โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ " Earth Science Inquiry"


   ในวันที่  15 - 16  มีนาคม  2554  ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ "Earth Science Inquiry" ณ.ห้องลาดบัวหลวง โรงแรมอยุธยาแกรนด์โอเต็ล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีท่าน ผอ.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ ผอ.สำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธี โดยมีผู้ร่วมอบรมจำนวน 70 ท่าน จากพื้นที่ให้บริการของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา ก็คือ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา โดยมี นางตติยา ใจบุญ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาเอกมัย เป็นวิทยากรให้ความรู้สำหรับกิจกรรมการอบรมทั้ง 2 วัน โดยมีกิจกรรมในขั้นตอนของการอบรมดังนี้

วันที่ 15 มีนาคม 2554

กิจกรรมเพื่อนหิน เป็นการแบ่งกลุ่มเพื่อให้ทุกคนที่เข้ารับการอบรมได้รู้จักกัน จากการหยิบหินที่ทีมวิทยากรจัดเตรียม หลังจากนั้นก็ให้แบ่งกลุ่มตามหินที่ทุกคนจับได้ หลังจากนั้นวิทยากรจะบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของหินต่าง ๆ รวมถึงแหล่งที่มา ดังนี้

  • กลุ่มหินแกรนิต (Granite) เป็นหินที่ได้จากประเทศไต้หวัน ใช้ประโยชน์ในการปูพื้น

  • กลุ่มหินทราย (Sand Ston) เป็นหินที่ได้จากจังหวัดนครราชสีมา ใช้ประโยชน์ในการแกะสลัก

  • แร่ยิปซัม (Gypsum) เป็นแร่ที่ได้จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ในการก่อสร้าง

  • หินทัฟฟ์ (Tuff) เป็นหินที่ได้จาก อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี เป็นหินจากขี้เถ้าภูเขาไฟ สามารถใช้ประโยชน์ในการเป็นปุ๋ยทางดินสำหรับพืชได้

  • หินเทคไทด์ หรือ อุลกมณี (Tektite) จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย

  • แร่ควอตซ์ (Quartz)

  • 

กิจกรรมมีอะไรอยู่ในภาพ เป็นการนำภาพให้ผู้รับการอบรมร่วมกับสังเกตภายในกลุ่มว่าในภาพเห็นอะไรบ้าง ซึ่งการสังเกตก็เป็นกระบวนการของวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เราพบเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นและตั้งประเด็นคำถาม ซึ่งทุกกลุ่มก็สังเกตภาพ และเขียนสิ่งที่เห็นลงในกระดาษและทุกกลุ่มก็นำเสนอการสังเกตของแต่ละกลุุ่ม ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับครู กศน.ตำบล ที่จะนำกระบวนการดังกล่าวไปทำแผนการสอน และสอนนักศึกษา

กิจกรรม หิน หิน หิน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้ทราบว่า กระบวนการเกิดหินเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งวัฎจักรหิน มีดังนี้คือ หินอัคนี หินแปร และหินตะกอน ซึ่งหินทัง 3 ประเภทนี้มีกระบวนการเกิดที่แตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กัน  

กิจกรรม ฟอสซิล บอกอายุ เป็นกิจกรรมที่ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบว่าวิวัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา มีหลากสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นบนโลก มากมาก รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทต่าง ๆ ที่เกิดก่อนมนุษย์และสูญพันธ์ไป รวมถึง มีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ที่นักธรณีวิทยานับว่าเป็นประโยชน์ในการศึกษาว่า โลกมีอายุมาเท่าไร กิจกรรมนี้ ทางวิทยากร ได้นำตัวอย่างฟอสซิลของจริง มาให้ชม และสัมพัส เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

วันที่ 16 มีนาคม 2554

กิจกรรม เปลือกโลกไม่เคยหยุดนิ่ง ซึ่งทางวิทยากร ได้ให้ชมวิดีโอ เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์ซึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่น และบรรยายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแผ่นของเปลือกโลก ว่าแผ่นเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

กิจกรรมแบ่งชั้นบรรยากาศโลก เป็นกิจกรรมที่ทำให้ทราบว่า ชั้นบรรยากาศในโลกมีกี่ชั้น และมีระดับความสูงเท่าไร มีอุุณภมิเท่าไหร่

กิจกรรม อยู่รอดในโลกร้อน เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและสร้างสรรค์ที่จะมาประยุกต์ใช้ในการสอนได้เป็นอย่างดี เป็นกิจกรรมที่นำสิ่งที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสื่อการสอน และสามารถสร้างจิตสำนึกให้แก่นักศึกษาในการลดสภาวะโลกร้อนได้

สำหรับการอบรมในครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์สำหรับครู กศน.ตำบล เป็นอย่างมาก เพราะจะได้นำกระบวนการที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำแผนการสอน และการสอน และต้องขอขอบคุณท่านวิทยากร นางตติยา ใจบุญ ที่ถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับกระบวนการสอน และกิจกรรรมที่สามารถในไปประยุกต์ใช้ รวมถึงผู้จัดโครงการ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพระนครศรีอยุธยา สำหรับโครงการดี ๆ เช่นนี้

หมายเลขบันทึก: 431602เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2011 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท