หลายข้อข้องใจ กรณี ที่ดิน ส.ป.ก. ตอน 2


ซื้อที่ สปก. และได้แจ้งเปลี่ยนชื่อแล้วจะมีปัญหาหรือไม่?

      ถาม : ที่ดินของพ่อ อยู่ในเขต ส.ป.ก. แต่ไม่ได้แจ้งรังวัด (ที่ข้างเคียงเป็น ส.ป.ก.) จะมีผลอย่างไร และต้องทำอย่างไรต่อไป?

      ตอบ : ให้ไปแจ้งการครอบครองกับเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.เพื่อได้สำรวจรังวัดและรับรองสิทธิให้ตามที่กฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนด (หรือถ้ามีเอกสารสิทธิใดๆก็นำไปยืนยันพิสูจน์ความจริงกันได้) อย่างไรก็ตาม เมื่อที่ดินที่ซื้อมานั้นเป็นที่ดินของรัฐ เป็นที่มือเปล่า ย่อมมีปัญหาเรื่องการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน จึงต้องยอมรับหากปัญหานั้นเกิดขึ้น ส่วนการแก้ไข ขอแนะนำให้ไปแจ้งการครอบครองกับส.ป.ก. เพราะเห็นว่ากระบวนการปฏิรูปที่ดินเท่านั้นที่สามารถช่วยให้ได้กรรมสิทธิ์(โฉนดที่ดิน)ในที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เช่นนั้นคุณคงต้องปวดหัวกับเรื่องที่ดินแปลง(ใหญ่)นี้ไปอีกนาน

     ถาม :  สค.1หมายความว่าอย่างไร ช่วยตอบที?

     ตอบ : แบบแจ้งการครองครองที่ดิน(ส.ค. 1)คือใบแจ้งการครอบครองที่ดิน เป็นหลักฐานว่า ตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่(แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค.1อีกแล้ว)ส.ค.1 ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้ เพียงเป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น รายละเอียดนอกจากนี้สอบถาม ปชส.ของกรมที่ดิน

    ถาม : เกษตรกร 1 รายสามารถมีพื้นที่ที่เป็น สปก. ได้มากที่สุดกี่ไร่ หากมีที่อยู่แล้ว 40 ไร่ปลูกต้นไม้และปลูกพืชผัก เต็มหมด สามารถรับมรดกจากบิดาอีก 20 ไร่ ได้อีกหรือไม่โดยต้องการที่จะใช้เลี้ยงสัตว์เช่นวัวเนื้อ เป็นต้น มีวิธีแบ่งแยกอย่างไร?

    ตอบ : ที่ดินที่ส.ป.ก.ได้มาจะจัดให้ใช้ประกอบเกษตรกรรมได้ไม่เกิน 50 ไร่โดยคิดรวมทั้งบุคคลในครอบครัวคือคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย แต่ ถ้าประสงค์จะใช้ที่ดินเลี้ยงสัตว์ใหญ่(โค กระบือ ม้า) ส.ป.ก.จะจัดให้ได้ไม่เกิน 100 ไร่ โดยต้องแสดงได้ว่ามีความสามารถและปัจจัยที่จะทำได้พร้อมคำรับรองจากกรมปศุสัตว์ โดยไปยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานที่ส.ป.ก.จังหวัด ถ้าต่อมาเกิดเบี้ยวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ว่า ส.ป.ก.จะเพิกถอนการอนุญาตทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เห็นสมควรเพื่อนำไปจัดให้กับเกษตรกรอื่นต่อไป กรณีของคุณถ้าประกอบการเกษตรจะได้อีก 10 ไร่ แต่ถ้าใช้เลี้ยงสัตว์ใหญ่สามารถรับจากบิดาได้ทั้ง 20 ไร่ อย่างไรก็ตาม การขอมีที่ดินเกินสิทธิเพื่อเลี้ยงสัตว์ใหญ่ อำนาจพิจารณาเป็นของคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี รมว.เกษตรฯเป็นประธาน

    ถาม : ซื้อที่ สปก. และได้แจ้งเปลี่ยนชื่อแล้วจะมีปัญหาหรือไม่?

    ตอบ : ถ้าคุณซื้อมาก่อนส.ป.ก. ทำการสำรวจรังวัด หรือก่อนการสอบสวนสิทธิ หรือก่อนคัดเลือกรับมอบที่ดิน ไม่เป็นไร ไปแจ้งขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลสอบสวนสิทธิใหม่ได้ แต่ถ้าซื้อภายหลังได้คัดเลือกและมอบที่ดินให้กับผู้ขายไปแล้ว จะหมดสิทธิทั้งคู่(ผู้ขายและผู้ซื้อ) ก็ลองนึกดูว่าเข้ากรณีใหน ส่วนการรังวัดแบ่งแยกอาจอยู่ในขั้นตอนก่อนคัดเลือกก็ได้ ลองไปตรวจสอบดู

     ถาม : จะโอนที่ดินให้กับทายาท หรือจะถูกเพิกถอนเพราะขาดคุณสมบัติ แล้วถูกยืดที่ดินคืนหลวงหรือไม่ ?

     ตอบ : หลักการจัดที่ดินของส.ป.ก.คือจัดให้กับเกษตรกรทำประโยชน์ ดังนั้น เมื่อเป็นข้าราชการต้องถือว่าขาดคุณสมบัติเป็นเกษตรกรตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินฯ จึงหมดสิทธิที่จะได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จำเป็นจัดที่ดินให้กับทายาทของคุณที่เป็นเกษตรกร เช่น บิดามารดา คู่สมรส บุตร หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ในที่ดินเอกชน(โฉนด /น.ส.3) ที่ส.ป.ก.จัดซื้อมาแล้วจัดให้ออกจะดูเป็นธรรม แต่ที่ดินของรัฐที่เกษตรกรถือครองอยู่ก่อนหรือซื้อมาก่อนการปฏิรูปที่ดิน ดูว่ากฎหมายจะไม่ให้ความเป็นธรรม หลายคนจึงเห็นว่าสมควรให้มีการปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงโดยเร็ว

    ถาม : ปัจจุบันบิดาได้รับจัดสรรที่สปก.จำนวน 50 ไร่ กรณีถ้าบิดาเสียชีวิตที่ดินสปก.จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร?

    ตอบ : ส.ป.ก.อนุญาตให้ทายาท(ของผู้เสียชีวิต)รับมรดกสิทธิที่ดิน ดังนี้ 1.คู่สมรส หรือ บุตร 2.บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ที่ดินที่บิดาคุณได้รับนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ดังนั้น ทายาทที่มีสิทธิจึงเป็นไปตามที่ส.ป.ก.กำหนด ไม่ใช่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่ง-พาณิชย์เหมือนที่หลายๆคนเข้าใจ

    ถาม : การจัดที่ดินมีกี่ประเภทอะไรบ้าง?

    ตอบ : การจัดที่ดินสามารถแบ่งออกได้ตามประเภทของกิจการแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

   1. การจัดที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ซึ่งประกอบด้วย  กรณีการจัดให้เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร

   2. การจัดที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งลักษณะของกิจการเป็นไปตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

   3. การจัดที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นบริการสาธารณประโยชน์

   4. การจัดที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินมาใช้ประโยชน์  ตามกฎหมายอื่น ซึ่ง ส.ป.ก.เพียงให้ความยินยอมให้ใช้ที่ดิน ส่วนการอนุญาตให้ประกอบกิจการเป็นไปตามกฏหมายอื่น

     ถาม : ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

     ตอบ : ผู้ที่มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน มี 4 ประเภท ดังนี้คือ

     1. กรณีจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  ต้องจัดให้แก่เกษตรกรผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

         1.1  ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

         1.2  ผู้ประสงค์จะเป็นเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง มี 3 ประเภท คือ

               1.2.1  บุคคลผู้ยากจน

               1.2.2  ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม

               1.2.3  ผู้เป็นบุตรของเกษตรกร

          1.3  สถาบันเกษตรกร

     2. กรณีการจัดที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับ การปฏิรูปที่ดิน ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลผู้มีความสามารถตามกฎหมายและประกอบกิจการตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

     3. กรณีการจัดที่ดินกิจการสาธารณูปโภค ได้แก่ ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ  หน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร

     4. กรณีการจัดที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดิน มาใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์

หมายเลขบันทึก: 429457เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2011 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ไม่ไว้ใจนักการเมืองเลยครับ

ไม่รู้เป็นเพราะอะไร

อยากได้นักการเมืองดีๆ ปกครองบ้านเมือง

จะทำอย่างไรดีครับ

     ฮุๆๆ...อยู่ที่คนเลือกแล้วล่ะครับ....แต่ทุกวันนี้ผมว่า ผู้แทนฯเกรดเดียวกันหมด....จะเลือก...จะคัดยังไงคงได้แบบเดิม... ผู้แทนดีร้อยเปอร์เซนต์คงไม่มี...ผมว่าเลือกคนที่เราชอบก็แล้วกันครับ..อย่างน้อยเราก็ได้เลือก (กะจะไม่แสดงความคิดเห็นแล้วนะเนี้ย...เอาซะยาวเลย)

ซื้อที่สปกแล้วเจ้าของมันงี้เง้ายังบอกว่าเราไม่มีสิทธิ์จะทำงัยดี


 

อรอุมา รัตนวิริยะ

กรณีผู้ครองสิทธิ์ถึงแก่ความตาย แต่น้องของผู้ตายถือโฉนดอยู่ เพราะไปเอาออกมาจากธนาคาร แล้วน้องก็ทำกินอยู่ที่ ที่ดินแปลงนั้นนับ 20 ปี คือต้องทำอย่างไรถ้าจะเปลี่ยนชื่อจากโฉนดที่ดินมาเป็นของน้องคนที่ตาย

(ภรรยาของผู้ตายไม่ยอม) แต่_รรยาเขาไม่เคยเข้ามาทำกินเลย อยากทราบค่ะ พอจะมีหนทางไหมค่ะ ช่วยตอบหน่อยค่

วิระตา สระทองพิมพ์

พ่อมีที่ดิน ส.ป.ก.ครบ50ไร่แล้ว และอาจะโอนให้เราอีก20ไร่ แต่เรากับพ่ออยู่ทะเบียนบ้านเดียวกันจะโอนได้ไหม

เนื่องด้วย พ่อ แม่ เรามีที่ สภก 4-01 (ปัจจุบันพ่อเสียได้ 1ปี) ที่ดินของเราอยู่ผืนถัดเข้าไปข้างใน มีแปลงของคนอื่นที่ติดถนนคั่นอยู่ (เหมือนที่เราเปงที่ตาบอด) ปกติเราใช้ของผ่านทาง แบบ เดิน หรือ มอเตอร์ไซเลาะๆเข้าไปยังบ้านและสวน ใช้มาเป็น10 ปี แต่ปัจจุบัน เจ้าของที่แปลงที่ติดกับถนน ไม่ให้เราผ่านทาง แถมยัง ถอดเสาไฟฟ้า ฝที่ลากสายไฟ มาจากถนน เพื่อให้บ้านเรา มีเสียงสว่าง ทิ้งหมด ตอนนี้แม่เราอยู่แบบไม่มีไฟ แถม ไม่มีทางเข้าบ้าน 

และบอกแม่ว่าจะไม่ให้ผ่านทางอีก. พอจะมีวิธีการใด ช่วยเหลือมั้ยค่ะ

ผมได้รับที่ สปก. ก่อนได้รับราชการผมจะมีสิทธิ์ในที่ดินหรือไม่  และควรทำอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท