รายงานการจัดค่ายเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์


นวลอนงค์ จุ่นคง ครูวิทยฐานะชำนาญการ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

               รายงานการจัดค่ายเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพ (IOC) และประสิทธิภาพ (E1 /E2) เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรูเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  ได้ตามเกณฑ์คุณภาพ (IOC) 0.5 และเกณฑ์ประสิทธิภาพ (E1/ E2) 80/80 ศึกษาผลการจัดค่ายเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  และประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อการจัดค่ายเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์             

               ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ราษฎรไทยกลุ่มเป้าหมายบริเวณชายแดนจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดน่าน จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดตากทั้งหมด  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  มี  2  กลุ่ม  ได้แก่  กลุ่มตัวอย่างเพื่อหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์ เป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเดี่ยว ใช้นักศึกษาที่เรียนเก่ง : ปานกลาง : อ่อน ในอัตราส่วน 1 : 1 : 1  รวม  3  คน กลุ่ม

ตัวอย่างแบบกลุ่ม  ใช้นักศึกษาที่เรียนเก่ง : ปานกลาง : อ่อน ในอัตราส่วน 3 : 3 : 3  รวม  9  คน กลุ่มตัวอย่างแบบภาคสนาม  ใช้นักศึกษาที่เรียนเก่ง : ปานกลาง : อ่อน ในอัตราส่วน 10 : 10 : 10  รวม  30  คน  และกลุ่มตัวอย่างที่เข้าอบรม โดยใช้เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  ใช้วิธีการรับสมัคร  จากราษฎรไทยกลุ่มเป้าหมายบริเวณชายแดนจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดน่าน จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดตาก  โดยให้ครูอาสาสมัครเป็นผู้คัดเลือก รวม  130  คน 

                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตาม

แนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  แบบสอบถาม

การจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อการจัดค่ายการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์   

               ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้ศึกษาการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราช

ดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์ จากสภาพทั่วไปและเอกสาร

ที่เกี่ยวข้อง  ดำเนินการรวบรวมข้อมูลการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์ โดยใช้แบบสอบถามก่อนการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  แบบสอบถามระหว่างการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  และแบบสอบถามหลังการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  รวบรวมข้อมูลจาแบบสอบถามการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์แล้ว เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป

               ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้ตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินการดำเนินงานโครงการค่ายเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์ วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพ (IOC) และประสิทธิภาพ (E1 /E2) เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์ หาค่าเฉลี่ย หรือร้อยละ แล้วแต่กรณี แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด  วิเคราะห์ผลการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์โดยใช้โปรแกรมคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามความเหมาะสม  โดยการวิเคราะห์ก่อนการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  การวิเคราะห์ระหว่างการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  การวิเคราะห์หลังการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์

               ผลการศึกษาการจัดค่ายเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  พบว่า 

               ตอนที่  1  การพัฒนาคุณภาพ (IOC) และประสิทธิภาพ (E1 /E2) เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์ ให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพ (IOC) 0.5 และเกณฑ์ประสิทธิภาพ (E1/ E2) 80/80

พบว่า  เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  มีการพัฒนาคุณภาพ (IOC) และประสิทธิภาพ (E1 /E2) ได้ตามเกณฑ์คุณภาพ (IOC) 0.5 และเกณฑ์ประสิทธิภาพ (E1/ E2) 80/80 

               ตอนที่  2  การศึกษาผลการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ  โดยใช้

เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  พบว่า 

                          2.1  การวิเคราะห์ก่อนการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าอบรมตามโครงการค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  และเมื่อวิเคราะห์ความเห็นก่อนการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  พบว่า  ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับน้อย 

                          2.2  การวิเคราะห์ระหว่างการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์ ได้แก่ ฐานที่ 1 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ฐานที่  2  การจัดการที่อยู่อาศัย  ฐานที่ 3 การจัดการที่ทำกินเชิงชีวะฐานที่ 4 การจัดการสิ่งแวดล้อม   ฐานที่ 5 หลักคุณธรรมจริยธรรม  พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความเห็น  อยู่ในระดับมาก

                          2.3  การวิเคราะห์หลังการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์ ได้แก่  การวิเคราะห์ผลหลังการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราช-ดำริ ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  พบว่า  ผู้เข้าอบรมมีความเห็นรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนการเข้าการอบรมและหลังการอบรม พบว่า ในภาพรวม ค่ารวมเฉลี่ยหลังการอบรม  4.27 สูงกว่าค่ารวมเฉลี่ยก่อนการอบรม  และเมื่อเปรียบเทียบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

               ตอนที่  3  การประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยใช้เอกสารประกอบการจัดค่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ   ของศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนอุตรดิตถ์  พบว่า    ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ประเมินความพึงพอใจการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก  

หมายเลขบันทึก: 430157เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2011 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นรายงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง  ที่สมควรเผยแพร่ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท