ข้อค้นพบจากงานวิจัยมิติด้านการบำบัดยาเสพติด


ข้อค้นพบจากงานวิจัยมิติด้านการบำบัดยาเสพติด

มิติด้านการบำบัดยาเสพติด

ประเด็น

ข้อค้นพบ

การกำหนดเป้าหมายการบำบัด

-จากการประเมินผลการดำเนินงานระบบบังคับบำบัด[1] พบว่าการดำเนินงานตามระบบสมัครใจในพื้นที่ จะมีความยากลําบากที่จะทําใหไดถึงเปาหมายที่ถูกกําหนดมาจากสวนกลาง เพราะการที่ผูเสพ/ผูติดจะยอมรับวาตนเสพยาเสพติดไมใชเรื่องงาย ในขณะที่ระบบบังคับบําบัดนั้น เปาหมายที่สวนกลางกําหนดมาใหในแตละปตํ่ากวาสภาพการณแทจริงที่เปนอยูดังนั้นเพื่อที่จะไมให้งบประมาณลดลงตามเปาหมาย หนวยงานสาธารณสุขในระดับจังหวัดจึงตองหาคนหาวิธีการที่จะนําผูเสพ/ผูติดเขาบําบัดรักษาแบบกึ่งสมัครใจกึ่งบังคับ  ก็คือถูกบังคับมาจากพอแมผูปกครองญาติพี่นองหรือครอบครัว หรือการลงพื้นที่เจาหนาที่รัฐเพื่อประชา-สัมพันธ

-การกำหนดเป้าหมายจากส่วนกลางมุ่งเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพของกระบวนการบำบัด จึงทําใหการทํางานของเจาหนาที่ผูปฏิบัติเกิดความสับสนและไมชัดเจนในวัตถุประสงคของผูกําหนดนโยบาย  กระบวนการนําผูเสพ/ผูติดเขาสูระบบบําบัด  และผูที่ผานการบําบัดแลวจึงไมเกิดประสิทธิผลเทาที่ควร

การบำบัดรักษายาเสพติด

การดำเนินงานระบบบังคับบำบัด 

-การจับกุมผูเสพ/ผูติดเขาสูกระบวนการบังคับบําบัดนั้นมาจากหลายชองทางทั้งจากการสืบประวัติของผูกระทําความผิดเอง  จากการซัดทอดของผูตองหาอื่น การ  สุมตรวจคนจากดานตรวจ  การแจงเบาะแสจากประชาชน  และสายของตํารวจที่เขาไปคลุกคลีกับคนในหมูบาน-ชุมชน จากการดำเนินงานตามระบบบังคับบำบัดพบว่าสถานบําบัดไมเพียงพอตอผูที่เขารับการบําบัดฟนฟูแบบควบคุมตัว  สถานบําบัดในแตละแหงสามารถรับได ๕๐-๑๐๐  เตียงเทานั้น เนื่องจากมีพื้นที่ที่จํากัด   ในขณะที่มีผูถูกวินิจฉัยใหเขาสูกระบวนการบําบัดฟนฟูแบบควบคุมตัวมีเปนจํานวนมากจึงเกิดการตกคางของผูที่เขาบําบัด ในบางพื้นที่มีวิธีการแกปญหาโดยการปรับลดระดับความรุนแรงของผูที่ตองบําบัดแบบควบคุมตัวใหอยูในแผนแบบผูปวยนอกการจัดคายระยะสั้น ๔-๗ วัน ซึ่งเป็นวิธีการที่หลายจังหวัดมีการนํามาใช

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

เพื่อลดปญหาของสถานบําบัดไมเพียงพอ ระยะเวลาในการจัดคายซึ่งสามารถจัดคายไดเพียงระยะสั้นเนื่องดวยงบประมาณจํากัดและภาระหนาที่ของเจาหนาที่    คุมประพฤติทุกคนที่มีปริมาณมากแตการบําบัดแบบควบคุมตัวนั้นตองใชในระยะเวลา ๑๒๐ - ๑๘๐ วัน ตามที่กรมฯ กําหนด  ดังนั้นการจัดคายบําบัดระยะสั้น

เพียง ๔-๗ วัน จึงไมสามารถใหการบําบัดไดครบทุกโปรแกรม  คุณภาพของการบําบัดฟนฟูแบบจัดทําคายระยะสั้นจึงไมเกิดประสิทธิภาพเทาที่ควร เกิดการกลับมาเสพซํ้าของผูติด ซึ่งถึงแมวาวิธีดังกลาวจะไมเกิดประสิทธิภาพเทาที่ควร แตกระบวนการบําบัดฟนฟูก็ตองคงดําเนินการตามขั้นตอนของระบบบังคับบําบัดตอไป

จึงนับวาเปนหนทางที่ดีกวาการปลอยใหผูเสพ/ผูติดตกคางอยูที่คุมประพฤติโดยมิไดกระทําการใดๆ

-การควบคุมตัวไวในสถานที่ควบคุมตัวกรณีไมประกันตัวผลการศึกษาในแตละพื้นที่พบวามีการลงความเห็นจากทุกฝายที่มีสวนเกี่ยวของในดานการบําบัดฟนฟู

ผูเสพ/ผูติด ระบุใหเรือนจําเปนสถานที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมตัวผู้ที่อยูระหวางรอตรวจพิสูจน  โดยคนกลุมนี้ตองเขาไปอยูในเรือนจําเพื่อรอผลพิสูจน              วาตนเองเปนผูเสพหรือผูติด  ซึ่งในชวงนี้ทางราชทัณฑจะเปนผูดูแล และหามนักโทษอื่นมาปะปนแตในบางจังหวัดจะมีขอจํากัดของพื้นที่  ซึ่งจำนวนของผูรอตรวจพิสูจนมีจํานวนมากเกินกวาเรือนจําจะรองรับไดและเนื่องจากไมมีสถานที่อื่นรองรับ  จึงจําเปนตองอยูอยางแออัด  สําหรับในสวนของการจัดกิจกรรมที่จะแกไข 

ฟนฟูนั้นยังไมพบขอมูลหรือนโยบายในการจัดทําหลักสูตรบําบัดในระยะสั้นของเรือนจําที่ชัดเจน

-ในกระบวนการของระบบบังคับบําบัดไมวาจะเปนแบบควบคุมตัว และไมควบคุมตัว ตองมีครอบครัวเปนหลักในการเขารวมกิจกรรม ในการอบรมปฐมนิเทศ

จะตองมีครอบครัวมาดวยทุกราย  เพราะถือวาครอบครัวเปนจุดเริ่มตนที่สําคัญในการแกปญหา

-เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการบําบัดตามกําหนดเวลาคือ ๑๒๐-๑๘๐ วันผูปวยมักจะไมตองการใหติดตาม  ซึ่งตองมีการชี้แจงใหผูปวยฟงวาการติดตาม ไมใชการจับผิด  แตคือการไปติดตามดูแลเพื่อชวยเหลือ  ซึ่งผลการศึกษาพบวาสํานักงานคุมประพฤติแตละจังหวัดที่ศึกษานั้น  มีจํานวนผูเสพมากกวา ๑,๐๐๐  รายที่จะตองดําเนินงานติดตามดูแล ซึ่งในการติดตามจะใชงบประมาณจํานวนมหาศาล และมีขอจํากัดมากมาย ทั้งในการเดินทางติดตาม สภาพพื้นที่และความหางไกลของระยะทาง  โดยเฉลี่ยใน ๑ ราย  ตองใชงบประมาณในการติดตามดูแล ๕๐๐ บาทตอครั้ง  ซึ่งเปนขอจํากัดที่เกิดขึ้น 

-สํานักงานคุมประพฤติไดมีความพยายามในการแกไขปญหาดังกลาว โดยประสานงานใหอาสาสมัครคุมประพฤติหรือเครือขายผูนําชุมชนผูใหญบานกํานัน  ที่มีอยูในหมูบาน-ชุมชนหรือหนวยงานที่ทําหนาที่บําบัดอยูแลวใหเขามามีสวนรวมในกระบวนการนี้  ซึ่งก็สามารถดําเนินการติดตามไดสวนหนึ่ง  แต่วิธีนี้ยังมีขอจํากัด

ในการที่จะสรางใหอาสาคุมประพฤติเหลานั้นมีทักษะในการติดตามผูติดยา หรือผูเลิกยาเสพติด เพราะการทำงานตองมีทักษะเทียบเทากับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ 

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

ชาวบานหรืออาสาสมัครคุมประพฤติหรือเครือขายที่จะทําหนาที่ตรงนี้ไดตองไดรับการฝกอบรม  เพราะถาผูติดตามไมไดรับการอบรมหรือฝก จะไมสามารถทํางานไดและเมื่อเวลาเกิดปญหาขึ้นในระหวางการติดตามก็อาจจะสงผลถึงความปลอดภัยของผูติดตามเอง ดังนั้นจึงตองมีกระบวนการในการติดตามที่มีคุณภาพใหสามารถมีขอมูลชี้ชัดไดวาผูที่ผานการบําบัดแลวสามารถกลับสูสังคมไดดีหรือไม 

-ขอเสนอแนะจากผลการวิจัย

๑)  ใหมีหน่วยงานบําบัดโดยเฉพาะทําหนาที่เปนหนวยงานรับผิดชอบการดําเนินงานตามกระบวนการบําบัดเพราะทรัพยากรการบริหารที่มีอยูในขณะนี้ไมสามารถดําเนินงานใหบรรลุผลสําเร็จ ทำไดเพียงการประคับประคอง   

๒)  การสงเสริมใหหนวยงานที่รับผิดชอบการดําเนินงานดานการบําบัดฟนฟูในระดับจังหวัด ทุกระบบ ทั้งระบบสมัครใจ  ระบบบังคับบําบัด และระบบเรือนจํา         มีการบูรณาการการทํางานและงบประมาณรวมกัน  

๓)  ควรมีการศึกษาความเปนไปไดในการตั้งเปาหมายจํานวนผูเสพที่จะเขาสูระบบการบําบัดรักษาแบบสมัครใจ วามีความสอดคลองหรือไมเพียงใดกับสภาพการณของปัญหาในพื้นที่และควรเปดโอกาสใหหนวยงานในพื้นที่ไดมีสวนรวมในการกําหนดเปาหมายตางๆ เหลานี้ดวย  ทั้งนี้เพื่อใหการดําเนินงานสามารถตอบสนองตอ นโยบายจากสวนกลางและสามารถแกไขปญหาในพื้นที่ไดอยางแทจริงควบคูกันไป

๔) การปรับปรุงระบบเครือขายฐานขอมูลและการบันทึกใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งการสรางความรูความเขาใจใหกับเจาหนาที่ผูรับผิดชอบถึงความสําคัญและความจําเปนในการบันทึกขอมูล

-ข้อสังเกต[2]

๑) แม้ว่า พรบ.ฟื้นฟูฯ มีเจตนารมณ์เพื่อช่วยให้ผู้เสพหรือติดยาเสพติดได้รับการปฏิบัติแบบผู้ป่วย ไม่ใช่อาชญากร แต่ในทางปฏิบัติผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบบำบัดในระบบบังคับบำบัดแบบควบคุมตัวยังขาดการปฏิบัติตามสิทธิของผู้ป่วย เช่น ไม่มีสิทธิเลือกรูปแบบการบำบัด ไม่มีสิทธิแสดงความเห็นกับแผนการบำบัด ผู้เข้ารับการบำบัดในศูนย์เดียวกันต้องผ่านวิธีการบำบัดแบบเดียวกัน ทั้งนี้ การใช้กระบวนการวิเคราะห์และประเมินผลอย่างละเอียดเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติและมาตรการ

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

แก้ไขที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบำบัด

๒) กรมคุมประพฤติควรทบทวนนโยบายการควบคุมตัวบุคลในเรือนจำเป็นเวลา ๔๕ วัน เพื่อรอการตรวจพิสูจน์ เนื่องจากข้อจำกัดของสถานที่ นอกจากนี้ไม่ควรควบคุมตัวในเรือนจำ แต่อาจควบคุมตัวในสถานบริการสุขภาพ หรือการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างรอการตรวจพิสูจน์ ทั้งนี้เนื่องจากการควบคุมตัวในสถานที่

ที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลา ๔๕ วัน เป็นเหมือนการลงโทษผู้กระทำผิดคดียาเสพติดทั้งๆ ยังไม่มีการไต่สวนความผิด

ผลการดำเนินงานตามระบบบำบัดสมัครใจ[3]

-ด้านสถานที่บำบัด  ระดับหมูบาน-ชุมชน มีการจัดตั้งศูนยบําบัดภาคประชาชน  ในบริเวณศาสนสถาน เชน วัดและมัสยิด โดยการนําผูเสพ/ผูติดเข้าคายบำบัดฯ

ที่มัสยิด มีการละหมาดรวมกันระหว่างพอแม/ผูปกครอง ใชศาสนาเปนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผูปวยที่เขารับการบําบัด มีการทํากิจกรรมรวมกัน

-การบำบัดระดับจังหวัด  พบว่ายังไมมีคายบําบัดยาเสพติดที่เปนสถานที่สําหรับการบําบัดยาเสพติดจริงๆ ในพื้นที่  ซึ่งการดําเนินงานในการบําบัดรักษาฟนฟูฯ  ในปจจุบันดําเนินการโดยใชคายบําบัดของหนวยงานราชการตางๆ ในจังหวัดหรือพื้นที่ใกลเคียงแทน เชน คายทหาร คาย อส.จังหวัด คายทหารบก คายทหารอากาศ เปนตน โดยเฉลี่ยมีระยะเวลาในการบําบัดรักษาประมาณ ๗-๙ วัน 

-ในสวนของหนวยงานสาธารณสุขนั้น ไดใช้วิธีการนําเขาบําบัดตามสถานพยาบาล สถานีอนามัยในพื้นที่หมูบาน-ชุมชนดวยกระบวนการ Matrix Program หรือ         “จิตสังคมบําบัด” ซึ่งเปนลักษณะของการปรับเปลี่ยนทัศนะคติของผูเสพ/ผูติดใหเกิดความรักในตัวเองและคนรอบขางหรือบอกเลาปญหาของตนเองที่ไดประสบ

-ขอคิดเห็น

๑)  สวนกลางควรวางระบบการบําบัดคือไมใชยึดที่ Matrix Program เพียงอยางเดียวแตควรที่จะมีการบูรณาการโดยดูปญหาของแตละจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดที่มีคนไขจำนวนมาก ควรวิเคราะห์จุดอ่อนของรูปแบบการบำบัด Matrix Program  ว่าควรเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนอย่างไร  และส่วนกลางวางระบบโดยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรใหมีความเชี่ยวชาญ

๒) เรื่องการสนับสนุนสื่อและอุปกรณที่ใชประกอบในการบําบัดซึ่งเปนเรื่องจําเปน  ปัจจุบันสาธารณสุขจังหวัดตองแกปญหาดวยตนเอง  

 

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

๓) การสงเสริมใหความรู/ความเขาใจใหกับประชาชนทั้งประชาชนทั่วไป และผูที่เกี่ยวของกับยาเสพติดในเรื่องกระบวนการชุมชน ประชาสังคม และมาตรการสมัครใจในการนําผูเสพยาเสพติดเขารับการบําบัดรักษา และสงเสริมการสรางวิทยากรชุมชนใหเขามามีบทบาทในภารกิจเหลานี้เพื่อสรางความมั่นใจใหกับพอแม

ผูปกครองที่จะนําบุตรหลานของตนเขารับการบําบัดรักษาและเพื่อปรับเปลี่ยนใหประชาชนมีทัศนคติในเชิงบวกตอการดําเนินงานดังกลาว

การเพิ่มประสิทธิภาพการนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบำบัดตามระบบสมัครใจ[4]

จากการทบทวนวรรณกรรมของต่างประเทศพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนผู้เข้าถึงบริการและอยู่ครบกำหนดการบริการบำบัดฯ แบบสมัครใจ ได้แก่

ปัจจัยด้านตัวผู้เสพ/ผู้ติด

-ทัศนคติของชุมชน เช่น ทัศนคติด้านลบของชุมชนที่มีต่อคุณภาพการดูแล ความตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายที่เกี่ยวข้อง การยอมรับจากชุมชน

-ทัศนคติของผู้เสพ/ผู้ติด เช่น ทัศนคติต่อพฤติกรรมการเสพ การรับรู้ต่อปัจจัยเหตุที่ทำให้ตนเองมีพฤติกรรมการติด การรับรู้ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาที่มีพฤติกรรมเสพติด การรับรู้ต่อคุณภาพการบริการของสถานบริการ รวมทั้งการรับรู้ประสิทธิภาพของการบำบัดของสถานบำบัด การยอมรับเคารพผู้ให้การบำบัด ความพร้อมในการเข้ารับการบำบัด ความต้องการการเปลี่ยนแปลงมากกว่าต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น

ปัจจัยด้านสถานบริการ 

-ปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพ เช่น ความแพร่หลาย (Availability) ของสถานบริการ หรือการบริการ รวมถึงการเชื่อมโยงระบบและการบริการ ความสามารถเข้าถึงสถานบริการของผู้ป่วย ราคาการรับบริการที่สามารถจ่ายได้

-ปัจจัยด้านการบริการ เช่น คุณภาพการบริการ รูปแบบการบำบัด (การเตรียมความพร้อม การเพิ่มความร่วมมือในการบำบัดรักษา การเพิ่มการเข้าถึงบริการโดยครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รัฐบาล การจัดรูปแบบองค์กรเพื่อเพิ่มจำนวนผู้มาใช้บริการ (การสร้างความเป็นเจ้าของ โครงสร้างภายในองค์กร มาตรฐาน

การให้บริการ การจัดรูปแบบการดูแลกฎระเบียบ เป็นต้น

ตัวอย่างการดำเนินงานในระดับพื้นที่   

-การใช้ชุมชนเป็นฐาน การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยวิทยากรกระบวนการกระตุ้น ให้การปรึกษา ร่วมดำเนินงาน งานประชุมประชาคมเพื่อค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด สร้างช่องทางสื่อสารในชุมชน นำกลุ่มเยาวชนที่ผ่านการบำบัดมาจัดตั้งกลุ่มเยาวชนแกนนำเพื่อเฝ้าระวังดูแลเยาวชนในชุมชน   

-การใช้แนวคิดนักเรียน นักศึกษาเป็นฐานเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้เสพ/ผู้ติดที่เป็นนักเรียน นักศึกษา การอาศัยสถานศึกษาเป็นพื้นที่เป้าหมาย การใช้โครงการหมู่บ้าน

 

ประเด็น

ข้อค้นพบ

 

ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นที่บำบัด การฟื้นฟูผู้เสพผู้ติดภายใต้บรรยากาศครอบครัวอบอุ่น การใช้โต๊ะข่าว (ทุกสัปดาห์) ในการบริหารนโยบาย การกำกับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน และบูรณาการระดับจังหวัด

-ปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย การดำเนินงานเน้นผู้เสพ/ผู้ติดเป็นศูนย์กลาง สร้างกระบวนการทำงานรูปแบบเครือข่าย ระบบการประสาน กำกับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นระบบ อันประกอบด้วย การเตรียมการ การพัฒนาทีมวิทยากร การทำความเข้าใจหลักสูตรการบำบัด การคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย โดยการให้เจ้าหน้าที่หรือผู้คัดกรองเข้าใจวิธีการคัดกรอง มีการเตรียมความพร้อมผู้เข้ารับการบำบัด การปฐมนิเทศ การจัดกลุ่มเพื่อสร้างแรงจูงใจ อย่างไรก็ตาม การบำบัดควรยึดพื้นที่และวิถีชุมชนเป็นหลักเพื่อให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเหมาะสมกับบริบทและมีประสิทธิภาพ



[1] การสํารวจวิจัยการดําเนินงานเพื่อการพัฒนาระบบบังคับบําบัด, ดร.นพดล กรรณิกา และคณะ,๒๕๕๓ เข้าถึงได้จาก  http://www.nccd.go.th/upload/content/1.2(1).pdf วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

[2] การบังคับบำบัดในประเทศไทย ข้อสังเกตต่อพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕,Richard Pearshouse Canadian HIV/AIDs Legal Network,2009  ,แปลจาก Compulsory Drug Treatment in Thailand : Observations on the Narcotic Addict Rehabilitation Act B.E. 2545 (2002), พิภพ อุดมอิทธิพงศ์,๒๕๕๑

[3] การสำรวจวิจัยการดำเนินงานในระบบการนำผู้เสพ-ผู้ติดยาเสพติดเข้าบำบัดรักษาด้วยกระบวนการชุมชน ประชาสังคม และมาตรการสมัครใจ,ดร.นพดล กรรณิกา และคณะ,๒๕๕๓ เข้าถึงได้จาก  http://www.nccd.go.th/upload/content/011.pdf, วันที่ ๘  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

[4] ปัจจัยความสำเร็จด้านการเพิ่มจำนวนผู้เสพ/ ผู้ติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูระบบสมัครใจ ในการปฏิบัติงานระดับพื้นที่, ดร.ดรุณี ภู่ขาว และคณะ (อยู่ระหว่างดำเนินโครงการวิจัย) 

หมายเลขบันทึก: 431393เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท