การแก้ไขปัญหาหัวนมสั้นในมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


การแก้ไขปัญหาหัวนมสั้นในมารดาหลังคลอดที่ต้องให้นมบุตร เป็นกิจกรรมพยาบาลที่มีความสำคัญเนื่องจาก ช่วยให้บุตรได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ ช่วยลดอาการบาดเจ็บที่หัวนมแม่ระหว่างให้นมบุตร และช่วยส่งเสริมอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 6 เดือนหลังคลอด (ECBF) ตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 9 ซึ่งกำหนดให้มารดาทุกคนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนไม่น้อยกว่าร้อยละ30

ชื่อเรื่อง         ผลการแก้ไขปัญหาหัวนมสั้นในมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่   กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลโพธาราม พ.ศ. 2553

                   The  Result  of  Improvement  in  Maternal  of  Nipple's Trouble  to  Breast  feeding  In Obstetrics & Gynecology Department, Photharam Hospital, 2010

ชื่อผู้วิจัย      ภาวนา  พุกภูษา, ชลลดา คูสุวรรณ, กุลวดี  ตาปะสี   และพรรณี  ลีลาคงกระพันธ์

                   หอผู้ป่วยสูตินรีเวช โรงพยาบาลโพธาราม

                   ผลการวิจัยพบว่าในกลุ่มมารดาหัวนมสั้นจำนวน 148 ราย  หลังการแก้ไขมีหัวนมสั้นน้อยลงจำนวน 97 รายคิดเป็นร้อยละ 65.54   สามารถให้บุตรดูดนมแม่ได้จำนวน 142 รายคิดเป็นร้อยละ 95.26 และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนหลังคลอดจำนวน 32 รายคิดเป็นร้อยละ 21.63

                  สรุปได้ว่า  รูปแบบใหม่ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นดีกว่ารูปแบบเดิมเนื่องจาก มีรูปแบบการดำเนินงานที่ดี  มีการวางระบบงาน มีแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มีการทำงานเป็นทีมอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ได้เสนอแนะให้ดำเนินการรูปแบบใหม่ต่อไปให้ต่อเนื่องและครอบคลุมทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จนเป็นรูปแบบตัวอย่าง โดยใช้แนวทางของการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย รวมทั้งควรนำไปประยุกต์ใช้และขยายผลอย่างกว้างขวาง   ทั้งในหน่วยงานของโรงพยาบาลโพธารามและโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

                    

      รูปแบบของการดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหาหัวนมสั้น ของโรงพยาบาลโพธาราม

งานฝากครรภ์ (ANC)    นอกจากการซักประวัติ เจาะเลือด และการตรวจครรภ์ ตามภารกิจของหน่วยงานแล้ว ทีมงานให้ความสำคัญกับการตรวจหัวนม  เมื่อพบปัญหาหัวนมสั้น ได้กำหนดให้ส่งต่อไปรับการแก้ไขที่คลินิกนมแม่  ณ หอผู้ป่วยสูตินรีเวช

คลินิกนมแม่  หอผู้ป่วยสูตินรีเวช   ตรวจหัวนม – เต้านม – ลักษณะหัวนมจาก "เกณฑ์การประเมินความผิดปกติของหัวนมและลานนม"   ลงบันทึกใน "แบบบันทึกการช่วยเหลือมารดาเรื่องการให้นมแม่" และให้ความรู้เรื่องการให้นมแม่  แจกเอกสาร / แผ่นพับ   ดำเนินการแก้ไขหัวนม   ซึ่งจะแก้ไขให้ในมารดาที่มีอายุครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 2 คือ มากกว่า 3 เดือนและน้อยกว่า 7 เดือน   โดยการแก้ไขหัวนมดูตามลักษณะหัวนมที่ตรวจพบในแต่ละระดับ ดังนี้

ลักษณะและความยาวของหัวนม 

วิธีการแก้ไข 

  • หัวนมสั้นน้อย (grade 3)

- แนะนำการใช้มือดึงหัวนม

  • หัวนมสั้นปานกลาง (grade 2)

- แนะนำการใช้มือดึง   ร่วมกับอุปกรณ์การดึงหัวนม

  เช่น Nipple   Puller , Nipple   Shield , ประทุมแก้ว

  • หัวนมสั้นมาก (grade 1)

  • หัวนมบอด , บุ๋ม (grade 0)

 

และนัดติดตามประเมินผลการแก้ไขหัวนมเป็นระยะตามการนัดตรวจครรภ์ของแผนกฝากครรภ์  จนกระทั่งมารดาคลอดบุตร

                 

งานห้องคลอด  Early bonding เน้นการโอบกอด, สัมผัส, อมหรือดูดนมจากอกแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด   จนกระทั่งเฝ้าสังเกตอาการมารดาหลังคลอดจนครบ 2 ชั่วโมง ย้ายมารดาไปหอผู้ป่วยหลังคลอด

หอผู้ป่วยสูตินรีเวช ตรวจหัวนม เต้านม ลักษณะหัวนมมารดาหลังคลอด แล้วบันทึกใน "แบบบันทึกการช่วยเหลือมารดาเรื่องการให้นมแม่" ถ้าพบมารดาหลังคลอดมีความผิดปกติของหัวนม เช่น หัวนมสั้นให้ดำเนินการแก้ไขต่อด้วยวิธีการเดิมตามแนวทางการแก้ไขของคลินิกนมแม่   ลงบันทึกคะแนนการให้บุตรดูดนมแม่จากใบ "LATCH Score" ทุกวันและทุกเวร   จนกระทั่งจำหน่ายมารดาหลังคลอดกลับบ้านติดตามผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายหลังจำหน่ายมารดากลับบ้านแล้วที่ 7วัน , 14วัน , 1 เดือน, 2 เดือน , 4 เดือน , และ 6 เดือนหลังคลอด  

 โดย....กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลโพธาราม ราชบุรี

หมายเลขบันทึก: 428252เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท