รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

วัฒนธรรมประชาธิปไตย ต้องให้การศึกษา


 

 

         การเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยในวันนี้ต้องถือว่า มีความสำคัญมากที่สุด  แม้รัฐธรรมนูญจะระบุ ให้อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทยแล้วก็ตาม  การมีพรรคการเมืองก็มักมีเหตุให้เปลี่ยนแปลงเลือกข้างกันอยู่บ้าง  จนไม่เชื่อว่าความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตยนั้นตรงกันหรือไม่ เพราะเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้น  มักมีเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงและล้มกระดานประชาธิปไตยกันอยู่เสมอทั้งวิธีปฏิวัติ รัฐประหาร ปฏิรูป ยึดอำนาจ และขับไล่ ซึ่งผ่านมาแล้วทุกวิธีการ 
         

       ดังนั้น ผู้แทนประชาชน ในความหมายของรัฐธรรมนูญนั้น จึงมีวัฒนธรรมที่มีรูปแบบให้เป็นนักการเมืองสังกัดพรรคการเมือง หากพรรคการเมืองฟังเสียงประชาชนก็ย่อมจะชอบธรรม  จึงถามว่าหากประชาชนสนับสนุนพรรคการเมืองใดจำนวนมาก ก็หมายความว่าประชาชนให้อำนาจในการบริหารประเทศ จริงหรือไม่  และการเปลี่ยนแปลงข้างเพื่อให้มีเสียงมากพอ จัดตั้งรัฐบาลได้นั้นเป็นเสียงของประชาชนที่ต้องการหรือไม่  ทุกวันนี้ไม่มีคำตอบในเชิงปฏิบัติ  แต่คุณธรรมอันเป็นวัฒนธรรมของประชาธิปไตยที่ถูกต้องนั้น  จึงควรให้ความรู้ในเรื่องประชาธิปไตย ที่แท้จริงมากขึ้น  ทำให้นึกไปถึงหม่อมเจ้ารพีพัฒน์  รัชนี  ซึ่งเขียนเรื่องประชาธิปไตยที่แท้จริง  จากประเทศต้นแบบ  คือ  อังกฤษ เพราะมีประโยชน์ต่อการสร้างวัฒนธรรมการเมืองในแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

 

 

 

       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๗  ทรงสละราชสมบัติพร้อมกับมีลายพระราชหัตถเลขาที่พระองค์ มีพระราชประสงค์มอบอำนาจให้กับประชาชนเป็นวรรคทองของประชาธิปไตยเมืองไทย

 "ข้าพเจ้า มีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่ว ไป แต่ข้าเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชา ราษฎร"  

 แต่ถ้าได้ศึกษาจากพระราชหัตเลขา ทั้งฉบับแล้ว จะมองเห็นปัญหาในประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในเมืองไทย และเพื่อความเข้าใจในวัฒนธรรมของประชาธิปไตยนั้นพระองค์ได้มีพระราชบันทึกเรื่อง  ระบอบประชาธิปไตยในประเทศสยาม (Democracy in Siam) อธิบายไว้ว่า

Large_cats9925

          ระบอบประชาธิปไตย     อาจถึงกับเป็นอันตรายต่อประโยชน์อันแท้จริงของประชาชนลองคิดดูก็ได้ทันทีว่าการปกครองระบอบรัฐสภานั้นจะเป็นอย่างไรในประเทศสยามแล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดกันถึงขั้นรายละเอียดข้าพเจ้าจะขอเอ่ยถึงความจริงข้อหนึ่งคือ  พรรคการเมืองของคนจีนจะมีอำนาจเหนือรัฐสภาเราอาจไม่ให้สิทธิÏทางการเมืองอย่างไรแก่คนจีนก็ได้   แต่เขาก็จะมีอำนาจเหนือสถานการณ์อยู่นั่นเองเพราะเขามีเงินสดอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก  พรรคการเมืองใดซึ่งตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินทุนจากคนจีนจะไม่มีวันทำการสำเร็จได้ 

             เพราะฉะนั้นการเมืองในประเทศสยามจะอยู่ใต้อำนาจพ่อค้าคนจีนซึ่งจะเป็นผู้สั่งการที่พูดมานี้มีทางที่จะเป็นไปได้อย่างยิ่งเราอาจหาเหตุผลต่างๆเป็นจำนวนมากได้โดยง่ายในอันที่จะสนับสนุนความคิดที่ว่าประเทศสยามไม่ควรมีรัฐบาลระบอบรัฐสภาเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเราก็ควรจะถามว่า ถ้าอย่างนั้นจะมาคิดเรื่องระบอบประชาธิปไตยกันทำไมเล่า คำตอบปัญหานี้ก็คือ

เราจะต้องจดจำไว้เสมอว่าประชาชนส่วนใหญ่่นั้นมิได้คิดด้วยเหตุผลแต่

คิดด้วยอารมณ์เท่านั้น 

เรื่องนี้เป็นความจริงโดยพิเศษสำหรับฝูงชนทั่วไป  จะมีวันหนึ่งซึ่งประชาชนชาวสยามจะเรียกร้องเอารัฐสภา(ในขณะนี้ก็มีร่องรอยเช่นนั้นแล้วในกรุงเทพมิใช่หรือ?)ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะอธิบายแม้แต่ด้วยเหตุผลอย่างดีที่สุด  ว่า

การปกครองระบอบรัฐสภานั้นไม่เหมาะสมต่อคุณสมบัติในทางเผ่าพันธุ์ของชาวสยาม

 เขากลับจะพากันตะโกนดังขึ้นไปอีกว่าเขาถูกกดขี่ด้วยชนชั้นปกครองที่เป็นทรราชย์และอาจมีความวุ่นวายบางประการเกิดขึ้นได้(ในระยะเวลาปัจจุบันนี้  ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะมีชาวสยามผู้ใดที่พร้อมจะเสียสละชีวิตของเขาเพื่อความเชื่อถือในทางการเมือง)

        ประเทศบางประเทศอาจนำเอาระบอบประชาธิปไตย มาใช้เพียงเพื่อความจำเป็นก็ได้  ทั้งที่รู้ดีอยู่ว่าระบอบนั้นไม่เหมาะสมกับนิสัยใจคอของประชาชน  ด้วยเหตุนี้จึงมีประเทศบางประเทศที่มีรัฐสภาเป็นการเล่นๆ  ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการแน่นอนแล้วที่เราจะต้องเล่นกันอย่างนั้นบ้างในประเทศสยามในเวลาข้างหน้า  ด้วยความคิดคำนึงเหล่านี้อยู่ในใจข้าพเจ้า จึงกำลังพิจารณาการปฏิรูปบางอย่างขึ้น 

         ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าถ้าเรายอมรับกันว่า    วันหนึ่งเราจะต้องถูกบังคับให้มีประชาธิปไตยบางแบบขึ้นในประเทศสยามแล้ว เราก็ต้องเตรียมของเราเองให้พร้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป  เราจะต้องเรียนรู้และให้การศึกษาแก่ตนเอง เราจะต้องเรียนทดลอง เพื่อที่จะได้มีความคิดว่าการปกครองระบอบรัฐสภานั้น  จะดำเนินการได้อย่างไรในประเทศสยาม

 เราจะต้องพยายามให้การศึกษาแก่ประชาชนให้เขามีการรับรู้ในทางการเมือง ให้เขารู้จักผลประโยชน์อันแท้จริงของเขาเพื่อที่เขาจะไม่ถูกชักนำไปในทางที่ผิดโดยนักปลุกระดมหรือผู้ที่เอาแต่ฝันถึงยุคพระศรีอารย์

         ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภากันแล้วเราก็จะต้องสอนให้ประชาชนรู้จักเลือกตั้ง
ว่าทำกันอย่างไรและรู้จักเลือกผู้แทนผู้ซึ่งเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนอยู่ในใจอย่างแท้จริง

          พระราชบันทึกฉบับนี้  จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จ   พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาที่ใหประชาชนได้รับรู้ในทางการเมือง  และรู้จักผลประโยชน์อันแท้จริง เพื่อป้องกันการชักจูงไปในทางที่ไม่ชอบในระบอบประชาธิปไตย

บทเรียนของการเลือกตั้งที่ประชาชนตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนนั้นเป็นเสียงของประชาธิปไตยที่แท้จริง  โดยปราศจากการชักจูงหรือทุจริตเลือกตั้ง  การทำผิดในการเลือกตั้งแม้จะมีบทลงโทษ อยู่บ้าง  แต่ก็ไม่มีหนทางใดเลยที่จะป้องกันการทุจริตเลือกตั้งไดทั้งหมด 

          วัฒนธรรมประชาธิปไตยในวันนี้  จึงอยู่ที่ประชาชนพร้อมใจเลือกตั้งกันด้วยความบริสุทธิ์ใจ  เพื่อให้ทุกคะแนนเสียงนั้น มีคุณค่า การตัดสินด้วยความเป็นธรรมและไม่เลือกข้าง  จึงมีความจำเป็นต่อการสร้างวัฒนธรรมของประชาธิปไตย    เพราะเป็นการยอมรับเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งส่วนมาก  ในทางกลับกันการต่อสู้ทางการเมืองที่ให้โอกาสฟ้องร้องกล่าวหากัน  มีผลที่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบจากการมพรรคการเมือง  และหากประชาชนรวมตัวร้องเรียนถอดถอนก็ทำได้ตามรัฐธรรมนูญ  ประชาธิปไตยทุกวันนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ   ที่ให้โอกาสประชาชนเฝ้าระวังดูแลและมีส่วนร่วมมากขึ้น 

         วัฒนธรรมของประชาธิปไตยวันนี้เริ่มห่างจากประเทศต้นแบบมากขึ้น...

หากยังให้การศึกษาไม่พอรู้พอใช้...ก็จะมีแตความเป็นครึ่งๆ  กลางๆ 

ที่มีพรรคการเมืองในรัฐสภา...ทำไม   ไม่คิดจะเลิกระบบพรรคการเมืองเสียหรือทำให้เกิดผู้แทนของประชาชนที่แท้จริงขึ้น

  จะได้พูดได้เต็มปากว่าเป็นผู้แทนของประชาชน  ไม่ใช่ผู้แทนของพรรคโน้นพรรคนี้...ทั้งๆ  ที่ประชาชนเลือกตั้งมากับมือ 

นักการเมืองทำหน้าที่ไม่โปร่งใสก็ใช้สิทธเรียกร้องได้กลางถนน  เป็นการแสดงออกและการมีส่วนร่วม จึงง่ายดีสำหรับวัฒนธรรม (ไร้) รูปแบบประชาธิปไตยไทยๆ 

 

 

    บทความจาก วารสารวัฒนธรรมไทย  ฉบับเดือน เมษายน 2552  

หมายเลขบันทึก: 428459เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2011 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วัฒนธรรมประชาธิปไตยไทยล้มเหลว      พรรคการเมืองเลวของนายทุนขุนสร้างไว้

นักการเมืองของนายทุนขุนนำไป            เพื่ออำนาจรับใช้เพียงนายทุน

พรรคการเมืองของประชาชนอยู่หนไหน  ไม่เคยมีใช่ไหมได้แค่ศูนย์

ประชาชนไม่เข้าใจไม่เกื้อกูล                  หลงเทิดทูนพวกนายทุนถอนทุนไป

คูณกำไรอีกมากมายหลายร้อยเท่า          เข้ากระเป๋าเข้าเซพเก็บเอาไว้

หลายสิบปีที่เผด็จการผลาญเมืองไทย      เงินสูญหายจากแผ่นดินหมดสิ้นตัว

ดั่งที่ว่านายทุนจีนกินแทบหมด                ร่วมคนคดขี้ฉ้อล่อส่วนหัว

จนพุงกางฟาดไปใกล้หมดตัว                 พวกเรามัวเก็บกินก้างซากเมืองไทย

เพราะอำนาจคนเพียงกลุ่มรุมกินโต๊ะ        เอาแต่โจ๊ะพรึ่มพรึมดูดดื่มใหญ่

เปิดบุพเฟ่ต์คาบิเนตประเทศไทย             เป็นรัฐบาลแต่ละสมัยโทรมไทยพัง

รุมข่มขืนประเทศไทยไม่เหลือซาก          ฉุดกระชากเหยียบย่ำซ้ำบ่อยครั้ง

ทนไม่ไหวประเทศไทยคงพ่ายพัง            เตือนอีกครั้งคำสุดท้ายไทยร่วมกัน          


  • สวัสดีครับพี่อิง
  • ประชาธิปไตยที่ดี ประชาชนต้องมีปัญญา การศึกษาต้องเข้มแข็งไม่งั้นจะไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมนักการเมืองที่แพรวพราว ดุจปลาไหลใส่เสก็ต การเป็นประชาธิปไตยที่ถูกล่อลวง เป็นแบบพวกมากลากไป และซื้อเสียงได้เพราะ ประชาชนยังยากจน ทุนนิยมที่แอบแฝงประโยชน์ จึงเข้ามาเพื่อกอบโกย โดยอ้างอะไรก็เพื่อ ปปช.ครับ

สวัสดีค่ะคุณวิโรจน์Ico48

ขอบพระคุณดอกไม้กำลังใจ      ทั้งบรรยายเติมเต็มแบบเข้มจัด

อยากเห็นดอก "ประชาธิปไตย" ในภาครัฐ    ฤาวิบัติ ยากเข็ญ ยากเป็นไป

ฤาเป็นเช่นดอกลำดวนที่ด่วนจาก       ฤาเป็นเพียงดอกกาฝากไร้ความหมาย

เมื่อไหร่หนอได้ผู้แทนแทนคนไทย    อีกเมื่อไหร่ได้คนดีศรีบ้านเมือง

ที่เป็นอยู่ เพียงประโยชน์ของพวกพ้อง      ที่กู่ร้อง เพียงเพื่อพรรค ยักษ์ฟูเฟื่อง

เมื่อไหร่หนอจะเพียงพอพวกกินเมือง        เมื่อไหร่หนอแดงเหลืองเลิกกัดกัน

เคยได้ฟัง "ประเทศไทยมิสิ้นคนดี"         เขาหลบลี้หายไปไหนคนดีนั่น

ฤาคนดี เบื่อทำดี ทุกวี่วัน                     ปล่อยสามานย์เพ่นพ่านแทะกินเมือง                 

สวัสดีค่ะน้องชำนาญIco48

  • เห็นด้วยกับน้องชำนาญค่ะ
  • ทุกวันนี้เรามิได้มีผู้แทนที่เป็นตัวแทนประชาชนเข้าไปบริหารบ้านเมืองเลยนะคะ
  • เราเลือกเขาเข้าไปเป็นเจ้านายของเรา 
  • สิ่งที่ผู้แทนคำนึงถึงมากที่สุดเห็นจะเป็น ผลประโยชน์ของตน ผลประโยชน์ของพวกพ้อง
  • และที่สำคัญ เขาเป็นตัวแทนพรรคการเมืองที่เขาสังกัดอยู่ พยายามทำเพื่อผลประโยชน์ของพรรคตน 
  • ใคร่ครวญ วางแผนการ ว่า รัฐบาลนี้ สมาชิกพรรคจะได้ตำแหน่งใดบ้าง ได้กี่เก้าอี้
  • พูดแล้วยาวนะคะ เรื่องการเมืองเนี่ย ครูอิงเลยจัดสรรพื้นที่ไว้บล้อกหนึ่งเลยค่ะ
  • บล้อกนี้ยกให้เรื่องการเมืองและเรื่องของประชาธิปไตยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท