QUALITATIVE RESEARCH VI


ปัญหาต่อไปก็คือ  Qualitative Research  ใช้ค้นหาแต่ความรู้ประเภท  ข้อเท็จจริง  และ หลัก เท่านั้นหรือ ?  จะค้นหากฎธรรมชาติ ได้หรือไม่ ?  อ๋อ  ได้แน่นอน  ดูตัวอย่างต่อไปนี้นะครับ

นายแดงแกเป็นคนช่างสังเกต  และขี้สงสัย  วันหนึ่งแกยืนดูน้ำฝนที่หลั่งไหลลงมาจากหลังคา  แกก็สงสัย  และถามตัวเองว่า  ทำไมมันจึงไหลลงพื้น  ไม่ไหลไปบนท้องฟ้า ? วันต่อมาแกสังเกตเห็นน้ำที่ล้นกะละมังและไหลลงพื้นอีก  แกก็คิดอีก  ต่อมาแกไปเที่ยวน้ำตกแห่งหนึ่ง  แกก็เห็นน้ำไหลลงข้างล่างอีก  แกจึงคิดว่า  หรือว่าเพราะน้ำมันอยู่ที่สูงจึงทำให้มันไหลลงดิน  ต่อมาแกสังเกตเห็นน้ำในบ่อข้างบ้านมันเรียบราบ  ไม่ไหลไปไหน  แกก็คิดอีก  ต่อมาแกเห็นน้ำฝนบนถนนมันไหลไปหาที่ๆต่ำกว่า   คราวนี้เขาจึงได้ความคิดว่า  อ้อ  มันไหลไปหาที่ต่ำกว่านั่นเอง   เมื่อคิดได้ดังนี้  เขาก็ร้องลั่นว่า

น้ำจะไหลจากที่สูงไปสู่ที่ตำ !!

ข้อสรุปจากการสังเกตนี้ เป็น Fact ครับ  หรือถ้าให้สูงขึ้นไปหน่อย  ก็เป็น  Principle ครับ ที่ว่าเป็นข้อเท็จจริงก็เพราะว่า  ยังมีความเป็น เฉพาะ อยู่  คือ  เฉพาะน้ำเท่านั้น  และที่ว่าสามารถยกระดับเป็น  หลัก  ได้  ก็เพราะว่า  ข้อความเหล่านั้นประกอบกันขึ้นด้วย  มโนทัศน์ หรือ  Concepts  และด้วยกฎทางภาษา  ทำให้เราฟังรู้เรื่อง  ถ้าเขาเรียงคำว่า

จากจะไหลที่น้ำสู่ไป......

แล้วละก้อ  เราฟังไม่รู้เรื่องแน่  เพราะผิดกฎทางภาษา  จริงไหม

แต่คราวนี้เขาพูดใหม่ว่า

ของเหลวที่อยู่ในที่ระดับต่างกัน  ของเหลวจากระดับที่สูงกว่าจะไหไปสู่ที่ระดับต่ำกว่า

เท่านี้เอง  ข้อความนี้ก็เป็นประเภท กฎ หรือ Law ทันทีครับ  เพราะว่า  มีความ  ทั่วไปสูงกว่าข้อความก่อน  กล่าวคือ  เขาไม่ได้ระบุว่าเป็นอะไร  เป็นน้ำหรือน้ำมัน  หรือน้ำเชื่อม  หรือตังเม  หรือแม้กระทั่งลาวา  และถูกตามกฎทางภาษา  ใครๆถ้าไม่โง่ดักดาลก็ฟังรู้เรื่อง จริงไหมครับ

และกฎนี้จัดเป็นประเภท  กฎทางธรรมชาติ หรือ Natural Law ด้วย  เพราะว่า  พบมาจากเหตุการณ์ธรรมชาติ  และจะเรียกว่า  กฎเชิงประจักษ์ หรือ Empirical law ก็ได้ด้วย เพราะว่า  เขาพบมาจากการประจักษ์เหตุการณ์ในธรรมชาติ  แต่เนื่องจากมันเป็น ข้อความ  ไม่ใช่ตัวเลข  สมการ  หรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  ดังนั้น  เราจึงเรียกเจ้ากฎนี้ว่า  กฎแบบกฎเชิงคุณภาพ  หรือ  Qualitative law  และนอกจากนี้เนื่องจากมันเป็นข้อความเชิงบรรยาย  และใช้เพื่อการบรรยายหรืออธิบายธรรมชาติ  ดังนี้นจึงได้เรียกอีกชื่อว่า  กฎเชิงบรรยาย  หรือ  Descriptive law  ครับ  ถึงบางอ้อแล้วยังครับ 

คราวนี้สำคัญ   กระบวนการสังเกต  หรือ  Observation ดังกล่าว  นับจากเริ่มต้นไปจนกระทั่งได้องความรู้มาดังตัวอย่างนี้  จัดเป็นกระบวนการเชิงคุณภาพ  ถ้าการวิจัยใดที่ใช้การสังเกตเป็นเครื่องมือค้นหาความรู้และได้กฎประเภทดังตัวอย่างนี้แล้ว  ก็เรียกว่า  การวิจัยประเภทเชิงคุณภาพ

ถ้า Observation เป็นกระบวนการรวมอยู่ใน Survey Research  มันก็เป็นส่วนหนึ่งใน Survey Research  นั้น  และก็ยังจัดเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพอยู่

ถ้ากระบวนการสังเกตนั้นเป็นระบบ  เริ่มแต่เกิดปัญหา  ตั้งสมมุติฐานหรือเก็บข้อมูล นำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้วสรุปผลเป็นองค์ความรู้ แล้ว  ก็มีศักดิ์ศรีเป็น Observational Research ได้อย่างภาคภูมิใจ

ดังนั้น  การวิจัยเชิงคุณภาพ  ก็ค้นหาความรู้ประเภท  กฎ  ได้เหมือนกัน  แต่กฎนั้นจะเป็นกฎแบบ  Qualitative Laws ไม่ใช่  Quantitative Laws

คำสำคัญ (Tags): #observation#Observational Research
หมายเลขบันทึก: 429430เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2011 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาทักทายอาจารย์ สบายดีไหมครับ ตอนนี้อาจารย์อยู่นครฯใช่ไหมครับ เอหรือสงขลา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท