พระราชดำรัสเกี่ยวกับหญ้าแฝก


พระราชดำรัสเกี่ยวกับหญ้าแฝก

เพราะต้องทำงานวิจัยเกี่ยวกับหญ้าแฝก
ครูแอ้.....ก็เลยต้องทำความรู้จัก
และสร้างความสนิทสนมกับหญ้าแฝกให้ได้
จากการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ต พูดคุย สอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ
ทั้งแบบใกล้ชิดและผิวเผิน (กับหญ้าแฝก)
โดยถือว่าเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการก็แล้วกัน

จนในที่สุดครูแอ้...ก็สืบค้นจนได้พบข้อมูลที่มีคุณค่าที่สุดเกี่ยวกับหญ้าแฝก
ซึ่งเป็นพระราชดำรัสของพระบาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่เกิดจากการศึกษาทดลองตลอดระยะเวลาอันยาวนานของพระองค์ท่าน
ซึ่งจะขออนุญาตนำเสนอเป็นบางส่วน ดังนี้

“...การปลูกแฝกเป็นแนวความคิดใหม่ อยากจะให้ปลูกโดยไม่ต้องหวังผลอะไรมากนัก
แต่ผลที่ได้จะดีมากและการปลูกไม่จำเป็นต้องไปปลูกในที่ของเกษตรกร
ขอให้ปลูกกันในสถานที่พัฒนาที่ดินเพื่อเป็นแบบอย่าง เพื่อคัดพันธุ์
หาพันธุ์ที่ดีที่ไม่ขยายพันธุ์โดยออกดอก
ต้องดูว่าปลูกแล้วมีพันธุ์ไหนที่ทนแล้งในหน้าแล้ง ผักเขียวอยู่ก็ใช้ได้
โดยขอให้ปลูกก่อนฤดูฝน จะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ข้างเคียงเห็น...”

 “...หญ้าแฝกมีคุณลักษณะที่เหมาะสมในการจัดระบบอนุรักษ์ดิน
โดยการปลูกเป็นแนวรั้วกั้นตามระดับชั้น
และได้มีการศึกษาทดลองใช้อย่างได้ผลดี ในประเทศแถบเอเชียหลายประเทศแล้ว...”

“...ให้ดำเนินการปลูกหญ้าแฝก ซึ่งจะช่วยทั้งการอนุรักษ์ดินและน้ำ
โดยรากของหญ้าแฝกจะอุ้มน้ำไว้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน
อันจะสามารถปลูกพืชอื่นเช่นข้าวโพดหรือต้นไม้ยืนต้นอื่นๆ
ในบริเวณที่ปลูกหญ้าแฝกได้...”

“...การปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวาง
ของความลาดชัน และในร่องน้ำของภูเขา
เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และช่วยเก็บความชื้นในดินไว้ด้วย...”

“...การปลูกหญ้าแฝกเหนือแหล่งน้ำ เพื่อเป็นแนวป้องกันตะกอน
และดูดซับสารเคมีตลอดจนของเสียต่างๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำ
เพราะหญ้าแฝกจะดูดซึมสารพิษต่างๆ ไว้ในรากและลำต้นได้นาน
จนสารเคมีนั้นสลายตัวเป็นปุ๋ยสำหรับพืชต่อไป...”

“...ให้เร่งดำเนินการปลูกหญ้าแฝกให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ภายใน ๒ ปี
ถึงแม้การดำเนินงานอาจจะสิ้นเปลืองงบประมาณบ้างก็ควรได้ดำเนินการ...”

จากผลการศึกษาและการปฏิบัติที่ได้ผลอย่างชัดเจน
จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า
“ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม”

ทาง IECA (International Erosion Control Association )
จึงมีมติถวายรางวัลThe International Erosion Control
Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและนํ้า
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536

และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2536
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก
ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแผ่นเกียรติบัตร
เป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ
(Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
และผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก

จากข้อมูลที่ครูแอ้นำมาเล่าสู่กัน
เริ่มเชื่อมต่อและเสริมสร้างมิตรภาพอันดีไปสู่ "หญ้าแฝก" ได้บ้างหรือยังคะ

ที่มา :

http://www.huaysaicenter.org/vetiver_grass.php

หมายเลขบันทึก: 428528เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครูป้อมนะคะ ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน
จำชื่อโรงเรียนลำปลายมาศ พัฒนาได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
เพราะเป็นโรงเรียนที่น่าสนใจมาก ได้ทราบข้อมูลของโรงเรียนบ้าง
จากการเรียนวิชาสัมมนาหลักสูตรและการสอน ตอนเรียนปีแรกที่ ม ศิลปากร
 
แต่ เอ ที่โรงเรียนยังมีพื้นที่ว่าง พอจะชวนเด็กและผู้ปกครองปลูกหญ้าแฝกกันบ้างมั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท