EK-KARIN CHUAYCHOO
นาย เอกรินทร์ EK-KARIN CHUAYCHOO ช่วยชู

บริหารควบคุมประชากรด้วงแรดกัดกินใบปาล์มน้ำมันด้วยทริปโตฝาจ


ด้วงแรดเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของปาล์มน้ำมันที่พบในประเทศไทยมี 2ชนิดนั่นคือ ด้วงแรดชนิดตัวเล็กและตัวใหญ่ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงใต้สุดสยาม การโค่นล้มต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุเยอะแล้วปลูกทดแทนใหม่ทำให้เกิดแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงชนิดนี้เพิ่มประชากรมากขึ้นและเข้าทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ ตั้งแต่ระยะปาล์มขนาดเล็กจนถึงปาล์มให้ผลผลิต โดยเฉพาะปาล์มขนาดเล็กโอกาสทำให้ต้นผิดปกติและตายมีมากกว่าที่ให้ผลผลิต ปกติด้วงแรดไม่สามารถเกิดการระบาดได้เลย เหตุที่เกิดการระบาดกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากการละเลยที่ปล่อยให้มีแหล่งขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณจำนวน ทำให้ด้วงแรดเพิ่มปริมาณตามขึ้นด้วย ถึงขั้นเข้าทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย โอกาสเกิดเองตามธรรมชาติมีน้อยมากแต่ก็มีบ้างตัวอย่างเช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์พัดต้นปาล์มล้มตายจำนวนมากๆ นั่นแหละแหล่งขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา ตัวเต็มวัยของด้วงชนิดนี้จะบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบหักง่าย กัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม หากโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้เกิดโรคยอดเน่าและตายในที่สุด ส่วนแหล่งขยายพันธุ์ที่พบเจอได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้นปาล์ม มะพร้าว สาคู ฯลฯ ซากพืชที่เน่าเปื่อยได้แก่ ซากทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองขุยมะพร้าว กองกากเมล็ดกาแฟ กองขยะ ฯลฯ แหล่งขยายพันธุ์เหล่านี้คือสถานที่ผสมพันธุ์ วางไข่ แหล่งอาหารของหนอนวัยต่างๆ จนเข้าดักแด้และเป็นตัวเต็มวัยซึ่งใช้เวลาประมาณ 4-9 เดือน

การควบคุมจำนวนประชากรลดการแพร่ระบาด

ด้วงชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้ทั่วประเทศและตลอดปี ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งขยายพันธุ์ ที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับการควบคุมลดจำนวนประชาการสามารถกระทำได้ต่อไปนี้

1. เขตกรรม กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ดีที่สุด ลงทุนน้อย สะดวกในการทำเพราะอยู่บนพื้นดิน สามารถกำจัดไข่หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัยไม่ให้เพิ่มปริมาณได้ เช่น

      - เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของปาล์มน้ำมันหรือมะพร้าว

      - เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.

      - ถ้ามีความจำเป็นต้องกองนานเกินกว่า 2-3 เดือน หมั่นพลิกกลับกองเพื่อตรวจหาไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัยเพื่อกำจัดเสีย

2. วิธีกล หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์ม ตามโคนทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดเสีย แล้วหว่านผงจุลินทรีย์ทริปโตฝาจบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์มกำจัดไข่ ตัวเต็มวัยของด้วงดังกล่าว

3. ชีววิธี ในธรรมชาติจะมีเชื้อราเขียวชนิดหนึ่งที่ชื่อเมธาไรเซียมช่วยทำลายหนอนด้วงแรด แล้วได้มีการพัฒนามาจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวเพื่อป้องกันกำจัดหนอน แมลงปีกแข็งปีกอ่อน ที่ชื่อว่า “ ทริปโตฝาจ ” โดยใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ อัตรา 500 กรัมต่อน้ำเปล่า 200 ลิตร ฉีดพ่นบนใบใต้ใบในปาล์มน้ำอายุ 1-3 ปี ที่พบการเข้าทำลายของด้วง หรือใช้ผงจุลินทรีย์ทริปโตฝาจหว่านบริเวณคอทางใบปาล์มป้องกันกำจัดไข่ ตัวเต็มวัยของด้วงดังกล่าว

มิตรเกษตรท่านใดที่ปลูกปาล์มน้ำมันหรือกำลังศึกษาหรือกำลังจะลงปลูกให้หันมาศึกษาโรคแมลงศัตรูของปาล์มหรือพืชที่ท่านจะปลูกกันสักนิด เพื่อประโยชน์ของท่านในการที่จะจัดการป้องกันกำจัด เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต กำไรในระยะยาว หากติดปัญหาต้องการสอบถามเพิ่มสามารถติดต่อได้ที่คุณเอกรินทร์  ช่วยชู โทร. 081-3983128

 

หมายเลขบันทึก: 429729เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2011 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท