งานวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก


ใบหญ้าแฝกที่จะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

จากการลงพื้นที่บ้านโคกปรง จังหวัดเพชรบูรณ์
ของทีมวิจัยซึ่งประกอบด้วยครูและนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย
เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝกในการนำมาแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝก โดยการนำมาแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะพบปัญหาในการแปรรูปคือ
ใบหญ้าแฝกแห้งจะขาดง่ายและบาดมือ
เนื่องด้วยลักษณะของใบหญ้าแฝกเมื่อแห้งจะแข็ง กรอบและคม
โดยเฉพาะการที่จะต้องนำใบหญ้าแฝกแห้งมาเข้าสู่กระบวนการถักและทอ

จากการสัมภาษณ์กลุ่มแม่บ้านบ้านโคกปรง
ที่มีประสบการณ์การถักและทอหญ้าแฝก
พบว่าใบหญ้าแฝกพันธุ์อินเดียเขาค้อ มีลักษณะใบที่อ่อนนุ่มมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ
และจากการสังเกตและสัมผัส พบว่าว่าใบหญ้าแฝกพันธุ์อินเดียเขาค้อ
มีลักษณะใบที่อ่อนนุ่มมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ

จากนั้นทีมวิจัยได้ทำการทดลองฟั่นโดยใช้ใบหญ้าแฝกอายุต่างกันและสายพันธุ์ต่างกัน
ได้แก่ พันธุ์อินเดียเขาค้อ พันธุ์ศรีลังกา พันธุ์สุราษฎร์ธานีและพันธุ์สงขลา 3
พบว่าหญ้าแฝกทั้ง 4 สายพันธุ์ อายุ 1 เดือน มีความเหมาะสมที่จะนำมาฟั่น
เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์มากกว่าหญ้าแฝกที่มีอายุ  2  เดือน 
เนื่องจากลักษณะใบหญ้าแฝกอายุ 1 เดือน
จะอ่อนนุ่มและมีความยืดหยุ่นมากกว่าใบหญ้าที่มีอายุ  2  เดือนหรือมากกว่า 2 เดือน
และพันธุ์อินเดียเขาค้อจะมีความนุ่มมากที่สุด

จากผลการวิจัยในครั้งนี้ ข้อมูลที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มที่สนใจ
ที่จะใช้ใบหญ้าแฝกเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
รวมถึงกลุ่มที่ปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนรักษ์ดินอยู่แล้วให้พิจารณาเลือกพันธุ์ที่
จะสามารถใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกในเชิงเศรษฐกิจได้อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 429651เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2011 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรียนท่านอาจารย์ครับ

หากต้องการศึกษาข้อมูลเรื่องนี้ให้มากขึ้น ทำอย่างไรครับ

นำมาลงเป็นตอนๆ ได้หรือไม่อย่างไรครับ

เรียนอาจารย์ที่เคารพ
ครูแอ้ตั้งใจจะนำข้อมูลที่ศึกษามาลงเป็นตอน ๆ ไป
เนื่องจากงานวิจัยนี้ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ค่ะ

สวัสดีครับคุณครูแอ้

ขอบคุณคุณครูแอ้ที่แวะไปเยี่ยมแพทุ่นเงิน ผมชอบเรื่องหญ้าแฝกมาก ไม่ว่าจะจากสื่อชนิดใด ชอบมานานมากแล้ว น่าจะนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเรื่องหญ้าแฝก แล้วหลังจากนั้นผมจึงได้เห็นรูปร่างหน้าตาของหญ้าแฝก ได้รู้จักหญ้าแฝกมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆมาจนถึงปัจจุบันนี้

พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านเกี่ยวกับหญ้าแฝก ที่ทรงพระราชทานลงมาให้แก่พวกเราชาวไทยทุกคนนั้น มากล้นเกินที่จะบรรยายได้หมด คุณครูแอ้นำเรื่องหญ้าแฝกมาเขียนไว้ที่นี่ดีมาก ๆ ครับ ถือว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาพระราชภาระกิจของพระองค์ท่านส่วนหนึ่งเหมือนกัน ขอเป็นกำลังใจให้ทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆนะครับ

ยินดีที่ได้รู้จักกับคุณครูแอ้ครับ จะเป็นแฟนประจำที่นี่ตลอดไปครับ

สวัสดีค่ะ....

ยินดีที่รู้จักและขอบคุณมากนะคะที่แวะไปทักทายกัน

นับเป็นบุญของชาวไทยอย่างสูงสุดที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีอัจฉริยภาพ

ไม่อย่างนั้นหญ้าแฝกก็คงเป็นหญ้าที่ไม่มีคนมองเห็นคุณค่าอยู่นั่นเอง....

ตอนนี้รู้แล้วล่ะค่ะว่ามันมีประโยชน์และมีคุณกับคนเรามากมายมหาศาล 

จนเป็นที่รู้จักและกลายเป็นพืชเศรษฐกิจไปเสียแล้ว

เรียนท่านอาจารย์

  • ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมคุณยายค่ะ
  • มีความสุขมากๆนะคะ
  • ครูแอ้ครับ
  • คาดว่าครูแอ้จะทำงานวิจัยเรื่องอะไร
  • วันก่อนคุยกัยท่าน ผศ ดร ด้วยครับ

คุณอาเชษฐ์ คุณ krugui Chutima คุณยายและท่านอาจารย์ขจิต ฝอยทอง
ครูแอ้ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาแวะเยี่ยมเยียน
และให้ความสนใจเรื่องหญ้าแฝก

มหัศจรรย์หญ้าแฝกนี้จะเป็นการบันทึกเรื่องราว
เกี่ยวกับงานวิจัยในการทอหญ้าแฝก
ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก จาก ปตท.
ซึ่งรณรงค์เรื่องหญ้าแฝกตามโครงการพระราชดำริมาโดยตลอด

และนี่คือความภูมิใจที่สุดของครูแอ้ที่ได้โอกาสทำงานวิจัย "ไทบ้าน"

  • เขียนตกครับ
  • หมายถึง อาจารย์ ผศ ดร สุเทพครับ

ขออนุญาตเรียนเชิญท่านอาจารย์ขจิต ฝอยทองมาเยี่ยนเยียนบ่อย ๆ ได้มั้ยคะ
หากมีปัญหาการสรุปงานจะได้ (รบกวน) ขอคำชี้แนะหรือปรึกษา
เนื่องจากครูแอ้ยังขาดทักษะการเขียนงานวิจัยเชิงทดลองแบบนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท