แรงจูงใจพนักงานกับการสร้างผลงานที่ดี


ในสัปดาห์นี้ผมตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับแรงจูงใจให้ได้อ่านกัน ว่าในการที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานเพื่อให้สร้างผลงานที่ดีนั้นจะต้อง ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ก็โดยอาศัยหลักการที่ได้จากหนังเรื่อง Aha Performance และจากสิ่งที่ได้ศึกษาทั้งจากผู้บริหารระดับสูง และจากที่ประสบพบเจอด้วยตนเอง ว่าสิ่งใดกันแน่ที่ทำให้พนักงานอยากที่จะสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้ บ้าง

โดยปกติแล้วองค์กรว่าจ้างพนักงานเข้ามาทำงานก็เพื่อให้พนักงานสร้างผลงาน ตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่องค์กรได้มอบหมายให้ทำ ทั้งนี้ก็เพื่อให้องค์กรของเราบรรลุเป้าหมายที่ผู้บริหารระดับสูง หรือเจ้าขององค์กรต้องการ แต่คน หรือพนักงานที่องค์กรว่าจ้างเข้ามานั้น มีความแตกต่างจากเครื่องจักรอย่างมากมายเลยทีเดียว ถ้าเป็นเครื่องจักร เช้ามาก็กดปุ่มเปิดให้เครื่องทำงาน แล้วเครื่องจักรก็จะทำงานตามที่มันได้ถูกออกแบบมาให้ทำ อีกทั้งทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีข้อต่อรองใดๆ อีกด้วย ผลงานที่ออกมาก็สม่ำเสมอ ไม่มีขึ้นลงตามอารมณ์ แต่พนักงานหรือ “คน” ที่เราว่าจ้างมานั้นไม่ใช่เครื่องจักร ดังนั้นการที่เราจะกดปุ่มเปิดให้คนทำงานนั้นจึงไม่สามารถทำได้ อีกทั้งคนก็ยังมีอารมณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน มีความรู้สึก มีการเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผลงานของคนออกมาไม่แน่นอน ขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งควบคุม และสร้างมาตรฐานของผลงานได้ยากมาก

ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ แล้วทำไมองค์กรจึงต้องว่าจ้างคนเข้ามาทำงานด้วยล่ะครับ ทำไมไม่ซื้อเครื่องจักรให้เขามาทำงานแทนคนมันจะดีกว่าหรือเปล่า คำตอบก็คือ เครื่องจักรไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ครับ แต่คนสามารถที่จะพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้นได้ และองค์กรจะต้องอาศัยความเก่งของคนนี่แหละครับที่จะทำให้องค์กรก้าวหน้าต่อ ไปอย่างไม่หยุดยั้งครับ

ด้วยเหตุนี้ก็เลยมีนักวิชาการ และนักจิตวิทยามากมายทึ่เข้ามาศึกษาเรื่องของวิธีการที่จะทำให้คนสร้างผลงาน ที่ดี และพัฒนาตนเองเพื่อสร้างผลงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร ก็เลยเกิดทฤษฎีทางด้านการจูงใจต่างๆ มากมายครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ศึกษาเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ทั้งสิ้น เพราะเขาเชื่อกันว่า การที่คนเราจะตั้งใจทำอะไรนั้น มักจะต้องมีสาเหตุจากความต้องการบางอย่างที่จะมาแลกเปลี่ยนและจูงใจให้เราทำ พฤติกรรมเหล่านั้น

มีแนวทางการสร้างแรงจูงใจอันใหม่ที่ผมได้มีโอกาสได้อ่านจากหนังสือเล่ม หนึ่งที่ชื่อว่า Aha Performance ซึ่งเขียนโดย Douglas Walker และ Stephen Sorkin หนังสือเล่มนี้เน้นไปในเรื่องของการศึกษาว่าการที่จะให้พนักงานสร้างผลงาน ที่ดีนั้น หัวหน้างานควรจะเข้าใจเรื่องของความต้องการของคนเรา ซึ่งผู้เขียนก็ได้ศึกษาเรื่องความต้องการของคนในยุคปัจจุบันว่าต้องการอะไร กันบ้างที่จะทำให้เขาอยากที่จะทำงานและสร้างผลงานที่ดีขึ้น ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เสนอความต้องการของคนไว้ 5 อย่าง ที่องค์กรจะต้องสร้างขึ้นเพื่อจูงใจพนักงานให้สร้างผลงาน ปัจจัย 5 อย่างนี้มีดังนี้ครับ

  • Survival ก็คือ ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่รอด
  • Love / Belonging ก็คือความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
  • Power / Recognition คือความต้องการอำนาจ และการได้รับความสนใจจากผู้อื่น
  • Fun / Learning คือต้องการความสนุกในชีวิต และได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  • Freedom ต้องการอิสระที่จะทำอะไรได้อย่างที่เราต้องการ

นี่คือความต้องการ 5 ตัวที่ผู้เขียนเขาทำวิจัยขึ้นมาและยืนยันว่า นี่คือสิ่งที่องค์กรทุกองค์กร และหัวหน้างานทุกคนจะต้องศึกษาให้ถ่องแท้ และต้องจัดให้มีขึ้นจริงๆ ในการทำงานประจำวัน เพื่อให้พนักงานของเรามีแรงจูงใจที่จะสร้างผลงานที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนย้ำมากก็คือ แรงจูงใจทางลบ เช่นการลงโทษ การว่ากล่าวตักเตือน การตำหนิ นั้นไม่ได้ช่วยให้เกิดผลงานที่ดี แต่จะเกิดแรงต่อต้านจากพนักงานมากขึ้น เพราะพนักงานมักจะคิดว่าหัวหน้า หรือองค์กรไม่เข้าใจความต้องการของเขาเลย ดังนั้นสิ่งที่องค์กรและหัวหน้างานจะต้องใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจก็คือ แรงจูงใจทางบวกนั่นเองครับ พรุ่งนี้ผมจะเขียนเรื่องราวของแต่ละปัจจัยให้อ่านกันครับว่าประกอบไปด้วย อะไรบ้าง และเราจะสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นในองค์กรได้อย่างไร ด้วยวิธีใดบ้าง

คำสำคัญ (Tags): #แรงจูงใจ
หมายเลขบันทึก: 430116เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2011 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะ อ่านบันทึกนี้ก็ทำได้นึกถึงความเข้าใจระหว่างคนทำงานซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วยค่ะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท