โครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อเพิ่มรายได้


ปัจจุบันสมุนไพรเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บขั้นมูลฐาน กันอย่างแพร่หลายและมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพราะมีความปลอดภัย ในการใช้มักไม่มีผลข้างเคียง โดยวัตถุดิบสมุนไพรสามารถนำมาแปรรูปเบื้องต้นเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย

                 เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและต่างประเทศ  จึงส่งผลกระทบโดยรวมต่อเกษตรกรที่ต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น  เกษตรกรส่วนใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีประกอบอาชีพเกษตรกรรมในรูปแบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่นการทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ทำให้เกษตรกรเกิดความเสี่ยงในการผลิต อาทิเช่น ด้านราคาผลผลิต  ภัยธรรมชาติ โรคพืชและแมลง เป็นต้น ทำให้เกษตรกรขาดความมั่นใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

                สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฏร์ธานี (ส.ป.ก.สุราษฏร์ธานี) จึงได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน โดยได้จัดตั้ง “นิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน” ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง มีภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินชีวิต และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการผลิต โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  สร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน  เกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพและรายได้  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  รู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด รอบคอบและได้ประโยชน์สูงสุด

                   เพื่อเป็นการขับเคลื่อนให้เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  โดยการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและสร้างมูลค่าที่ทำกิน  ตามแนวทางการปฏิรูปที่ดินซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์   ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์    ในการพัฒนาควรเป็นลักษณะส่งเสริมหรือต่อยอดจากองค์ความรู้และกิจกรรมที่เกษตรกรดำเนินการอยู่เดิมให้ครบวงจรยิ่งขึ้น  จากการวิเคราะห์ศักยภาพในด้านต่าง ๆ อาทิ  ด้านพื้นที่  ความพร้อมและความต้องการของเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจที่เข้มแข็ง ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น  จึงมีแนวคิดในการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรขึ้น   ประกอบกับปัจจุบันสมุนไพรเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บขั้นมูลฐาน กันอย่างแพร่หลายและมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มมากขึ้นในอนาคต  เพราะมีความปลอดภัย ในการใช้มักไม่มีผลข้างเคียง  โดยวัตถุดิบสมุนไพรสามารถนำมาแปรรูปเบื้องต้นเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย และเป็นที่ต้องการของตลาด  ทั้งในรูปของยารักษาโรค อาหาร-เสริม เครื่องสำอาง ยากำจัดศัตรูพืช  แล้วยังนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับบ้านเรือนหรือสถานที่ต่าง ๆ โดยจะส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเป็นพืชแซม  ในแปลงยางพารา ปาล์มน้ำมัน อายุไม่เกิน ๔ ปี  หรือพื้นที่ว่างไม่ได้ใช้ประโยชน์  ในระยะแรกจำหน่ายผลผลิตให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นการลดต้นทุนการผลิตของกลุ่มในการซื้อสมุนไพรจากภายนอกชุมชน  อีกทั้งเป็นการลดความเสี่ยงของผู้ปลูกสมุนไพร ด้านการตลาด ที่ผลผลิตจะไม่มีแหล่งจำหน่ายหรือมีการกดราคาจากพ่อค้าคนกลางได้อีกด้วย  และยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรช่วงที่พืชหลักยังไม่ได้รับผลผลิต   

               ส.ป.ก.สุราษฎร์ธานี  จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อเพิ่มรายได้ขึ้น  โดยโครงการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ : การเป็นศูนย์กลางการเกษตรที่มีคุณภาพครบวงจร ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้กลยุทธ์การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมการเกษตรดั้งเดิมของชุมชน

  ผู้เสนอโครงการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฏร์ธานี

หมายเลขบันทึก: 430992เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2011 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท