ประวัติเมืองสงขลา (16) น้ำน้อย


ชุมชนน้ำน้อยเป็นชุมชนเก่าแก่ เคยรุ่งเรืองด้านการทำเหมืองแร่เหล็กและการตีเหล็กเมื่อเกือบร้อยปีก่อน เคยมีสถานีรถไฟน้ำน้อย ครึ่งทางระหว่างสงขลากับหาดใหญ่เพื่อให้รถไฟสับหลีกกัน มีเหมืองหินหรือหมวดศิลาเขาบรรไดนาง เพื่อนำหินไปใช้ในกิจการรถไฟ

ทุกครั้งที่ต้องเดินทางจากบ้านในตัวเมืองสงขลาไปหาดใหญ่ ถ้าไม่รีบร้อนมาก ผมชอบนั่งรถที่ผ่านถนนกาญจนวนิช หรือที่เรียกว่ากันว่าถนนสงขลา-หาดใหญ่สายเก่า

ที่เรียกว่าสายเก่าก็เพราะมีถนนสายใหม่เกิดขึ้นเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว แยกจากถนนกาญจนวนิชที่บ้านน้ำกระจาย เข้าสู่ตัวเมืองหาดใหญ่ทางด้านทิศเหนือ ชื่อถนนลพบุรีราเมศวร์หรือทางหลวงหมายเลข 414

แยกที่บ้านน้ำกระจายนี้ เมื่อรวมกับแยกทางหลวง 408 ที่ข้ามสะพานติณสูลานนท์ไปยังเกาะยอแล้วข้ามต่อไปคาบสมุทรสทิงพระเพื่อไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช และอีกด้านไปเชื่อมต่อกับถนนสงขลา-นาทวีแล้ว ก็ทำให้แยกที่บ้านน้ำกระจายกลายเป็น ห้าแยกเกาะยอ

บรรยายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น โดยไม่ต้องดูแผนที่ประกอบ ถ้านั่งรถมาจากสงขลา พอถึงห้าแยกเกาะยอที่ว่านี้ ซ้ายมือสุดเป็นถนนไปเชื่อมต่อกับถนนสายสงขลา-จะนะ-นาทวี ถัดมาก็คือถนนกาญจนวนิชไปหาดใหญ่สายเก่า ถัดมาอีกคือถนนลพบุรีราเมศร์ไปหาดใหญ่สายใหม่ และขวามือสุดไปเกาะยอและสทิงพระ ระโนดนั่นเอง

แม้ถนนไปหาดใหญ่สายใหม่จะผ่านพื้นที่ชุ่มน้ำ และที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลา ผ่านท้องทุ่งเห็นฝูงวัวควาย ต้นตาลโตนดเพลิดเพลินดีไม่น้อย และไม่ผ่านแหล่งชุมชนหรือต้องขึ้นลงเนินเขาเหมือนถนนสายเก่า ทำให้รถสามารถทำความเร็วได้ เหมาะสำหรับผู้ที่รีบร้อนมีธุระต้องไปให้ทัน

แต่ถนนสายเก่าจะผ่านวัด โรงเรียนและแหล่งชุมชน ได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ร่องรอยของการทำเหมืองแร่ เหมืองหิน และทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลาที่ยุบเลิกไป เหลือสะพานโครงเหล็กขนาดใหญ่ข้ามคลองน้ำน้อยไว้เป็นอนุสรณ์

ตำบลน้ำน้อย ตั้งอยู่สุดขอบด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอหาดใหญ่ ปัจจุบันยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว ด้านเหนือติดกับทะเลสาบสงขลา ส่วนด้านใต้ติดกับตำบลทุ่งใหญ่และตำบลท่าข้าม โดยมีถนนกาญจนวนิชกั้นแบ่งเขต ด้านตะวันออกติดกับตำบลพะวงของอำเภอเมืองสงขลา ส่วนด้านตะวันตกติดตำบลคูเต่าและตำบลคลองแห

น้ำน้อย มีภูมิประเทศหลายรูปแบบให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นทุ่งนา ดงตาล ภูเขา ขุมเหมืองเก่า ลำคลอง ถนนสายหลัก 2 สายและซากทางรถไฟเก่า

หรือแม้กระทั่งป่าชายเลนริมทะเลสาบ ออกจะขัดกับชื่อตำบล ที่ฟังดูแห้งแล้งและทุรกันดาร

ว่ากันว่าชื่อน้ำน้อยไม่ได้มีที่มาจากการขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด ชาวบ้านเล่ากันว่า แต่เดิมในบริเวณหมู่บ้านนี้มีแหล่งน้ำธรรมชาติมีหินผาสูงใหญ่ และที่หินผานี้เองจะปรากฏว่ามีน้ำไหลย้อยออกมาอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านจึงเรียกว่า หินน้ำย้อย ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนกันเป็น บ้านน้ำน้อย ดังปัจจุบัน

จริงเท็จแค่ไหนไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่ก็มีเขาน้ำน้อยและเขาท่านางหอมอยู่กลางตำบลั้งเรืองด้านการทำเหมืองแร่เหล็กและการตีเหล็กงรอยของการทำเหมืองแร่ เหมืองหิน และทางรถไฟสายหาดใหญ

ชุมชนน้ำน้อยเป็นชุมชนเก่าแก่ เคยรุ่งเรืองด้านการทำเหมืองแร่เหล็กและการตีเหล็กเมื่อเกือบร้อยปีก่อน เคยมีสถานีรถไฟน้ำน้อย ครึ่งทางระหว่างสงขลากับหาดใหญ่เพื่อให้รถไฟสับหลีกกัน มีเหมืองหินหรือหมวดศิลาเขาบรรไดนาง เพื่อนำหินไปใช้ในกิจการรถไฟ

แม้วันนี้ภาพเหล่านั้นไม่มีให้เห็นอีก เปลี่ยนเป็นย่านโรงงานอุตสาหกรรมสำคัญของจังหวัดสงขลา แต่คำขวัญของตำบลน้ำน้อยที่ว่า น้ำน้อยน่าอยู่ ภูเขากั้นกลาง ขนาบข้างสองถนน ผู้คนมีศักดิ์ศรี มากมีวัฒนธรรม ก็สะท้อนเอกลักษณ์ของน้ำน้อยที่เคยเป็นมาได้อย่างดี

สะพานรถไฟข้ามคลองน้ำน้อย เลิกใช้งานไปกว่า 30 ปีแล้ว หลังยกเลิกการเดินรถไฟสายสงขลา

สะพานรถไฟคลองน้ำน้อย

หมายเลขบันทึก: 429401เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2011 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2016 06:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • น่าสนใจมาก
  • สงสัยต้องเขียนเรื่อง น้ำกระจาย
  • เขารูปช้าง  ทุ่งหวัง เพิ่มด้วยครับ
  • ขอบคุณมากๆๆครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ขจิต ที่ติดตามครับ 

ได้เห็นภาพความเป็นมาของท้องถิ่น

แต่ละท้องถิ่นมีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง

มาริสา ชัยสวัสดิ์

มีประวัติขุนพิพัฒน์ นคร ไหมค่ะ ที่ทางสายเก่า ต.น้ำน้อยอ่ะค่ะ

ตอนเด็กๆ ยังทันได้นั่งมาจากหาดใหญ่สัก 2-3 ครั้งค่ะ เพื่อมาลงที่บ้านญาติที่สะพานเหล็ก สงขลา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท