การขยายพืชโดยการติดตา


การขยายพืชโดยการติดตา

การติดตายาง
 

การขยายพันธุ์ยางอุปกรณ์วิธีการการตรวจผลการนำไปใช้ปรโยชน์ข้อควรระวัง
การติดตาแบบตัวที (T. budding)การติดตาแบบชิพ (chip budding)การติดตาแบบเพลท (Plate budding)

          การขยายพันธุ์ยางด้วยวิธีการติดตาเขียว  เป็นวิธีการใหม่ที่พบครั้งแรกในรัฐซาบาร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อ พ.ศ.2503 หลังจากนั้นได้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการให้ดีขึ้น จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจและเป็นวิธีที่ดีกว่าการติดตาสีน้ำตาลแปลงยางตาเขียว

ข้อดีของการการติดตาเขียว การขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตาเขียวมีข้อดีอยู่หลายประการ

ทำการติดตาได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และให้ผลสำเร็จสูงถึง 95%
เสียค่าใช้จ่ายน้อย
สามารถผลิตต้นตอตาได้จำนวนมากและรวดเร็ว
ในการดำเนินงานในแปลงกล้ายาง แปลงกิ่งตา ทำได้ง่ายสะดวก และรวดเร็ว
ต้นยางติดตาเขียวสามารถกรีดเอาน้ำยางได้ก่อนต้นยางติดตาสีน้ำตาล
 

กลับสู่ด้านบนอุปกรณ์ในการติดตาเขียวกลับสู่ด้านบน
 

กิ่งตาเขียว1.ต้นตอ (ต้นกล้ายาง) จะต้องเป็นต้นตอที่สมบูรณ์ เปลือกลอกง่าย อายุ 4 เดือนครึ่ง ถึง 8 เดือน เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 1.0-1.2 เซนติเมตร วัดที่ความสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร
2.กิ่งตาเขียว ต้องเป็นกิ่งตาเขียวที่สมบูรณ์และมีฉัตรยอดสีเขียวแก่ อายุประมาณสัปดาห์ กิ่งตาเขียว 1 กิ่งโดยเฉลี่ยจะมีตาที่นำไปใช้ได้ 3-5 ตา
3.มีดติดตา ต้องเป็นมีดที่มีใบมีดบางและคม อาจใช้มีดตัดโฟม หรือมีดอื่นๆ
4.ถุงพลาสติก สำหรับใช้บรรจุกิ่งตา
5.พลาสติกใส ใช้สำหรับพันต้นตอในเวลาติดตา มีขนาดกว้าง 1.5 เซนติเมตร หนา 0.05 เมตร ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
6.เศษผ้า ใช้สำหรับทำความสะอาดโคนต้น และกิ่งตา
7.หินลับมีด ใช้สำหรับลับมีดติดตา
8.กรรไกร ใช้สำหรับตัดกิ่งตา และต้นตอ
9.กล่องใส่เครื่องมือ ใช้สำหรับบรรจุเครื่องใช้ต่างๆ ในการติดตา

กลับสู่ด้านบนวิธีติดตาเขียวกลับสู่ด้านบน
 

1.ใช้เศษผ้าทำความสะอาดบริเวณโคนต้น
2.ใช้ปลายมีดกรีดเปลือกของต้นตอในแนวดิ่ง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร 1 ใน 3 ของลำต้น รอยกรีดมีความยาว 5-7 เซนติเมตร โดยให้รอยกรีดด้านล่างชิดพื้นดินมากที่สุด
3.ตัดขวางรอยกรีดทั้งสองที่ปลายสุดด้านบนให้ต่อถึงกัน แล้วค่อยๆ ลอกเปลือกที่ตัดออกเบาๆ ลงข้างล่างจนสุดรอยกรีด ตัดเปลือกที่ดึงออกให้เหลือลิ้นยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร
4. ทำความสะอาดกิ่งตาแล้วใช้ใบมีดคมๆ เฉือนแผ่นตา เริ่มจากปลายกิ่งไปหาโคนให้ติดเนื้อไม้บางๆ และสม่ำเสมอ ยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร
5.แต่งริมแผ่นตาทั้งสองข้างให้เล็กกว่ารอยแผลที่เตรียมไว้เล็กน้อย
6.ค่อยๆ ลอกแผ่นตาออกจากเนื้อไม้ จับแผ่นตาให้แน่นพยายามอย่าให้แผ่นตาโค้งหรืองอเพราะจะทำให้แผ่นตาช้ำ
7.ตัดบริเวณส่วนโคนของแผ่นตาออกเล็กน้อย รีบสอดแผ่นตาลงในรอยแผลบนต้นตอที่เตรียมไว้ โดยสอดลงในลิ้น ตรวจดูแผ่นตาที่สอดลงไป จะต้องให้ตาอยู่เหนือก้านใบและอยู่ตรงกลางรอยแผลด้วย
8.ใช้พลาสติกใสพันทับจากด้านล่างขึ้นด้านบน และพันขึ้นเรื่อยๆ รอยที่พันจะต้องให้ส่วนของพลาสติกทับกัน พันขึ้นจนเกือบถึงรอยแผลด้านบน ใช้มีดตัดแผ่นตาส่วนที่เกินจากรอยผลทิ้ง โดยให้ต่ำจากรอยแผลด้านบนเล็กน้อย จากนั้นพันพลาสติกต่อไปจนเลยรอยแผลประมาณ 2-3 รอบ จึงทำเงื่อนผูกโดยสอดปลายพลาสติกเข้าไปในห่วงรอบสุดท้ายแล้วถึงให้แน่น
 

กลับสู่ด้านบนการตรวจผลการติดตากลับสู่ด้านบน
 

1. หลังจากการติดตาแล้ว 3 สัปดาห์ ให้ทำการตรวจดูผล ถ้าแผ่นตายังมีสีเขียวอยู่แสดงว่าติดตาเป็นผลสำเร็จ
2. ใช้ปลายมีดคมกรีดลงบนพลาสติด้านข้างของต้นตอ แกะพลาสติกออก
3. ต้นที่มีแผ่นสีคล้ำแสดงว่าการติดตาไม่เป็นผลสำเร็จ ใช้ปลายมีดคมกรีดบนพลาสติกด้านหน้าแผ่นตา ส่วนอีกด้านของต้นตอไว้สำหรับติดตาซ้ำได้อีกครั้ง
 

กลับสู่ด้านบนการนำต้นตอตาไปใช้ประโยชน์กลับสู่ด้านบน
 

1. หลังจากกรีดพลาสติกออกควรทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนตัดยอด
2. ตัดยอดต้นตอตาเหนือรอยที่ติดตาขึ้นไปประมาณ 5 เซนติเมตร
3. ให้รอยตัดลาดเอียงลงทางด้านตรงข้ามแผ่นตา
4. ถ้าตัดยอดในแปลงปลูก ตาจะแตกออกมาภายใน 15-30 วัน
5. ถ้าถอนต้นตอตาไปปลูกที่อื่นตาจะแตกออกมาภายใน 1-2 เดือน
ุ6. ถ้าติดตาสำเร็จแล้วไม่ตัดยอดสามารถปล่อยทิ้งไว้ในแปลงได้ประมาณไม่เกิน 1 ปี
 

ยางตาเขียว

กลับสู่ด้านบนข้อควรระวังในการติดตาเขียวกลับสู่ด้านบน
 

1. มีดต้องคมอยู่เสมอ
2. ต้นกล้าและกิ่งตาจะต้องสมบูรณ์
3. หลีกเลี่ยงการติดตาในระหว่างที่ฝนกำลังตก
4. ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเร็วและความชำนาญูของผู้ติดตา
5. แสงแดดมีผลต่อความสำเร็จในการติดตาเขียวจึงต้องใช้พลาสติกใสพัน
6. อย่าใช้แผ่นตาช้ำ ตากุ้ง ตาบริเวณกลุ่มใบที่ไม่มีไข่ตา แผ่นตาสกปรก และแห่ง
ึ7. พันแผ่นตาให้แน่น
8. อย่าติดตาในเวลาอากาศร้อนจัด
 


กลับสู่ด้านบนการติดตาแบบตัวที (T. budding)กลับสู่ด้านบน


การติดตาแบบตัวที (T. budding) สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาต้นพืชแบบตัวที
๑. ต้นตอจะต้องมีเปลือกล่อนสามารถลอกเปลือกต้นตอได้ง่าย
๒. ต้นตอไม่ควรมีขนาดโตเกินไป ควรจะมีขนาดเท่าดินสอดำหรือมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณไม่เกิน ๑/๒ นิ้ว
๓. ไม่เป็นพืชที่มีเปลือกบาง หรือเปลือกเปราะ หรือมีเปลือกหนาเกินไป
๔. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชทั่ว ๆ ไป เช่น ใช้กับกุหลาบ พุทรา ส้ม เป็นต้น
วิธีติดตาแบบตัวที
ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ
๑. เลือกต้นตอบริเวณที่เป็นปล้องแล้วกรีดเปลือกให้ถึงเนื้อไม้เป็นรูปตัวที (T) โดยให้หัวของตัวทีที่กรีดยาวประมาณ ๑/๒ นิ้ว และความยาวของตัวทียาว 1 -1.1/2 นิ้ว ทั้งนี้แล้วแต่ขนาดของต้นตอ
๒. ใช้ปลายมีดแงะบริเวณหัวตัวทีให้เปลือกเผยอเล็กน้อย แล้วล่อนเปลือกของต้นตอด้วยปลายเขาที่ติดอยู่ที่ด้ามมีด
ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี
๑. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่ให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อย ในกรณีที่พืชนั้นมียางควรจะลอกเนื้อไม้ทิ้งเพื่อให้มีบริเวณของการเกิดรอยต่อมากขึ้น
ค. การสอดกิ่งพันธุ์ดีบนต้นตอ
๑. สอดแผ่นตาลงบนแผลรูปตัวทีที่เตรียมไว้ แล้วค่อย ๆ กดแผ่นตาลงไปในแผลให้สนิทและลึกราว ๑/๒ นิ้ว เหนือตา
๒. ถ้าเปลือกแผ่นตายังเหลือเลยหัวตัวทีให้ตัดส่วนที่เหลือออกพอดีกับหัวตัวที
๓. ใช้ผ้าพลาสติกที่ตัดเป็นชิ้นขนาดกว้าง ๑-๑.๕ ซม. ยาวราว ๒๐-๒๕ ซม. พันทับแผ่นตาให้แน่น และควรพันจากข้างล่างขึ้นข้างบน
๔. หลังจาก ๑๐ วัน จึงตรวจ ถ้าตาใดยังสดก็แสดงว่าติด จึงเปิดผ้าพันตาแล้วพันใหม่ให้คร่อมตา
 

กลับสู่ด้านบนการติดตาแบบชิพ (chip budding)กลับสู่ด้านบน


การติดตาแบบชิพ (chip budding) สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบชิพก็คือ
๑. เป็นวิธีที่ใช้ในการติดตาต้นพืชที่ลอกเปลือกไม่ได้ เป็นพืชพืชที่มีเปลือกบางหรือเปลือกหนาหรืออยู่ในระยะพักตัว
๒. มักใช้กับพืชที่ไม่มียาง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นตอประมาณ ๒/๓ -๑/๒ นิ้ว
๓. มักใช้ในการติดตา องุ่น ชบา ฯลฯ
วิธีติดตา ปฏิบัติดังนี้ (modified chip)
ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ
๑. เลือกต้นตอที่เปลือกติด หรือที่ชะงักการเจริญ
๒. เฉือนต้นตอเฉียงลงให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย และยาวประมาณ ๑ นิ้ว
๓. เฉือนตัดขวางให้จดโคนแผลที่เฉือนครั้งแรก โดยให้รอยเฉือนนี้ทำมุม ๔๕ องศา กับลำต้นแล้วแกะชิ้นส่วนของพืชที่เฉือนออก
ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี
เฉือนแผ่นตาบนกิ่งพันธุ์ดีให้มีความยาวเท่ากับรอยแผลที่เตรียมบนต้นตอ โดยกะให้ตาอยู่ตรงกลางพอดี
ค. การสอดแผ่นตา
๑. ประกอบแผ่นตาบนต้นตอ โดยให้เยื่อเจริญด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านสัมผัสกับเยื่อเจริญของต้นตอ
๒. ใช้ผ้าพลาสติกพันตา เช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวที
 

กลับสู่ด้านบนการติดตาแบบเพลท (Plate budding)กลับสู่ด้านบน


การติดตาแบบเพลท (Plate budding) สิ่งที่ต้องพิจารณาในการติดตาแบบเพลท คือ
๑. มักใช้กับต้นตอที่มีขนาดโต คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว ๑/๒ - ๑ นิ้ว
๒. ต้นตอต้องลอกเปลือกได้หรือมีเปลือกล่อน
๓. เป็นพืชที่มีเปลือกหนาและเหนียวพอสมควร
๔. นิยมใช้กับพืชมียาง เช่น มะม่วง ขนุน ยางพารา หรือพืชบางชนิดที่เกิดเนื้อเยื่อช้า เช่น มะขามหรือน้อยหน่า เป็นต้น
วิธีติดตาแบบเพลท
ก. การเตรียมแผลบนต้นตอ
๑. เลือกต้นตอบริเวณที่จะทำแผลให้เป็นปล้องที่เรียบและตรง
๒. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าฐานเปิดดังภาพ
๓. เผยอเปลือกต้นตอออกจากเนื้อไม้ ทางด้านบนหรือด้านล่างของรอยกรีด แล้วลอกเปลือกขึ้นหรือลงตามรอยกรีดที่เตรียมไว้แล้ว
ข. การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี
เฉือนแผ่นตากิ่งพันธุ์ดีให้เป้นรูปโล่ ยาวประมาณ 1 นิ้ว แล้วแกะเนื้อไม้ออก
ค. การสอดแผ่นตาบนแผลของต้นตอ
๑. ประกบแผ่นตาลงบนแผลของต้นตอ จัดแผ่นตาให้อยู่กลางแผลแล้วประกอบแผ่นเปลือกของต้นตอทับแผ่นตา แต่ถ้าใช้ตาอ่อนจะต้องตัดแผ่นเปลือกต้นตอตอนบนออก ๓ ส่วนเหลือไว้ ๑ ส่วน
๒. พันผ้าพลาสติกเช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวทีหรือแบบชิพ และต้องใช้พลาสติกใส เมื่อใช้ตาอ่อน


Best viewExplorer 5.5 or later at resolution 800x600,1024x768 pixels
Copy Right © 2003 - Rubber Estate Organization - All Rights Reserved. Contact reothai@reothai.co.th

หมายเลขบันทึก: 428554เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท