TQF : อัปยศ (ตอนที่ 2)


            สิ่งที่แตกต่างระหว่างกรอบคุณวุฒิชาติ (NQF) กับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (TQF) คือ กรอบคุณวุฒิของไทย (TQF) กำหนดรายละเอียดมากจนเป็นการทำงานธุรการด้านการศึกษา โดยกรอบมาตรฐานคุณวุฒิไทยมีเอกสารที่ต้องจัดทำมากถึง 7 แบบ เรียกว่า มคอ.1 ถึง มคอ.7 เป็นการเพิ่มภาระให้อาจารย์ผู้สอน นอกจากนั้นยังกำหนดกรอบจนหลักสูตรขาดความหลากหลายและแตกต่าง ทำให้คนไทยทั้งประเทศที่เรียนในแต่ละสาขาเกือบจะเป็นพิมพ์เดียวกันทั้งหมด
             กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ที่นอกจากไม่สร้างสรรค์แล้วยังเป็นการทำลาย คือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จะประกาศใช้บังคับ มีประเด็นสำคัญ คือ
             “การจัดการเรียนการสอนวิชาเอกเดี่ยวที่เตรียมผู้จะไปเป็นครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย : ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า นักศึกษาจะต้องเรียนวิชาเอกจากคณะที่เปิดสอนสาขาวิชาหลักนั้น หรือสอนโดยคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า รองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาหลักและมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์อย่างต่อเนื่องในสาขาวิชาหลักนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้มีการเรียนรู้เนื้อหาสาระที่เข้มข้นอยู่ในสิ่งแวดล้อม/บรรยากาศที่มีลักษณะและธรรมชาติที่เป็นพลวัต ทำให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้การเปลี่ยนแปลงของศาสตร์ในวิชาเอกนั้นได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับตัว เกิดจิตใฝ่รู้ (inquiry mind) สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ติดตามความก้าวหน้าของศาสตร์นั้นได้และเกิดความคิดสร้างสรรค์"
              ทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนวิชาเอกจะต้องไม่ใช้งบประมาณ เพื่อสร้างห้องปฏิบัติการและการจัดหาคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชาเอกดังกล่าวเพิ่มในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนกับคณะสาขาวิชาหลักนั้นๆ”

คำสำคัญ (Tags): #tqf
หมายเลขบันทึก: 428560เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่ช่วยเขียนเรื่องนี้ สะท้อนมุมมอง อยากให้หลายๆคนมาช่วยกัน แสดงความคิดเห็นค่ะ

กรอบคุณวุฒิของไทย (TQF) กำหนดรายละเอียดมากจนเป็นการทำงานธุรการด้านการศึกษา โดยกรอบมาตรฐานคุณวุฒิไทยมีเอกสารที่ต้องจัดทำมากถึง 7 แบบ เรียกว่า มคอ.1 ถึง มคอ.7 เป็นการเพิ่มภาระให้อาจารย์ผู้สอน

เห็นด้วยค่ะ แต่อย่ากังวลค่ะ บางแห่งอาจให้จนท.ธุรการเขียนแทนก็เป็นได้ คุณภาพการศึกษาบางแห่งเลย.....อจ.แท้จริงก็นั่งปั่นไป

 นอกจากนั้นยังกำหนดกรอบจนหลักสูตรขาดความหลากหลายและแตกต่าง ทำให้คนไทยทั้งประเทศที่เรียนในแต่ละสาขาเกือบจะเป็นพิมพ์เดียวกันทั้งหมด

ตรงนี้เคยถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มาบรรยาย เขาบอกว่าจะได้เทียบได้ standard เดียวกันเวลาเรียนต่อตปท.ค่ะ หุ หุ  (เฮ้อ!! เลยตามหลังประเทศเวียตนาม สิงคโปร์ ฯ อาจต้องไปดูว่าเขาทำ TQF แบบไทยๆไหม?)

 

กรอบคุณวุฒิของไทย (TQF) กำหนดรายละเอียดมากจนเป็นการทำงานธุรการด้านการศึกษา โดยกรอบมาตรฐานคุณวุฒิไทยมีเอกสารที่ต้องจัดทำมากถึง 7 แบบ เรียกว่า มคอ.1 ถึง มคอ.7 เป็นการเพิ่มภาระให้อาจารย์ผู้สอน    ผมเป็นครูครับ ภาระงานตามกรอบต่างๆ ที่ถูกกำหนดหนักอึ้งมาก  ครูมีภาระงานหลายอย่าง โรงเรียน  ชุมชน อบจ  อบต เทศบาล และขตพื้นที่  สพฐ   มันไหลรวมมาที่โรงเรียน  ครูไทยคงพัฒนายาก เมื่อครูพัฒนายากนักเรียนก็พัฒนายาก  เราจะพัฒนาเด็กเก่งได้ไม่มากหรอกครับ แล้วปัญหาต่างๆ มันถึงตามมามากมาย  ปัจจุบัน  สพฐ  สพท มุ่งเน้นผลงาน พยายามสร้างงานให้ตนเอง  ก็ส่งผลมาที่โรงเรียน  ผู้บริหารอยากได้ผลงานเพื่อทำเรื่องย้ายก็สั่งครูทำตอบสนอง  เอาขั้นเงินเดือนมาล่อ  เป็นต้น  โรงเรียนเลยพัฒนาตนเองไม่เป็นไม่ต้องคิดทำอะไร  คิดแต่เพียงว่าจะตอบสนอง เขตอย่างไร  สนอง สพฐ. อย่างไร  ฯลฯ  แค่นี้ก็ผิดแล้ว    ครูปัจจุบันจบ  ป.โทมากมาย  และก็เริ่มจะจบ  ป.เอก มากขึ้น  แต่การศึกษาก็ไม่ไปไหน  เพราะมุ่งหวังแต่ ปริญญา เพื่อเป้าหมายต่ออนาคตตนเองต่อไป   เป้าหมายเพื่ออนาคตเด็กก็พอมีบ้าง  เพราะโอกาสภาระงานของครูไม่เอื้ออำนวย เรียนจบ ป.โทมาก็ไม่สามารถจะวิจัยอะไรได้  ไม่รู้ว่าจะเอาเวลาที่ไหนมาวิจัย  ดังนั้นภาระงานของอาจารย์  และภาระงานของครู  ให้ดูที่ตัว  นักเรียน และตัวนักศึกษาเป็นหลักก็พอ  ถ้ามีปัญหาที่ทั้งสองก็ให้เขาแก้ปัญหา จะอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้อาจารย์และครู เถอะครับ   

เห็นด้วยครับ อาจารย์ ;)...

พิมพ์เดียวทั้งประเทศ ดูตลกดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท