การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี


การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี

Best Practice in Continuous Bladder Irrigation (CBI) after Transurethral Prostatectomy (TUR-P) , Udon Thani Hospital.

Authors :             Panu Odklun, Watchana Sukonthawat, Yukoltorn Tongtrakool and Kannika

Supakitarnankoon.(2553).

Abstract

                This research aimed to development nursing protocol in Continuous Bladder Irrigation (CBI). Studying in the Uro-surgical care unit, Udon Thani Hospital during May, 2009 to August, 2009 by Research and Development design. Non probability sampling by Purposive Sampling was used. 30 patients of Transurethral Prostatectomy (TUR-P) and 10 register nurses have been operated. The analyses carried out being used are:  frequency, percentage, arithmetic means and standard deviations.

              Results showed that:

1. Transurethral Prostatectomy  patients among 60 – 69 years, Prostate gland weight      30 – 39 grams, Blood Loss 100 – 199 milliliter., Operation time  31 – 60 minute, Hematocrit     31 – 35 vol% , Co-operate Diagnosis was hypertension.

2. Two-container system in Continuous Bladder Irrigation (CBI) after Transurethral Prostatectomy (TUR-P) and efficiency 9 step nursing protocol was used. Period of time in Continuous Bladder Irrigation during 41 – 48 hours per case. Hyperthermia was showed in      Vital signs.    0.9% NSS were used in Continuous Bladder Irrigation, arithmetic means was 14,167 milliliter per case and standard deviation was 5,884 milliliter.  Oral fluid took 501 – 1,000 milliliter Per 8 hours; arithmetic means 934 milliliter standard deviation was 369 milliliter. Most common Pain Score level was 1. Painkiller was used in 4, 6 and 7 hours after post operation and Most of them was Morphine.  Restless patients after post operation within 24 hours by painful sensation. Urinary tract obstruction rate was 3 percentages.

3. Patient’s satisfactions in Continuous Bladder Irrigation after Transurethral Prostatectomy were high level. An opinion by register nurses in Continuous Bladder Irrigation after Transurethral Prostatectomy showed 1) propriety were high level. 2) Feasibility were high level 3) accuracy were high level 4) utility were high level.

 

Key word  : Continuous Bladder Irrigation, Transurethral Prostatectomy

การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้วิจัย : ภาณุ อดกลั้น, วัจนา สุคนธวัฒน์, ยุคลธร ทองตระกูล, กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์คุณ. (2553). 

บทคัดย่อ

บทนำ

ในโลกปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำให้ประชากรมีสุขภาพดีขึ้น การเสียชีวิตด้วยโรคภัยต่างๆลดลง อายุขัยเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้ประชากรโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลประชากรโลกปี พ.ศ.2541 มีประชากร 5,926 ล้านคน และจะเพิ่มจำนวนเป็น 8,062 ล้านคน ในปี 2568 ( World population data sheet, 1998 ; 1) โดยที่ปี พ.ศ.2541 มีผู้สูงอายุจำนวน 580 ล้านคน และจะเพิ่มจำนวนเป็น 1,000 ล้านคน ในปี 2563 (กระทรวงสาธารณสุข , 2541 ; 649) ในประเทศไทยปี พ.ศ.2543  มีประชากรประมาณ 62 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุ ประมาณ 5.35 ล้านคน หรือร้อยละ 8.63 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10.75 ล้านคนในปี 2663 (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล , 2543 ; 1) องค์การอนามัยโลก พ.ศ.2546 ระบุว่าใน พ.ศ.2545 ประเทศไทยมีอายุคาดเฉลี่ยของภาวะสุขภาพดี             ( Healthy Life Expectancy - HALE )  เท่ากับ 60.1 ปี โดยผู้ชายมีอายุเป็น 57.7 ปี และผู้หญิงมีอายุเป็น 62.4 ปี ( การสาธารณสุขไทย 2548 - 2550 , 2551 ; 157 ) ข้อมูลคณะทำงานจัดทำภาระโรค และปัจจัยเสี่ยงของประเทศไทย สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศในปี 2549 พบว่า การสูญเสียปีที่มีสุขภาพดี ( Disability Adjusted Life Years  Loss – DALYs loss) จากโรคไม่ติดต่อสูงกว่าโรคติดต่อกว่า 3 เท่า และประชากรยิ่งมีอายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่ไม่ติดต่อมากขึ้น เช่น ในกลุ่มอายุ 45 59 ปี พบร้อยละ 73.7 และในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป พบร้อยละ 85.8 ( การสาธารณสุขไทย 2548 - 2550 , 2551 ; 167 )

โรคต่อมลูกหมากโตถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของชายผู้สูงอายุ ซึ่งโดยทั่วไปผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตจะอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป พบได้ประมาณร้อยละ 10 และจะยิ่งมากขึ้นตามอายุ ประมาณว่าเมื่อถึงอายุ 80 ปี อาจพบได้ประมาณร้อยละ 80 ซึ่งเป็นชนิดต่อมลูกหมากโตโดยทั่วไป ถึงแม้ว่าต่อมลูกหมากจะโตขึ้น จะพบว่าร้อยละ 40 – 50 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะมีอาการของโรคนี้     ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตึงปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะออกไม่หมดเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ และอาจจะเกิดไตวายได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

โรงพยาบาลอุดรธานีมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้ายโรคต่อมลูกหมากโตเพิ่มขึ้นทุกปี การสำรวจข้อมูลครั้งหลังสุดจากรายงานประจำเดือนตึกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ระยะเวลา 24 เดือน ตั้งแต่ มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 พบว่า ข้อมูลเดือน มีนาคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 มีผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยวิธี TUR-P จำนวน 100  ราย และจากข้อมูลเดือน มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 พบว่าเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยวิธี TUR-P จำนวน 125  ราย เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25     จากข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัย และคณะ จึงได้ศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ “การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี” เพื่อพัฒนาบริการทางการพยาบาลผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตที่ต้องผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ ให้สามารถถอดสายสวนปัสสาวะหลังผ่าตัดโดยใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด ปลอดภัยมากที่สุดด้วยเช่นกัน

คำถามวิจัย

การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานีควรมีรูปแบบและวิธีการอย่างไร

วัตถุประสงค์การวิจัย

               1. เพื่อศึกษารูปแบบและการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี และ สถาบันอื่นๆ

 2. เพื่อสร้างรูปแบบ และการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี

3. เพื่อประเมินผลรูปแบบ และการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี

วิธีการศึกษา

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) เรื่อง “การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี”มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้

  1. ประชากร และ กลุ่มตัวอย่าง
  2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  3. การดำเนินการวิจัยและการรวบรวมข้อมูล
  4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ได้แก่

1.1 ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในแผนกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลอุดรธานี ในช่วง 1 พฤษภาคม 2552  ถึง  31  สิงหาคม 2552  ระยะเวลา รวม 4 เดือน จำนวน 30 ราย  การเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  คือ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่องภายหลังการผ่าตัด TUR-P

1.2 พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในในแผนกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 10 คน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 4 ฉบับ ดังนี้

ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) และการพยาบาลผู้ป่วย โดยเก็บข้อมูลในผู้เชี่ยวชาญทั้ง       5 คน

ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบ วิธีการในการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) โดยเก็บข้อมูลในผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน

ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการในการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ใน โรงพยาบาลอุดรธานี โดยเก็บข้อมูลในผู้ป่วย จำนวน 30 คน

ฉบับที่ 4  แบบสอบถามความคิดเห็นการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี โดยเก็บข้อมูลในพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน       10 คน

การวิเคราะห์ข้อมูล

4.  การวิเคราะห์ข้อมูล

                สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ มีดังนี้

                4.1   วิเคราะห์ข้อมูล ทางคุณลักษณะประชากร ของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติความถี่    และร้อยละ

4.2 วิเคราะห์ความพึงพอใจ ในการใช้รูปแบบ และวิธีการพยาบาลผู้ป่วย  ที่ได้รับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานีที่ได้จากวิจัย และพัฒนาในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 10 คน และ ผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่องภายหลังการผ่าตัด TUR-P ใน โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 30 คน ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

4.3 วิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และข้อเสนอแนะ ที่ได้จากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 10 คน และ ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 30 คน ด้วยสถิติความถี่ และ ร้อยละ

ผลการวิจัย

1.  การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำ CBI หลังการผ่าตัด TUR-P ในโรงพยาบาลอุดรธานี พบว่าระยะเวลาในการทำ CBI (ชั่วโมง) ของผู้ป่วยส่วนมากอยู่ในช่วง 41 – 48 ชั่วโมง ภาวะ Vital signs ของผู้ป่วยส่วนมากมีความผิดปกติ คือ อุณหภูมิกายสูงขึ้น  ปริมาณ NSS รวมที่ใช้ในการ CBI ของผู้ป่วย พบว่ามีค่าเฉลี่ย 14,167 ซีซี ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5,884 ซีซี แตกต่างจากอรทัย พินสุวรรณ์(2550) ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ที่ใช้ปริมาณสารน้ำในการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดมากกว่า 30,000 มิลลิลิตร มีลิ่มเลือดอุดกั้นทางออกของปัสสาวะหลังผ่าตัด และมีระดับความรุนแรงของลิ่มเลือดอุดกั้นทางออกของปัสสาวะหลังผ่าตัดในระดับมาก ปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยดื่ม (ซีซี) ส่วนมากอยู่ในช่วง น้อยกว่าหรือเท่ากับ 501 – 1,000 ซีซี  มีค่าเฉลี่ย 934 ซีซี  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 369 ซีซี  Pain Score ของผู้ป่วยส่วนมากอยู่ที่  1 คะแนน  เวลาที่ให้ยาแก้ปวดแก่ผู้ป่วยส่วนมากอยู่ชั่วโมงที่    4 , 6  และ 7  เท่าๆกัน ชนิดของยาแก้ปวดที่ให้แก่ผู้ป่วยส่วนมากให้ Morphine  การพักผ่อนของผู้ป่วยส่วนมากพักผ่อนได้น้อยใน 24 ชั่วโมงแรก ความผิดปกติที่พบในผู้ป่วยส่วนมากมีอาการปวด พบอัตราการอุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะเพียงร้อยละ 3

2. รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่องภายหลังการผ่าตัด

TUR-P ที่ได้พัฒนาขึ้นในโรงพยาบาลอุดรธานี พบว่า

                2.1 ความพึงพอใจของผู้ป่วยในการประเมินอาการทั่วไป และ การวัดสัญญาณชีพอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อรูปแบบการล้างกระเพาะปัสสาวะชนิด 2 ขวดอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อการดูแลยึดตรึงสายสวนปัสสาวะแก่ผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อการบรรเทาความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อบีบรูดคลึงสายสวนปัสสาวะ (milking tube) ให้ผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อการบันทึกจำนวนน้ำที่ได้รับและขับออก และเทน้ำทิ้งไม่ให้เต็มถุงให้ผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพออยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อการดูแลผู้ป่วยให้ดื่มน้ำได้ 500 – 1,000 ซีซี ต่อเวรตามคู่มือฯอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจในการจัดที่พักและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ที่พักให้ผู้ป่วย อยู่ในระดับมาก โดยสรุปความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.95 ในระบบ 5 คะแนน)

                2.2 สรุปผลความคิดเห็นของพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่ทำ CBI ภายหลังการผ่าตัด TUR-P พบว่า 1) ความเหมะสมของการดูแลผู้ป่วยที่ทำ CBI ภายหลังการผ่าตัด TUR-P ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 โดยกิจกรรมที่มีระดับความเหมะสมน้อยที่สุดในกลุ่ม   ได้แก่ การบีบรูดคลึงสายสวนปัสสาวะ (milking tube) ให้ผู้ป่วย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.8  2) ความเป็นไปได้ในการดูแลผู้ป่วยที่ทำ CBI ภายหลังการผ่าตัด TUR-P ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 กิจกรรมที่มีระดับความเป็นไปได้ น้อยที่สุดในกลุ่ม   ได้แก่ การบีบรูดคลึงสายสวนปัสสาวะ (milking tube) ให้ผู้ป่วย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.8  3) ความครอบคลุมในการดูแลผู้ป่วยที่ทำ CBI ภายหลังการผ่าตัด TUR-P ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 โดยกิจกรรมที่มีระดับความครอบคลุมน้อยที่สุดในกลุ่ม   ได้แก่ การบันทึกจำนวนน้ำที่ได้รับและขับออก และเทน้ำทิ้งไม่ให้เต็มถุงให้ผู้ป่วยค่า เฉลี่ยเท่ากับ  4.3 4) ความเป็นประโยชน์ ในการดูแลผู้ป่วยที่ทำ CBI ภายหลังการผ่าตัด TUR-P ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 โดยกิจกรรมที่มีระดับความเป็นประโยชน์น้อยที่สุดในกลุ่ม  ได้แก่ การบันทึกจำนวนน้ำที่ได้รับและขับออก และเทน้ำทิ้งไม่ให้เต็มถุงให้ผู้ป่วย, การดูแลผู้ป่วยให้ดื่มน้ำได้ 500 – 1,000 ซีซี/เวร และ การจัดที่พักและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ที่พักให้ผู้ป่วยเฉลี่ยเท่ากับ  4.4

การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. การอภิปรายผล

ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด TUR-P ส่วนมากอยู่ในช่วงอายุ 60 – 69 ปี สอดคล้องกับสภาพจริงของโรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia : BPH) ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยกับชายสูงอายุทุกคน มีการประมาณการกันว่าร้อยละ 50 ของผู้ชายอายุเกิน 50 ปี จะมีอาการปัสสาวะผิดปกติจากต่อมลูกหมากโต และสูงถึงร้อยละ 80 ถึง ร้อยละ 90 ในผู้ชายอายุเกิน 80 ปี (Teichman, 2001 ; 186)  บุญมี สันโดษ(2550) พบว่าผู้ป่วยมีอาการปวด และพบอัตราการอุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 3 แตกต่างจาก Neville D Perera และ A C N Nandasena(2002) พบว่าหลังการผ่าตัด 24 ชั่วโมงเมื่อถอดสายสวนปัสสาวะจะมีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 27.4 ส่วนมากพบการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะภายใน  8 ชั่วโมง ดังนั้นรูปแบบ และ การปฏิบัติในการทำ CBI หลังการผ่าตัด TUR-P ในโรงพยาบาลอุดรธานี จึงมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง  ระยะเวลาในการทำ CBI (ชั่วโมง) ของผู้ป่วยส่วนมากอยู่ในช่วง 41 – 48 ชั่วโมง ปริมาณ 0.9 % NSS รวมที่ใช้ในการ CBI ของผู้ป่วย พบว่ามีค่าเฉลี่ย 14,167 ซีซี ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5,884 ซีซี แตกต่างจากอรทัย พินสุวรรณ์(2550) พบว่าใช้ปริมาณสารน้ำในการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะหลังผ่าตัดมากกว่า 30,000 มิลลิลิตร มีลิ่มเลือดอุดกั้นทางออกของปัสสาวะหลังผ่าตัด และมีระดับความรุนแรงของลิ่มเลือดอุดกั้นทางออกของปัสสาวะหลังผ่าตัดในระดับมาก ดังนั้นรูปแบบ และ การปฏิบัติในการทำ CBI หลังการผ่าตัด TUR-P ในโรงพยาบาลอุดรธานี จึงมีประสิทธิภาพโดยการลดปริมาณการใช้ 0.9 % NSS ลงประมาณร้อยละ 51 (ลดลงประมาณ 15,000 ซีซี ต่อผู้ป่วย 1 ราย) และลดอัตราการอุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะได้ด้วย  รูปแบบ(Format) การ CBI หลังการผ่าตัด TUR-P ในโรงพยาบาลอุดรธานีระบบ two-container system และกำหนดความสูงของขวดน้ำเกลือสูงจากผู้ป่วยประมาณ 60 – 80 เซนติเมตร (Ruth F. Craven and Constance J. Hirnle. , 2007; 1108) เป็นวิธีการลดความเจ็บปวดเนื่องจากการไหลของสารละลาย 0.9 % NSS ที่แขวนถุงน้ำเกลือไว้สูง และความเจ็บปวดจากการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะได้ดี 

2.  ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

2.1 ควรนำรูปแบบและวิธีการทำ CBI หลังการผ่าตัด TUR-P ในโรงพยาบาลอุดรธานี ที่

พัฒนาขึ้นไปใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยแผนกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โดยจัดการประชุมวิชาการภายในแผนกเพื่อให้ความรู้ และทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติตามที่คู่มือฯกำหนดแก่พยาบาลวิชาชีพทุกคนในแผนก

2.2 ควรสังเกต Pain Score ในชั่วโมงที่    4 และ 6 เป็นพิเศษ เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า

ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการปวด และต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งหากดูแลให้ยา และให้การพยาบาลอย่างทันถ่วงที จะทำให้ผู้ป่วยสุขสบาย และสามารถพักผ่อนได้ดีขึ้น

                                2.3 หลังการผ่าตัด TUR-P 24 ชั่วโมงแรก ควรดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง โดยรวมการพยาบาลที่จำเป็นมาปฏิบัติในช่วงเดียงกัน เป็นการไม่รบกวนผู้ป่วย และหากผู้ป่วยหลับพักผ่อนได้ก็ไม่ควรไปรบกวน โดยให้การพยาบาลอย่างอื่น เช่น การปรับอัตราการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ อัตราการไหลของ 0.9 % NSS ที่ทำ CBI ให้เหมาะสมเมื่อพิจารณาสีของสารละลายหลังการทำ CBI รวมทั้งเทสารละลายดังกล่าวอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง เพื่อมิให้เต็มถุงอันจะทำให้การไหลของสารละลายจากกระเพาะปัสสาวะไม่สะดวก

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

                1. ควรมีการศึกษา และติดตามประสิทธิภาพของ“การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำ CBI หลังการผ่าตัด TUR-P ในโรงพยาบาลอุดรธานี”ในระยะยาว

2. ควรทำการศึกษาในรูปแบบเดียวกันในการพยาบาลผู้ป่วยอื่นๆในแผนก เช่น การ

พยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดนิ่วในไต ในท่อไต หรือในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

 

คำสำคัญ : การล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต่อมลูกหมากโต

บรรณานุกรม

นิธิวดี ปิยสุทธ์.(2549).ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต

ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.  วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร

มหาบัณฑิต  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญมี สันโดษ.(2550). ผลการพยาบาลโดยประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ต่อความ

สามารถในการปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง ภาวะแทรกซ้อน ความสามารถในการขับถ่าย

ปัสสาวะ และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทาง

ท่อปัสสาวะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 

บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เพ็ญศรี ระเบียบ และ คณะ. (2549). บทความวิชาการการศึกษาต่อเนื่อง สาขาพยาบาลศาสตร์

                เล่มที่ 3 การพยาบาลผู้ใหญ่ และ ผู้สูงอายุ. ศิริยอดการพิมพ์,กรุงเทพฯ.

วชิร คชการ และ คณะ. (2547). ตำรา “ไพฑูรย์ คชเสนี” ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ

และอวัยวะสืบพันธุ์ชาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. บียอนด์ เอ็นเตอร์ไพรซ์.กรุงเทพฯ.

อรทัย พินสุวรรณ์.(2550).ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายปัสสาวะผิดปกติในผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ.  วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต 

สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

David C.Howell. (2007). Statistical Methods for Psychology(739 pages).. Sixth

                Edition . Thomson Wadsworth. CA, USA.

David Scott and Mariene Merrison( 2007 ). Key Ideas in Educational Research.

(290 pages). Secondth Edition. Continuum International Publishing Group.

London, Great Britain.

James P. Stevens. (2007 ). Intermediate Statistics : A Modern Approach (451 pages).

Thirth Edition . Lawrence Erlbaum Associates. New York, USA.

Meg Gulanick and  Judith L. Myers . (2007). Nursing Care Plans : Nursing Diagnosis

and Intervention(1154 pages).Sixth Edition . Mosby,In. Missouri, USA.

:259-267.

Ruth F. Craven and Constance J. Hirnle. (2007) . Fundamentals of Nursing : Human

Health and Function(1497 pages). Fifth Edition . Lippincott Williams &

Wilkins. Philadelphia, USA.

ประวัติผู้นำเสนอผลงาน

1.ภาณุ อดกลั้น

ประวัติการศึกษา :ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง

วิทยาลัยพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี พ.ศ.2533

การศึกษามหาบัณฑิต(การวัดผลการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.2542

ประวัติการทำงาน  : รองคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ และ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาล ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2550

      อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานีพ.ศ.2551 ถึง พ.ศ.2552

      อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ กลุ่มวิชาการพยาบาล ผู้ใหญ่ และ

ผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยอีสาน จังหวัดขอนแก่น  พ.ศ.2552

      อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ กลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไป

วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย จังหวัดขอนแก่น  พ.ศ.2553

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง :  อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

จังหวัดขอนแก่น

 

2.วัจนา  สุคนธวัฒน์
 ประวัติการศึกษา : ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคามพ.ศ.2537
                                   พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

จังหวัดขอนแก่นพ.ศ.2542
ประวัติการทำงาน  : อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ 

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ตั้งแต่ พ.ศ.2537 ถึงปัจจุบัน
                                      อาจารย์สอนเสริมฝึกทักษะปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

 

3.ยุคลธร ทองตระกูล

ประวัติการศึกษา : ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูงวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.2531
ประวัติการทำงาน  : พยาบาลวิชาชีพประจำตึกศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุดรธานี พ.ศ.2531 ถึง    พ.ศ. 2538

     พยาบาลวิชาชีพประจำตึกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลอุดรธานี

พ.ศ.2538 ถึง    ปัจจุบัน

    อาจารย์นิเทศประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ  วิทยาลัยพยาบาล

บรมราชชนนี อุดรธานี พ.ศ.2544 ถึง    ปัจจุบัน

 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  โรงพยาบาลอุดรธานี
4.กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์คุณ

ประวัติการศึกษา : ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูงวิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2537
ประวัติการทำงาน  : พยาบาลวิชาชีพประจำตึกผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลหนองบัวลำภู พ.ศ.2537  ถึง    พ.ศ. 2542

     พยาบาลวิชาชีพประจำตึกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลอุดรธานี

พ.ศ.2542 ถึง ปัจจุบัน

    อาจารย์นิเทศประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ  วิทยาลัยพยาบาล

บรมราชชนนี อุดรธานี พ.ศ.2544 ถึง ปัจจุบัน

 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  โรงพยาบาลอุดรธานี

หมายเลขบันทึก: 428078เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท