ธนบุรี : เศรษฐกิจธนบุรี ฉบับย่อ


 หลังจากกรุงศรีอยุธยาล้มสลายอันเนื่องมาจากปัญหาภายในและภัยจากพม่า ได้สร้างความเสียหายไปเสียทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นไร่นา แรงงานถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย อาคาร วัด วังพังพินาศถูเผาวอดวายจนไม่อาจฟื้นฟู ทรัพย์สินต่างๆ ถูกปล้นสะดม   ขาดแคล้นอาหาร  เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง

                เมื่อย้ายเมืองหลวงใหม่เป็นกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร พระเจ้าตากสินทรงแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจดังนี้

                1. การดำเนินการคลัง ทรงพยายามใช้จ่ายอย่างประหยัด เช่น ไม่สร้างการสร้างพระราชวังให้ใหญ่โต สร้างวัดให้สวยงามตามธรรมเนียมที่มีมา สร้างก็แต่พระราชวังขนาดเล็กเท่านั้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย  ทำให้การคลังกลับมามั่นในเวลารวดเร็ว

                2.  ให้เก็บเงินเข้าพระคลังอย่างเข้มงวด ให้ตั้งขุนนางผู้ใหญ่ให้ออกไปควบคุมและเร่งรัดการเก็บส่วยอาการตามหัวเมืองให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ให้มีการติดค้างหลาย ๆ ปีอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย

                3. เก็บอากรชนิดใหม่ การเก็บค่าธรรมเนียมขุดทรัพย์ซึ่งไม่มีเจ้าของ เหตุที่มีการขุดทรัพย์กันมากเพราะเมือครั้งก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ชาวพระนครเกิดความกลัวในทรัพย์สิน จึงนำทรัพย์สมบัติไปฝังดินเป็นจำนวนมาก  เมื่อกู้กรุงได้ ประชาชนก็กลับไปเอาทรัพย์สินที่ฝังไว้ บางคนก็ไม่ได้กลับไปขุดเพราะถูกจับเป็นเฉลย เสียชีวิต จึงมีทรัพย์สมบัติถูกฝังอยู่ในดินเป็นจำนวนมาก เกิดนายทุนสมองใสประมูลเงินให้แก่รัฐบาลเป็นเงินก้อน เพื่อขอผูกขาดสิทธิการเก็บค้าธรรมเนียม ผู้ประสงค์จะขุดทรัพย์สมบัติที่ซ่อนไว้ รัฐบาลกำลังต้องการเงินเข้าท้องพระคลัง จึงอนุญาตให้มีนายอาการผูกขาด

                4. มีการแจกจ่ายข้าวปลาอาหาร ส่งเสริมการทำนา

                5. เพิ่มพูนแรงงานที่เป็น เชลยจากหัวเมืองที่ทรงตีได้ครั้งปราบเหล่าก๊กต่าง ๆ ตามหัวเมือง เช่นพิษณุโลก นครราชสีมา เพื่อให้คนในกรุงธนบุรีมีประชากรมากขึ้น

                6. ส่งเสริมการทำการค้ากับชาติตะวันตก  จีน ญี่ปุ่นและหัวเมืองชายทะเลในแหลมมาลายู

                แม้จะเกิดความสูญเสียอย่างมากมายครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 ปี 2310 แต่พระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงสร้างบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ได้ที่กรุงเทพฯธนบุรี แม้เมืองหลวงใหม่จะประสบปัญหาเศรษฐกิจแต่ทรงก็สามารถแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ด้วยพระปรีชาสามารถ ถือเป็นรากฐานที่ดีของเศรษฐกิจกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอีก 15 ปีข้างหน้า

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

 

หนังสือประกอบการเขียน

ประภัสสร บุญประเสริฐ.ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย = Economic history of Thailand : HI 322. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2552.

วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. พื้นฐานวัฒนธรรมไทย = Foundations of Thai culture : HI 121. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2536.

หมายเลขบันทึก: 429685เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

าหยะาาเสำยืร

าแพยำบหยกนสดยไ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท