การเพิ่มศักยภาพของคนด้วย Open Approach (๑)


 

Prof. Shizumi Shimizu   President of the Japan Society of Mathematical Education (JSME), Japan  ได้กล่าวถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์ และการเพิ่มศักยภาพของคนด้วย  Open Approach  เอาไว้ว่า

 

“คณิตศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับภาษามาก เด็กต้องเข้าใจทั้งคณิตศาสตร์และภาษาเพื่อการอยู่ในสังคม  เขาควรจะมีความสามารถในการอ่านกราฟ แผนภูมิ  ข้อมูล และสามารถสื่อสารระบบความคิดของตนเองสู่ผู้อื่นได้

 

ความพยายามที่จะอธิบายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะการจัดระบบความคิด และการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ คือการเพิ่มศักยภาพของคน  Open Approach เป็นกระบวนการแก้ปัญหา เมื่อเจอสถานการณ์ปัญหา เกิดปัญหาขึ้นแล้วต้องหาวิธีแก้ด้วยตนเอง ช่วยกันแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดกัน เกิดการทำให้ดีขึ้น มีการจัดระบบของสิ่งที่ได้มา แล้วนำไปสู่การแก้ปัญหาใหม่ การเรียนคณิตศาสตร์แบบนี้จึงเป็นการ approach เข้าสู่ปัญหา ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ

 

ครูคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ ยังเข้าใจว่าคณิตศาสตร์คือเรื่องของการบวก ลบ คูณ หาร เช่นเดียวกับคนทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น

 

อะไรคือสิ่งที่ครูต้องสอน ทำไมจึงต้องสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน คนเราเรียนอะไรจากคณิตศาสตร์  ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องทำการวิจัยเพื่อที่จะได้รู้ปัญหาจากภาคปฏิบัติ”

 

Some Aspects and Critical points for Lesson Study – through the case: Introduction to multiplication for Grade 2 students  บรรยายพิเศษสำหรับครูไทย เมื่อ ๖ พ.ย.๕๓ คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ตัวอย่างจากชั้นเรียน เกรด ๒ 

เนื้อหาการคูณ เป็นการแนะนำเนื้อหาใหม่ในคาบแรกของเวลาทั้งหมด ๒๑ คาบ

 

ขั้นตอน 

  • มองหาปัญหาจากใครสักคน ที่เป็นปัญหาจากมุมมองของคณิตศาสตร์
  • ทำความเข้าใจปัญหา
  • วางแผนการทำงาน
  • สะท้อนกระบวนการที่ได้มาซึ่งผลลัพธ์
  • สร้างคำถาม
  • กลับมาในวงจรของการแก้ปัญหา

 

สร้างความประหลาดใจ ด้วยคำถาม  สถานการณ์ปัญหา เกิดข้อคาดการณ์ การคาดคะเน  ครูต้องรู้ว่าอะไรคือเรื่องที่นักเรียนเรียนมาแล้ว What was learn / met before คืออะไร และต้องพิจารณาว่าสถานการณ์ปัญหาที่สร้างขึ้นเหมาะกับการเรียนเรื่องนี้จริงไหม

 

ลองทายดู รูปที่ครูให้ดู มีจำนวนวงกลมมากหรือน้อยกว่ายี่สิบ โดยคนที่ตอบต้องให้เหตุผลด้วยว่าทำไมจึงตอบเช่นนั้น

  • คำตอบที่ได้บางคำตอบ จะเริ่มนำชั้นเรียนเข้าสู่ new calculation ที่ไม่ใช่การนับทีละหนึ่ง จากนั้นครูจะกระตุ้นและสนับสนุนความคิดของนักเรียน

 

  • ครูต้องรู้ว่าจะเอาคำตอบของใครขึ้นมานำเสนอแนวคิดก่อน – หลัง เพื่อเรียงลำดับวิธีคิดให้กับกลุ่ม เพื่อพาความคิดของทั้งหมดไปให้ใกล้กับปัญหามากที่สุด และใกล้กับเป้าหมายการเรียนรู้ของบทเรียนนี้ให้มากที่สุดจากคำตอบของนักเรียนเอง

 

  • การคิดเอาไว้ในใจครูว่าคำตอบของใครจะมาก่อน - หลัง มักจะเกิดเกิดขึ้นตั้งแต่ ๑๐ นาทีแรกที่ครูเห็นวิธีแก้ปัญหาของเด็กแต่ละคน โดยมากแล้วครูจะคิดเตรียมเอาไว้ตั้งแต่ตอนก่อนเข้าสอน เพราะครูรู้จักความคิด และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นอย่างดี แต่ถ้าไม่เป็นไปตามที่ครูคาดการณ์ไว้ก็ต้องคิดสด

 

  • ครูต้องทำให้ความสนใจของนักเรียนไปจับจ้องอยู่ที่แนวคิดบนกระดาน และทำให้อยู่ที่แถว และที่หลัก ที่ "เรียงกันอย่างสวยงามในแต่ละแถว" (เป็นคำที่นักเรียนคนหนึ่งใช้ในการอธิบายแนวคิดของตน)

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 430343เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2011 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท