พากลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงไปศึกษาดูงาน..อีกแล้ว..


เพราะว่าเกษตรกรที่เข้าเครือข่ายของศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอเวียงเชียงรุ้งปีนี้ 2554 อยากจะไปเปิดหูเปิดตา เห็นแต่ศูนย์ของลุงบุญชวน มะลัยโย มาทุกปี ปีนี้ก็เลยตามใจจะพาไปดูศูนย์เรียนรู้ของอำเภอพาน 3 แห่ง

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2554 ผู้เขียน มีโอกาสแวะเยี่ยม สวนของคุณเปรียวจันทร์ ต๊ะต้นยาง ศุนย์เรียนรู้ครูเกษตรบ้านสันทราย ของ ธกส. เพราะว่าเกษตรกรที่เข้าเครือข่ายของศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอเวียงเชียงรุ้งปีนี้ 2554 อยากจะไปเปิดหูเปิดตา เห็นแต่ศูนย์ของลุงบุญชวน มะลัยโย มาทุกปี ปีนี้ก็เลยตามใจจะพาไปดูศูนย์เรียนรู้ของอำเภอพาน 3 แห่ง แต่กลัวว่าเวลาจะเหลือก็เลยลองไปดูที่ของคุณเปรียวจันทร์ ต้นตะยาง ที่บ้านสันปูเลย เชียงเคี่ยน อำเภอเทิง ชิมลางก่อน เผื่อไว้ขากลับมีเวลาจะไปแวะดูงานได้ ไปแล้วก็ประทับใจมากเพราะเป็นการผสมผสานของเทคโนโลยี่ใหม่ๆของลูกสาวที่จบเกษตรจากมหาวิทยาลัยกับภูมิปัญญาเดิมๆของพ่อแม่ปู่ย่าตายายที่ถ่ายทอดมารวมกันอย่างลงตัว ลูกสาวที่นำเยี่ยมกิจกรรมหมูหลุมอีกแบบ ในสวนคุยเก่งแต่เกรงใจไม่ได้ถามชื่อ ไว้คราวหน้าค่อยถามใหม่

ซุ้มปลูกผักพื้นบ้าน
ร้านที่ไว้ให้แตงเลื้อยและระบบน้ำที่ทันสมัย
คอกไก่ที่ไปกำลังมีงูสิงกำลังมุดเข้าไปกินไก่แต่ติดตาข่ายอยู่พอดีตัวเข้าได้แต่ตัวติดไปไม่ได้
ฟางข้าวจากนาจำนวน 14ไร่นำมาเก็บเป็นอาหารวัวและปูแปลงผัก
เครื่องครกกระเดื่องตำข้าว
คอกวัวและปุ๋ยขี้วัวที่กองทับถมเป็นวัวหลุมน้องว่างั้น
เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา และป่าไฝ่ ป่าอนุรักษ์
หน้าตาน้องน่ารักสวย มีข้อคิดดีๆน่าฟังตลอดช่วงการสนทนา ถ้าใจไม่รักคงไม่อยู่เฝ้าสวนนับถือๆ แล้วคงได้มาเยี่ยมอีกครั้งพร้อมด้วยกลุ่มเกษตรกรจากเวียงเชียงรุ้ง

และในวันที่ 8 มีนาคม 2554 ก็ได้เวลาพาพี่น้องกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดงมหาวันไปดูงาน ฟาร์มแรกของพี่ประยูร เลี้ยงไก่ขุน พันธุ์ผสม แบบครบวงจร อดีตข้าราชการ อดีตพนักงานสำนักงานการเงิน ผันตัวมาเป็นลูกจ้างรับส่งพันธ์สัตว์ให้บริษัทเก็บเกี่ยวประสบการณ์จนชำนาญก็หันมาลงทุนด้วยตนเอง จนปัจจุบันเป็นเจ้าของฟาร์มที่ผลิตลูกไก่พื้นเมืองลูกผสมสามสายเลือดส่งให้ สมาชิกและผู้เลี้ยงอิสระ ส่วนมากจะส่งสมาชิกที่สมัครเป็นเครือข่ายที่เรียกว่าลูกเล้า มารับเอาลูกไก่ไปเลี้ยงขุนจนได้น้ำหนัก คุณประยูรก็จะรับชื้อคืนเพื่อส่งตลาดต่อไป ทำครบวงจร มีบ้างที่ผลิตลูกไก่ไม่ทันก็สั่งจากบริษัทหรือจากแหล่งอื่นมาให้สมาชิก ทั้งนี้จะมีกฏกติการ่วมกันเพื่อรักษามาตรฐานการผลิตและการตลาดให้มั่นคงด้วย เป็นการประกันรายได้ที่แน่นอนมั่นคง หลายคนที่ไปดูงานก็ได้แนวคิดและสนใจจะหันมาเลี้ยงไก่ขุนของคุณประยูรด้วย มอบของที่ระลึกและถ่ายรูปร่วมกันเป็นอนุสรณ์ไว้เตือนความจำ

เดินชมกิจกรรมต่างๆของฟาร์ม
ดูการจัดการลูกไก่การกก การให้น้ำให้อาหารลูกไก่ การตัดปากไก่

การอธิบายตู้ฟักไข่การส่องไข่ และการเกิดไข่ในระยะต่างๆ จุดที่สองที่ไปดูงานกันต่อคือศูนย์เรียนรู้ของนายคณิน อ้นเจริญ ที่นี่ต้องลุยไปกลางทุ่งนา ไม่มีไฟฟ้า ห่างจากบ้านคน ล้อมรอบด้วยนาข้าว ฟังการเล่าความเป็นมาของลุงคณิน ที่เดินทางไกลมาจากพัทลุง มาอยู่เชียงรายนานหลายปีคุ้นเคยกับลุงบุญชวนเป็นอย่างดีเพราะไปอบรมด้วยกันบ่อยๆ

ลูกไก่พื้นเมืองของลุงคณินที่กำลังน่ารักสดใส
ลักษณะคอกที่ทำตาข่ายกันนกแมลงที่ป็นสื่อนำโรคมาสู่ฟารม์
พ่อพันธุ์แม่พันุธ์ที่ปล่อยให้ผสมเองตามธรรมชาติ
มีเป็ดไข่เลี้ยงอยู่ในบริเวณเดียวกัน เกื้อกูลกันไม่แบ่งพวกแบ่งกลุ่ม
อีกฟากของบ่อปลามีคอกหมูแม่พันธุ์กำลังคอกลูก
การเพาะหนอนแมลงวันให้ดูกันจะจะ
ฝั่งบ่อปลาที่ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
เช่นเคยแอคชั่นก่อนจาก
จุดสุดท้ายที่ทำเอากลุ่มที่มาดูงานประทับใจสุดๆคือศูนย์เรียนรู้ครูเกษตรของพ่อครูกุศล แม่ครูไหม (นายกุศล นางเปรียวจันทร์ ต๊ะต้นยาง) ซึงเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีความพร้อมมีหลักสูตรแน่นอนว่าต้องมีการพูดคุยปรับเปลี่ยนแนวคิอเศรษฐกิจพอเพียงกันก่อน อย่างน้อยต้อง ๑-๒ ชั่วโมงก่อนจะให้เดินดูงานกิจกรรมในศูนย์ได้
ก็นับได้ว่ามีหลักอุดมการณ์เอาจริงเอาจัง (ถึงจะแก่แต่ไฟแรงครับ อิอิ) ในด้านการปรับเปลี่ยนแนวคิดมากๆ
ดูงานที่ไหนก็ดูได้แต่ดูแล้วปรับเปลี่ยนแนวคิดให้ดีให้มีเหตุมีผล มีพอประมาณมีภูมิค้มกัน มีความรู้คู่คุณธรรมต้องที่นี่เลย เมื่อได้แนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงเต็มที่ก็ออกเดินชม มีน้ำสมุนไพรต้มให้กินตลอดถึง สองหม้อไว้รอรับผู้คนที่แวะเข้ามาเยี่ยม
เครื่องตำหยวกให้หมู ที่รองหั่นหยวก ใช้เครื่องจักรกำลังคน เป็นการออกกำลังกายไปด้วย
หมูหลุมอยู่ไต้ถุนบ้านพัก
สวนผักนานาชนิด ที่ปลูกแบบสมัยใหม่ปูคลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางอีกชั้นเพื่อรักษาความชุมชื้นให้ดินนานๆ
เก็บภาพที่ระลึกอีกแล้ว
จะกลับเลยไม่ให้กลับต้องไปดูทุ่งนาเงินล้านจึงจะกลับได้ เพื่อย้ำว่าถ้าคิดต่างก็จะมีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้น นางแบบถ่ายร่วมกันคันนาที่ใหญ่ปลูกต้นฉำฉาไปสองข้างมองเป็นซุ้มสวยงามดีสุดสายตาในพื้นที่ ๔๗ ไร่
เลาถึงแนวคิดที่ทำคันนาเป็นแปลงไม้ใหญ่ และรอบพื้นที่นาปลูกต้นยูคาลิบตัส รอบหมดเป็นแนวกันลมสารเคมีที่จะเข้าสู่นา ซึ่งต่อไปก็เป็นนาข้าวอินทรีย์อย่างแน่นอน ส่วนต้นฉำฉาก็เริ่มปล่อยครั่งสร้างรายได้ประจำปีได้ต้นละหลายพันบาท
ก่อนจากมีการประเมินการให้คำแนะนำและขอคำติชมจากกลุ่มเราที่ไปดูงาน เพื่อใช้สรุปเป็นผลงานของศูนย์ด้วย
 
หมายเลขบันทึก: 431002เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท