บทความการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ


ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคต

บทความภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคต

ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่ผู้นำหรือผู้ที่มีภาวะผู้นำ เป็นผู้ที่ชักนำ จูงใจ ชี้นำ ใช้อิทธิพลหรืออำนาจที่มีอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้หรือกระตุ้นให้หรือชี้นำให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาให้ยินดี เต็มใจ พร้อมใจ ยินดีในการกระทำการ ให้มีความกระตือรือร้นหรือร่วมดำเนินการอย่าใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้นำต้องการหรือตามที่ผู้นำต้องการให้มีพฤติกรรมไปในทิศทางที่เขาชักนำในการทำงานหรือดำเนินกิจกรรมที่ผู้นำนั้นรับผิดชอบหรือตามที่ผู้นำนั้นต้องการ ซึ่งสิ่งที่ผู้นำในโรงเรียนในอนาคต ควรมีเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาภาวะผู้นำ อย่างน้อยน่าจะประกอบด้วยสิ่งสำคัญเหล่านี้ 
     1) ความสามารถเชิงวิสัยทัศน์ การวางแผนและการกำหนดเป้าหมายขององค์การ
     2) ความสามารถในการทำงานแบบมีส่วนร่วม 
     3) ความสามารถในการสื่อสารแบบมีประสิทธิผล
     4) ความสามารถในกาสร้างทีมงาน 
     5) ความสามารถในการดำเนินกระบวนการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม
     6) ความสามารถในการจัดการกับปัญหา 
     7) ความสามารถในเรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์และการริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงองค์การ

     เป็นบทความที่อธิบายถึงบทบาทและแนวทางในการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตที่ควรนำมาพิจารณา ในการบริหารงานในสถานศึกษา ว่ามีความสามารถในแต่ละด้านแล้วหรือยัง ซึ่งความสามารถเหล่านั้นเป็นความสามารถที่ ถ้าผู้บริหารคนใดมีมากก็จะทำให้บริหารงานในหน่วยงานของตนได้ดี

การนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน

     จากบทความภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคตนี้ แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้คือ นำเอาองค์ความรู้นี้ไปวิเคราะห์ว่ามีประเด็นใดที่สมารถจะดำเนินการได้ก่อน-หลังตามลำดับและนำไปส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษามีความสามารถในแต่ละด้านที่กล่าวถึง เพราะการเป็นผู้นำนั้นไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่เป็นผู้บริการสถานศึกษาเท่านั้น แต่บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาจะต้องมีความรู้และความสามารถดังกล่าวด้วย เพราะในบางสถานการณ์ก็ต้องเป็นผู้นำในบางเรื่องเช่นเดียวกัน ตามทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์ เพื่อการทำงานท่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพต่อไป

 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์การนำไปประยุกต์ใช้/ในหน่วยงาน

เป็นแนวทางในการนำเอาองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และนำเอาแนวทางและวิธีการในการพัฒนาบุคลากรไปพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าในในการจัดการเรียนรู้แบบแบบบูรณาการ และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบอื่น ๆ อีก เพื่อให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นเครื่องมือในการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของบุคลากรในสถานศึกษา เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวในหน่วยงาน นำเอาข้อเสนอแนะมาปฏิบัติ เพื่อให้ได้ผลตามี่ผู้วิจัยศึกษาและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องของการนิเทศ ที่ควรจะมีการนิเทศอย่างจริงจัง จากผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการและส่งเสริมให้ครูเพิ่มพูนความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น เพราะการนิเทศที่จริงจังจะทำให้ครูมีความกระตือรือร้นและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และการสนับสนุนในด้านงบประมาณที่เพียงพอ เพื่อให้สะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และในในการจัดหาสื่อการเรียนรู้และองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหา ให้มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์

ที่มาจาก http://www.vcharkarn.com/vteacher/38

เรียบเรียงโดย นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์

หมายเลขบันทึก: 428209เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2011 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท