การเขียนโครงการ LogFrame


การเขียนโครงการ

การเขียนโครงการแบบเหตุผลสัมพันธ์(Logical Framework Method)

ชื่อ โครงการเสริมสร้างความรู้และทักษะด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหาร

สาระสำคัญของโครงการ

ตัวบ่งชี้

แหล่งข้อมูล

เงื่อนไขประกอบ

วัตถุประสงค์ของแผนงาน

ลดอัตราป่วย/ตายของประชากรด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ

-  อัตราป่วยด้วยโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อของประชากรลดลงจาก 1527.27 ต่อแสนประชากรในปี 2547  

รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของจังหวัดปัตตานี

ไม่มีสถานการณ์โรคระบาดอื่นๆที่เกี่ยวกับโรคทางระบบทางเดินอาหารเกิดขึ้น

จุดมุ่งหมายของโครงการ

  1. เพิ่มสถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานด้านการสุขาภิบาลอาหาร
  2. เพิ่มศักยภาพของชมรมผู้ประกอบการอาหารจังหวัดปัตตานีเพื่อเป็นพหุภาคีเครือข่ายในการพัฒนา

 

- ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารของจังหวัดปัตตานี ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร  (Clean Food Good Taste) ครอบคลุมร้อยละ  40

 

 

รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานสุขาภิบาลของหน่วยงานบริการ     สาธารณสุขระดับอำเภอประจำเดือน

 

-  โครงการ CFGT ยังเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มีความต่อเนื่องและส่วนกลางให้การสนับสนุนป้ายรับรองมาตรฐาน

ผลผลิตของโครงการ

  1. ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดฯ
  2. คณะกรรมการชมรมผู้ประกอบการอาหารจังหวัดปัตตานี ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหารจากชมรมที่มีผลสำเร็จเพื่อถ่ายทอดให้แก่สมาชิกของชมรมฯต่อไป

 

  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมทดสอบความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหารหลังการอบรม ผ่านเกณฑ์ระดับ ดี
  2. ร้อยละ 100 ของสถานที่จำหน่ายอาหารซึ่งผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการอบรมได้รับการติดตามประเมินผล
  3. ร้อยละ  40  ของสถานที่จำหน่ายอาหารซึ่งผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการอบรม ผ่านการประเมินมาตรฐานทางกายภาพและชีวภาพตามเงื่อนไขของโครงการ CFGT
  4. ร้อยละ 80 ของรถเร่ กลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางกายภาพของแผงลอย

 

-          การรายงาน

-          การสำรวจ

-          การติดตามผลการปฏิบัติงาน

-          การประเมินผล

 

  1. สถานการณ์ความไม่สงบซึ่งส่งผลต่อการดำเนินการของโครงการ
  2. น้ำยา SI-2 สำหรับใช้ในการตรวจทางชีวภาพ ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์อนามัยที่ 12 อย่างต่อเนื่องและเพียงพอ
  3. ชมรมผู้ประกอบการอาหารจังหวัดปัตตานี ยังมีการรวมตัวที่เป็นรูปธรรม

 

กิจกรรมและทรัพยากร

  1. อบรมผู้สัมผัสอาหารกลุ่มจำหน่ายอาหารประจำที่     (ร้านอาหารและแผงลอย)
  2. อบรมผู้สัมผัสอาหารกลุ่มจำหน่ายไม่ประจำที่(รถเร่)
  3. อบรมและศึกษาดูงานกลุ่มกรรมการชมรมผู้ประกอบการอาหารจังหวัดปัตตานีร่วมกับแผนงาน/โครงการของส่วนกลาง

กลุ่มที่ 1     24 และ 25 มกราคม 2548

กลุ่มที่  2    13   กุมภาพันธ์ 2548

กลุ่มที่ 3   ใช้เวลา 5 วัน(จ.ขอนแก่น)

  1. ค่าอาหาร 44,500  บาท
  2. ค่าวิทยากร  19,400  บาท
  3. ค่าวัสดุ  8,000  บาท
  4. ค่าพาหนะ  33,000 บาท
  5. ค่าที่พัก  8,000 บาท
  6. ค่าเบี้ยเลี้ยง จนท.  1,080  บาท
รวม  114,980  บาท

- รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ

-  รายงานความ  ก้าวหน้าของการปฏิบัติงานโครงการฯ

  1. สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดปัตตานีที่มีผลกระทบต่อการดำเนินการของโครงการ ฯ
  2. การเปลี่ยนแผนงานโครงการประชุมพหุภาคีเครือข่ายะดับประเทศประจำปีของส่วนกลาง

 

คำสำคัญ (Tags): #โครงการ
หมายเลขบันทึก: 428982เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2011 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีคะ มีโครงการแบบ Log frame ที่เกี่ยวกับสถานศึกษาไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท