บันทึกที่มีอยู่ใน GotoKnow.org เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน?


22 กย 48

ดิฉันมาบรรยายระบบบล็อก GotoKnow.org ให้กับอาจารย์นักวิจัยคณะพยาบาล มอ. ดิฉันขออนุญาตให้ "คุณตา" เข้ามาฟังด้วยคะ (ถ้าคุณตาอ่านอยู่ ต้องรีบบล็อกแล้วนะคะ ดิฉันเชื่อว่ามีหลายท่านสนใจความรู้ด้านผดุงครรภ์โบราณมากมายคะ)

ในการบรรยายครั้งนี้ ดิฉันเน้นให้เห็นความสำคัญของชุมชนบล็อกคะ เพราะผู้ฟังทั้งหมดเป็นนักวิจัย ดังนั้นเขาน่าจะใช้ชุมชนบล็อกเพื่อเป็นคลังความรู้เฉพาะด้านได้ดีคะ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยชุดหรือเดี่ยว

หลังจบการบรรยาย เป็นที่น่ายินดีคะ มีคณาจารย์ถามคำถามมากมายด้วยความสนใจ คำถามเด็ดคำถามหนึ่งคือ "ถ้าจะนำบันทึกที่มีอยู่ใน GotoKnow.org ไปอ้างอิง จะน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน?" ดิฉันตอบไปว่า ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ใช้ข้อมูลคะ เพราะบันทึกในบล็อกส่วนใหญ่เป็นประสบการณ์และความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน (อ่านเพิ่มเติมเรื่องการเขียนบล็อก) แต่สิ่งที่ GotoKnow.org จะทำให้ได้คือ การ Rating บันทึกโดยสมาชิกใน GotoKnow.org คะ อันนี้เป็นแผนพัฒนาที่วางไว้แล้วคะ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เขียนบล็อกต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมในการเขียนบล็อกคะ (Blogger's Code of Ethics)

จันทวรรณ

หมายเลขบันทึก: 4289เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2005 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอ share ด้วยคนนะครับ

ความเชื่อของผม....tacit knowledge ถูกพิสูจน์การปฏิบัติจริงว่าเคยทำสำเร็จมาแล้ว  อย่างน้อยก็ 1 ครั้ง  แต่ไม่ยืนยันนะครับว่าทุกครั้งที่ทำแบบเดียวกันผลจะออกมาเหมือนเดิม

ตรงนี้กระมังที่ต่างจากการวิจัย....แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงมีเหตุปัจจัยที่สลับซับซ้อนมากมาย  ห้อมล้อมเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ไม่เหมือนกัน   ทฤษฎีไร้ระเบียบยังคงใช้ได้กับเรื่องราวหลายอย่างที่เราไม่สามารถคาดคะเนได้  แต่มีผลกระทบถึงเหตุการณ์นั้นๆได้

ดังนั้นผมจึงเชื่อว่า(ตอนนี้) tacit knowledge ถูกผสมปนกันอยู่ระหว่าง content และ context ซึ่งยากที่จะแยกออกจากกันได้   เป็นสิ่งที่เตือนเราเสมอว่าอย่าละทิ้งการเรียนรู้บริบท ด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นเราจะหาความรู้ที่ตรงกับจริตของเราไม่ได้    

แต่เดิมเราจะเรียนรู้ content มากเกินไปและพยายามแยกมันออกจากโลกความเป็นจริง  ทำให้มีความรู้มากมายถึงตอนนี้ที่เอามาทำอะไรไม่ได้เลย  คล้ายๆกับที่คนแก่เรียกมันว่า "ความรู้ที่ไม่มีชิวิต" 

ส่วนตัวแล้ว ดิฉันคิดว่า ภายใต้สมมุติฐานที่ว่า ผู้เขียนนั้นเขียนบนพื้นฐานของความเป็นจริง บันทึกในบล็อกสามารถอ้างอิงในงานวิจัยได้ ก็เหมือนกับบทสนทนาก็สามารถอ้างอิงในงานวิจัยได้เช่นเดียวกันคะ  อย่างไรก็ตาม ผู้นำข้อมูลไปอ้างอิงควรใช้วิจารณญาณประกอบในเลือกบันทึกไปอ้างอิง

ดิฉันขอยกตัวอย่างการอ้างอิงบันทึกใน GotoKnow.org เพื่อนำไปอ้างอิงในงานวิจัยตามหลัก APA ดังด้านล่างนี้คะ

Noiwan, J. (2005). Blog: Technology for Managing Tacit Knowledge. Retrieved 25 September 2005, from the World Wide Web: http://gotoknow.org/archive/2005/09/24/22/28/52/e4426

เข้ามาอ่าน เผื่อจะได้ความรู้เกี่ยวกับเว็บบล็อกบ้าง  ทดลองใช้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท