ได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง, หาที่เล่น อินเทอร์เน็ต ลำบาก และสะดวกที่จะใช้อุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ PDA การศึกษาแบบ m-learning ก็ดูเหมาะสมกว่าการเรียนรู้แบบอื่น

กลับด้านบน

ลักษณะเด่น / ลักษณะด้อย ของการศึกษาแบบ m-learning

ลักษณะเด่น

  1. มีความเป็นส่วนตัวสูง

  2. สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและสถานที่ เพราะใช้เทคโนโลยีแบบไร้สาย

ลักษณะด้อย

  1. อุปกรณ์แบบไร้สายมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของแต่ละเครื่องก็แตกต่างกัน การใช้งานก็ย่อมแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอที่เล็ก หน่วยความจำที่มีจำกัดและน้อย ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดาวน์โหลด ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลรูปภาพ และเสียง ที่ต้องใช้หน่วยความจำมาก

  2. ค่าใช้จ่ายสูง เพราะ

  • การ ออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์ไร้สายจำพวกโทรศัพท์มือถือและ PDA มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการเล่น อินเทอร์เน็ต บนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ PC หลายเท่า

  • อุปกรณ์เชื่อมต่อ (input / output ต่างๆ ) ก็ต้องเป็นอุปกรณ์เฉพาะของรุ่นใดรุ่นหนึ่งเท่านั้น ทำให้สิ้นเปลือง

กลับด้านบน

อนาคตของ m-learning

ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วในเรื่องข้อด้อยของการเรียนรู้แบบ m-learning อุปกรณ์ไร้สายส่วนมากมีหน้าจอเล็ก , การประมวลผลช้า ,หน่วยความจำที่จำกัดและน้อยกว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากหากเทียบกับการเรียนรู้ทางไกลแบบอื่นๆ (d-learning และ e-learning) ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้การพัฒนาวิธีการเรียนรู้โดยผ่านโทรศัพท์มือถือ และ PDA นั้นอาจเติบโตได้ช้า แต่หากเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริงๆ การเรียนแบบนี้ ก็จะเอื้อประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการเรียนและสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเข้าสังคม เรียกได้ว่าเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้น เราคงต้องฝากความหวังไว้ให้กับผู้พัฒนาทั้งหลาย ที่จะผลิตอุปกรณ์ไร้สายที่เหมาะสำหรับการเรียน และวิธีการเรียนที่มีประสิทธิภาพ และคาดว่าอีกไม่นานเกินรอ คนไทยจะได้สัมผัสการเรียนรู้แบบ m-learning อย่างแน่นอน

การเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นแบบใด จะ ใช้เทคโนโลยีที่สูงเท่าใดก็ตาม

หากผู้เรียนไม่มีความตั้งใจจริงก็คงไม่มีประโยชน์อะไร

ผู้พัฒนาด้านเทคโนโลยีการศึกษาพยายามให้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไป

สามารถให้ความรู้กับผู้ใช้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ก็ตาม

ขึ้นอยู่กับว่า “เรา” ผู้ใช้เทคโนโลยีจะใช้เทคโนโลยีที่อยู่ในมือให้มีค่ากับตัวเรามากเท่าใด

หมายเลขบันทึก: 43294เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมได้มีเวลาว่างวันนี้เลยตรวจสอบดูว่านักศึกษาป.โท เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ปี 1 สร้างบล๊อกหรือยัง พบบล๊อกของคุณ จึงขอแสดงความยินดีที่สร้างบล๊อกแล้ว และนำเข้าแพลนเน็ต ปริญญาโท และ   แพลนเน็ตเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา แล้ว

ฝากคุณบอกเพื่อนในชั้นด้วยว่าให้สร้างบล็อกโดยด้วย แล้วส่งชื่อบล็อกด้วย e-mail ให้ผม ด้วยที่

[email protected]

เกียรติศักดิ์  พันธ์ลำเจียก

อยากให้คิดต่อว่าจะทำวิจัยอะไร ในประเด็น mLearning

เกียรติศักดิ์  พันธ์ลำเจียก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท