nikon ... น่ารู้


 

เมื่อวันก่อนที่กลุ่มงาน คุณหมออ้อยเป็นโต้โผเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องการใช้กล้อง Nikon มาสาธิต วิธีการใช้กล้อง nikon ให้คณะเราได้เรียนรู้ โดย อ.สยาม เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ - photography consultant – Niks (Thailand) co.ltd. ละค่ะ ... บันทึกมาได้เล็กน้อย

จุดประสงค์ ก็คือ เราต้องการถ่ายภาพในช่องปาก ด้วยกล้อง Nikon D7000 และดิฉันเองก็เอา Nikon D90 เข้ามาแจมให้อาจารย์สอนให้ด้วย มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ

การใช้ Ring Flash (แบบไร้สาย) กับกล้อง nikon

  • ต้องมีการ syncronize กับคำสั่ง commander กับ flash ของตัวกล้อง วิธีการก็คือ
    - ปรับ code flash ให้รับกับกล้อง nikon อาศัย flash pop-up เป็นตัว syncronize แสง โดยต้องบังแสง flash ไว้ด้วยตัวหนีบ flash แต่ตอนหลัง อาจารย์ apply ใช้กรวยกระดาษปิดแทน ก็ใช้ได้แหล่ะ
    - การ set commander กดที่ custom setting menu (รูปดินสอ) เลือก bracketing/flash กด OK ไปที่ PL เปลี่ยนเป็น commander
  • เรื่องที่ต้องสนใจดู และปรับเสียก่อน
    - ดู ISO ก่อน ตั้งไว้ประมาณ 200 ถ้าต้องการความชัดมาก ใช้ manual และใช้ shutter speed ประมาณ 125 หรือ 160 หน้ากล้องประมาณ 11 หรือ 16
    - nikon มีตัวช่วย เพราะว่าถ้าชัดแล้ว ถ่ายได้ ก็จะมีเสียงสัญญาณ ถ้าถ่ายภาพใกล้มากๆ อาจไม่ได้ระยะ ต้องขยับ โดยใช้ตัวเราโน้มไปมา
    - ถ้าใกล้บางครั้ง ตัว flash จะไปบังทางเข้าของแสงได้ ... สามารถใช้ไฟจากยูนิตทันตกรรมช่วยได้
  • ตำแหน่งถ่าย ไกลสักหน่อยได้ ไม่ต้องใกล้มาก จะถ่ายภาพฟันได้ประมาณ 3-4 ซี่ หรือ ไปแต่งให้ภาพเล็กๆ โดยใช้โปรแกรมช่วย
  • การถ่ายภาพใกล้ ถ้าใช้เลนส์ 105 มม. ได้ ก็จะดีกว่า เพราะไม่ต้องเข้าใกล้คนไข้มาก ก็ถ่ายภาพได้

การทำให้ภาพคมชัด

  • การถ่ายภาพหน้าคน แบบไม่มีริ้วรอย ทำได้ โดยถ่ายภาพ soft หรือปรับให้ soft จากโปรแกรมของกล้อง
  • กด retouch menu (ตัวพู่กัน) ปรับภาพที่ under ให้สว่างขึ้นได้ ใช้ filter effect ทำให้หน้าเนียนขึ้น โดยใช้ soft filter

ปุ่มช่วยถ่ายภาพ

  • มีโปรแกรมสำเร็จรูปของกล้องในการช่วยถ่ายภาพ เช่น ผู้หญิงใส่หมวก จะถ่ายภาพตัวคนได้ชัด ด้านหลังจะเบลอ

เรื่องของ ISO

  • เปรียบเสมือนความเข้มในการรับแสง เหมือนเราดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าเราดื่มไวน์ มัน 5 degree เบียร์ 8 degree วิสกี้ 35 degree เหล้าโรง 40 degree เหล้าโรงกินนิดเดียว หน้าเราแดงทันที ... สรุปว่า ถ้าแสงเยอะใช้ ISO น้อย ถ้าแสงน้อย ใช้ ISO เยอะ
  • แดดจัด ใช้ ISO ประมาณ 100/200 เป็นมาตรฐาน
  • ถ้าแดดอ่อนหน่อยใช้ 250/320/400
  • ในห้อง ใช้ 500/600
  • ถ่ายช่องปาก คิดว่า ตั้งที่ 200 ISO น่าจะดี เพราะว่า flash ยิงใกล้
  • ถ้าเรานอนบนยูนิต ไม่ใช้ flash ก็ได้ โดยใช้ไฟยูนิตส่องเข้ามา ยิงส่องเข้าไป เราอาจใช้ 400/500 ISO เพราะว่า บางที flash อยู่ใกล้ปากเกินไป ไฟจะติดที่ปาก ทำให้ภาพเว่อร์ได้
  • ไฟยูนิตก็ใช้ได้ แล้วปรับ white balance หน่อย เพราะว่า ไฟยูนิตจะมีสีเหลือง  ปรับ white balance เป็นไฟเหลือง
  • ที่กล้อง ที่กำหนด A-auto เขาจะปรับให้เราเสร็จ
  • แต่ถ้าเราปรับ white balance เป็น tungsten (หลอดไฟ) ภาพจะออกมาเป็นสีฟัน เพราะว่าตัดสีเหลืองออก
  • ถ้าเป็น fluorescence ตามห้องนี้ จะออกสีอำพันทอง เหมือนปกติ
    แนะนำให้ใช้ A-auto

วิธีการตั้ง ISO มี 2 วิธี คือ ตั้งภายใน และภายนอก

  • การตั้งภายใน ไปที่ shooting menu (รูปตัวกล้อง) เลือก ISO sensitivity setting ตั้งไว้ประมาณ 400
  • การตั้งภายนอก ต้องแตะ shutter นิดหนึ่ง เป็นการกระตุ้น แล้วก็กดปุ่ม ISO และเลื่อนปรับตามต้องการ

การตั้งความละเอียดของ file ภาพ

  • การตั้ง raw fine จะกินทรัพยากรเยอะ เหมาะสำหรับ professional หรือการตกแต่งภาพสวยหรู
  • NIK-D90 12 ล้านพิกเซล เราใช้ตัว L (Large)
  • ความละเอียด ภาพที่เราถ่าย เพื่อการ presentation ใช้ jpg ก็พอ จะกินทรัพยากรน้อย ถ่ายได้ภาพเยอะกว่า
  • ISO เราไม่รู้ได้ว่า จะใช้เท่าไร ก็ต้องใช้ประสบการณ์เดาไปเรื่อยๆ (อย่างนี้ชำนาญ)
  • เพราะฉะนั้น วิธีการก็คือ ตั้งมาตรฐาน ที่ 200 ก่อน เสร็จแล้วไปเปิด auto ให้มันทำงานให้เรา มันจะ auto ให้เราถึง 3,200 เหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากยุ่งยาก เรื่องการ operate มาก

การตั้งกล้องในส่วนอื่นๆ

  • ตั้ง VR=on
  • ตั้ง AF
  • เวลาถ่ายขึ้นมา คิดอะไรไม่ออก บอกตัว P

สำหรับการถ่ายย้อนแสง

  • วิธีแก้ที่ 1 เปิด flash ใช้
  • วิธีแก้ที่ 2 ใช้ชดเชยแสง กดปุ่ม +/- ที่สว่างใช้ + ที่มืดใช้ -
  • หรือใช้ปุ่มถ่ายภาพ auto ถ้าแสงไม่พอ flash ก็จะเด้งขึ้นมาเอง (ระยะไม่เกิน 5 เมตร)

ปุ่ม M A S P

  • ตัว S = ตั้ง shutter speed เอง และหน้ากล้องหาให้เรา
  • เช่น การถ่ายภาพน้ำตก อยากเห็นน้ำตกพรั่งพรู ต้องใช้ shutter speed ช้าๆ ตั้งแต่ 20/15/8 ตั้งขาตั้งจะดีที่สุด
  • เราสามารถถ่ายสนุกได้ เรียกว่า ระเบิด zoom (ดึง zoom) / swinging zoom / ถ้าเห็นหน้าคนชัด ใช้ flash ช่วย / ถ้าไม่ดึง zoom ตั้งกล้องเอียงนิดหนึ่ง ตรงกลางจะชัด ต้องริมเป็นวง เรียก central wave คล้ายกับเราเอาก้อนหินเขวี้ยงไปในน้ำ แล้วก้มไปถ่าย หน้าเราตรงกลางชัด ริมเป็น wave ใช้ shutter speed ช้า
  • ตั้งถ่ายภาพ ลูก-หลาน ที่กำลังเดิน เป็นจังหวะ โดย เราใส่ขนมชั้นเข้าไปด้วย (continuous) ให้ต่อเนื่อง จะพบภาพคน ที่กำลังเดิน แต่ด้านหลังเคลื่อนไหว
    ถ่ายภาพรถยนต์กำลังวิ่งได้ โดยแพนกล้องตามรถวิ่ง และก็กดเป็นระยะๆ ... จะได้รูปที่มีการเคลื่อนไหว เป็น movement
  • ตัว A ต้องตั้งเอง - ตั้งหน้ากล้องเอง แต่ shutter เขาหาให้
  • ส่วนใหญ่ใช้กรณีถ่ายภาพ ควบคุมความชัดตื้นลึก ถ้าต้องการชัดตื้น ให้ภาพคนชัด หลังเบลอ ก็จะเปิดกล้องเต็มที่ 4.5 และถ่ายภาพ จะได้ภาพคนชัด หลังเบลอ
  • แต่ถ้าอยากได้ภาพ คนชัด ข้างหลังชัด ก็หรี่หน้ากล้องมาที่เล็ก ประมาณ 16 จะได้ชัดทั้งภาพ
  • เรียกว่า ควบคุมความชัด ตื้น-ลึก ชัดตื้น กับชัดลึก
  • เล็กๆ คือ มีค่ามาก แต่ถ้ากว้างๆ คือ มีค่าน้อย – หน้ากล้องยิ่งกว้าง ความชัดจะน้อย ทำให้เกิดการชัดไม่หมด
  • ตัว M ใช้ความสามารถของคนถ่าย ปรับเอง (Tailor made)
  • สมมติว่า ในห้องใช้ 40 จะมีไข่ปลาวิ่ง เราปรับไข่ปลามาอยู่ที่เลข 0 และถ่ายภาพ จะได้พอดี
  • เริ่มที่ตั้ง shutter speed เป็นหลัก ถ้าเริ่มตั้งที่ 40 ปรับไข่ปลามาอยู่ที่เลข 0 เป็นการควบคุมแสงให้พอดีกัน
  • shutter นี้ มี AF-A, AF-S และ AF-C เราจะใช้ AF-A หรือ AF-S 
    ... AF-A คือ หา focus ต่อเนื่อง
    ... AF-S (Single servoir) คือ อะไรที่เป็นการถ่ายสิ่งของนิ่งๆ
    ... AF-C คือ การเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวเร็วๆ นกบินมาเป็นฝูง แข่งรถ
    ... ถ้าเป็นปกติ ใช้ AF-S หรือ AF-A สองอันนี้ทุกครั้งที่ถ่ายรูป จะมีเสียงปิ๊บ ถ้าชัดแล้ว ถ้าไม่ชัดแสดงว่า ผิดปกติ มือเราอาจไปโดนปุ่มอื่นๆ ที่ทำให้ค่าเปลี่ยนไป
    ... L - มี continuous low / high และมี timer คือ ถ่ายตัวเอง

การตั้งสีให้กล้อง

  • vivid คือ สีสดใส นิยมกับการถ่ายภาพวิว
  • ถ่ายคนธรรมดา ควรตั้งที่ standard มีหลายระดับ ถ้ามีการตกแต่งได้ (tailor made) ก็จะดีดอกจันทน์ อยู่ข้างหลัง ถ่ายภาพมา หน้าจะแดงขึ้นนิดหนึ่ง แต่ถ้าไม่เอา อยากได้ชมพูมากกว่านี้ ก็ปรับให้แดงขึ้นได้อีก หรือใช้ photoshop ตกแต่งได้
  • neutral คือ ถ่ายแสงธรรมชาติ
  • บางคนชอบ ขาว-ดำ อนุรักษ์นิยม
  • การกำหนด function portrait จะเห็นภาพคนชัด ข้างหลังเบลอ ถ้าแสงไม่พอ flash จะติดทุกครั้ง แต่บางคนไม่ชอบ เรามาได้ที่ menu portrait ไม่เอา flash ได้ ก็จะได้ภาพหน้าชัด หลังเบลอ (หลังกระจุย-วัยรุ่น)
  • สุดยอดของกล้อง คือ BKT (Barketing) พอกดไป จะ off ถ้าหมุนมา จะ 3 F คือ ถ่าย 3 frame กล้องจะทำหน้าที่จัดสรรให้ต่างวาระกัน ถ้าเราถ่าย 3 F ผมแนะนำให้ใช้ ขนมชั้น เวลาถ่าย ไม่ต้องปล่อยนิ้ว จะต่อเนื่อง 3 ครั้ง ถ่ายภาพให้ 3 ภาพ เพราะว่าต้องมีดีแน่ๆ 1 รูป เป็นการถ่ายเผื่อเหนียว หรือ ถ้าเราได้ยิน HDR (High definition range) เขาจะเอา 3 รูป มาซ้อนๆ กัน จะสวยมาก รูปหนึ่งแดงดี รูปที่สองน้ำเงินดี รูปที่ 3 เขียวดี บางคนถ่าย 9 รูป รวม ขาว-ดำ จะสวยมาก
  • การปรับเพิ่มเติม คือ ไปบวก และลบ ถ้าเป็น + แสดงว่า พอดีรูปหนึ่ง สว่างกว่ารูปหนึ่ง แต่เป็น – แสดงว่า พอดีรูปหนึ่ง และมืดกว่ารูปหนึ่ง ได้เต็มที่ 3 รูป
  • เมื่อหลงทางทำอย่างไร ... เมื่อมีการปรับสิ่งต่างๆ มากไป และปรับคืนไม่ได้ ไม่รู้จะทำอย่างไร ... ให้กดปุ่มช่วยชีวิต สีเขียว กดแค่ชั่วอึดใจ ค่าที่ตั้งก็จะหายไปหมด ไปที่พื้นฐานใหม่หมด เรียกว่า ปุ่มช่วยชีวิต ที่เคยตั้งไว้จะเหลือ normal พื้นฐานจากโรงงาน
  • ปุ่มปรับสายตา ... อยู่ที่บริเวณจอมองกล้อง สามารถปรับสายตาสั้น-ยาวได้
  • ถ้าถ่ายภาพ ในแสงที่แรงมาก ผมแนะนำให้เปิด active delighting ให้เป็น auto ถ้าเราถ่ายย้อนแสงนิดๆ ตัวนี้จะช่วยแก้ให้ ก็จะได้ภาพหน้าที่พอดี
  • การลบภาพ ... เลือกรูป กดถังขยะ ลบได้ครั้งละหลายรูป
  • การดูภาพใหญ่ ... กดที่แว่นขยาย ถ้าต้องการกลับไปที่เดิม ก็กดปุ่ม OK ถ้ากดอีก ดูที 4 รูป กดอีกที ดูที 9 รูป กดอีกทีดู 72 รูป เมื่ออยากดูรูปกดขึ้น และ OK ก็จะ show รูปให้เห็น
  • ตัว hide image คือ ซ่อนรูป
  • ในกรณีที่แบตเตอรี่ใกล้หมด ต้องการ save battery เปิดไปที่ image preview off ไป เมื่อถ่ายภาพ รูปก็จะไม่แสดงประหยัดได้ 20%
  • บางทีเราถ่ายภาพแนวตั้ง ภาพจะเล็ก ถ้าต้องการภาพใหญ่ จะต้อง rotate off ภาพตั้งก็จะใหญ่ตามกันไป
  • pict motion ของ NIK-D90 จะมีเพลง 5 เพลง วิธีการใช้ โดยการเลือกรูป และเลือกเพลงที่จะนำเสนอ

การตั้งกล้อง เราควรใส่ชื่อในกล้อง เพื่อ

  • แสดงความเป็นเจ้าของกล้อง เมื่อโดนขโมย ตำรวจจับได้ ก็สามารถนำใบประกัน ใบเสร็จไปยื่นแสดงความเป็นเจ้าของได้ โดย เราโชว์ชื่อก่อน เป็นชื่อของเรา
  • มีผลงานทำ paper จะยืนยันได้ เพราะว่าชื่อของเราจะฝังไว้ตลอดชีวิต ถ้ามีการลบออก ก็จะรู้ว่า ไม่ได้ original เป็นการไปขโมยมา
  • ถ้ามี card เยอะ อาจหลงลืม เพื่อนๆ พบ ก็สามารถตรวจ information ได้ เพราะว่ามีชื่อ เบอร์โทรศัพท์ ก็จะติดต่อเราได้
  • วิธีการตั้งชื่อ ไปที่ Image comment ไปที่ set menu (ลูกประแจ) กด OK และ input ใส่ชื่อ เบอร์โทรศัพท์

NIK-D7000

  • กล้องนี้จะบอกจุดโฟกัส ว่า การโฟกัสของเราจะถูกต้องหรือไม่ เช่น ถ้าเราถ่ายรูปขึ้นมา เขาจะบอกว่า เราใช้โฟกัสถูกไหม เขาก็จะชี้ให้เรา … อาจเรียกว่า ศูนย์เล็งปืน เทียบกับปืนลูกซอง ปึ้ง ไปโดน ถ้าต้องการเฉพาะซี่ ก็เปลี่ยนกำหนดโฟกัส ซึ่งจะมี AF-A AF-S และ AF-C เราใช้ AF-A หรือ AF-S และเปลี่ยนกงล้อหน้ามาเป็นจุดเดียว เท่ากับต้องการเฉพาะซี่ รูปก็จะ show ว่า เป้าหมายถูกต้องหรือไม่
  • เวลาถ่ายภาพคนไข้ ถ้าจะให้ดี ให้คนไข้หลับตาก่อน
  • ก่อนทำ ใช้หน้ากล้อง 60 / อย่างน้อย 11 หรือ 16 เพื่อให้ภาพคมชัดทั้งภาพ
  • ถ้าต้องการควบคุมความชัดลึก ให้ตั้งตัว A เปิดมาที่ประมาณ 14 หรือ 15
  • เวลาถ่ายกับ ring flash ให้เปิดที่เครื่องหมายดินสอ click มาที่ Bracketing/flash กด OK เปลี่ยนให้เป็น CMD (ถ่ายภาพปกติใช้ TTL)
  • กรณีถ่ายหน้าคนไข้ ... การถ่ายคนไข้ ถ้าตะแคงกล้องถ่าย จะมีเงาข้างหลัง ถ้าถ่ายภาพแนวนอน จะไม่มีเงา ถ่ายภาพในห้องได้ด้วยการหา future board สีฟ้า หรือสีขาว เป็นพื้น
  • ถ้าถ่ายหน้าคนไข้ ถ้าเราใช้กล้อง 32 จะมากไป แสงจะ under เห็นภาพชัดไป ต้องปล่อยให้กว้างขึ้น ประมาณ 8 จะได้ภาพที่ดี
  • การทำหน้าให้เนียน มาที่ retouch menu มาที่พู่กัน และเราดูที่ delighting ก่อนว่า รูปมืดไปหรือไม่ มืดไป ก็ทำให้สว่าง และแต่งต่อ ตัดส่วนรูป filter effect ใส่ดาวก็ได้ ถ้าหน้าเข้ม ก็ปรับ soft ให้เนียนมากน้อยตามต้องการ
  • การปรับกงล้อหน้าปรับหน้ากล้อง – กงล้อหลังปรับ shutter speed
  • Battery ... ใช้ได้นาน เป็น 1,000 รูป
  • สามารถปรับเมนูเป็นภาษาไทยได้ และถ้าไม่เข้าใจความหมาย กดเครื่องหมายคำถาม ก็จะมีตอบให้ เป็นเหมือนหนังสือคู่มือ

การ format card ... เมื่อได้กล้องมา ให้ format card ก่อน ทำโดย

  1. format – วิธี format card ที่ดีที่สุดและง่าย ใช้ 2 ปุ่ม (ถังขยะ กับ format พร้อมกัน) กดแล้ว จะขึ้น for ที่หน้าจอ 1 step ลบมาครึ่งหนึ่งแล้ว ถ้าเราแน่ใจว่า จะ format แน่ๆ ต้อง confirm อีกที เพราะว่าเป็นระบบ safty และกดแช่ไว้ รูปที่ขึ้นมาเมื่อกี้จะไม่มีแล้ว มันจะล้างหมด
  2. เราจะ format card 3 กรณี
    - กรณีที่ 1 card มาใหม่ ต้อง format ให้แม่กับลูกรู้จักกันก่อน
    - กรณีที่ 2 เมื่อเราถ่ายเสร็จแล้ว เอารูปลง comp หมดแล้ว มั่นใจว่า เก็บอยู่ และจะไปถ่ายใหม่ ให้ format
    - กรณีที่ 3 เรามีกล้องหลายตัว เอา card ไปใช้กล้องอื่น ก็ต้อง format แต่ถ้าเอาไปใช้กล้องนั้น ก็ต้อง format
  3. ถ้าไม่ format อะไรจะเกิดขึ้น เหมือนกับการไปติดโรค หรือทำกับข้าวแกงเผ็ด เสร็จแล้วเราจะเจียวไข่ เราต้องเอากะทะไปล้างก่อน แล้วเราก็ทำไข่เจียว ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เศษเผ็ดก็จะไปติดไข่เจียวได้ เขาเรียกขยะตกค้าง กล้องที่มีขยะตกค้างจะมีอาการ เช่น เดิมถ่ายได้ 354 รูป ถ่ายไปสัก 50 รูป กด shutter ไม่ได้แล้ว และมีภาษาอังกฤษขึ้นมาว่า full หมายถึงเต็มแล้ว นั่นเป็นอาการขยะติดค้าง ไม่ได้ format เพราะฉะนั้น เราต้อง format ก่อน
  4. format บ่อยๆ เท่ากับ all delete แต่จะเกลี้ยงกว่า ลบได้ดีกว่า

กล้องต้องเอามากดทุกๆ เดือน เก็บไว้เฉยๆ ไม่ดี ต้อง exercise กล้องเหมือนรถยนต์ ต้องใช้ กล้องถ่ายภาพ มี 3 กลัว คือ

  • กลัวตก – ตกพื้น ตกน้ำ
  • กลัวโดนขโมย
  • กลัวไม่ได้ใช้

 

อิอิ ขนาด microphone อาจารย์ยังได้สวยเลย

เขาเรียกว่า ฝีมือจริงๆ

ตอนแรก หมออ้อยบอกว่า มี 100 เราใช้บาทเดียว ... แต่ตอนได้รับความรู้เสร็จ รู้สึกว่า มี 100 เราได้ใช้ 10 บาทแล้วละ

 

คำสำคัญ (Tags): #nikon
หมายเลขบันทึก: 430075เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2011 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท