การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลข้าราชการปี 2554


มีเรื่องที่ update หลายเรื่อง พอที่จะจับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานผู้ป่วยในในเรื่องผู้ป่วยที่เบิกได้มาเล่าให้ฟังโดยสรุปได้ดังนี้

เมื่อวันที่ 8 กพ.2554 ได้มีโอกาสไปประชุมเรื่องการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการของกรมบัญชีกลาง มีเรื่องที่ update หลายเรื่อง พอที่จะจับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานผู้ป่วยในในเรื่องผู้ป่วยที่เบิกได้มาเล่าให้ฟังโดยสรุปได้ดังนี้

กฎหมายใหม่ ให้สิทธิเรื่องการป้องกัน การสร้างเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการเจ็บป่วยที่เบิกได้แต่ไม่ฟุ่มเฟือยต้องสมเหตุสมผล ความคืบหน้าในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเช่น การเบิกค่าวัคซีนป้องกันโรคยังเบิกไม่ได้ ปัจจุบันยังใช้สิทธิตามกฎหมายเดิม กำลังรอหลักเกณฑ์ใหม่อยู่ (อยู่ในระหว่างกำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบในการเบิกจ่าย)

ผู้ป่วยที่นอนรพ.แต่ก่อนกฎหมายให้ยื่นหนังสือส่งตัวย้อนหลังได้ภายใน 90 วันแต่ปัจจุบันยกเลิกแล้วผู้ป่วยต้องยื่นขณะอยู่ในโรงพยาบาล มายื่นภายหลังไม่ได้แล้ว ถ้าเป็นข้าราชการก็จะไม่มีหนังสือต้นสังกัดแล้ว ให้ขอเลขอนุมัติขณะที่นอนอยู่ในโรงพยาบาลเลยโดยให้นำหลักฐานบัตรประชาชนของผู้ป่วยและของผู้ที่ใช้สิทธิเบิก แต่ถ้าเป็นหน่วยงานอื่น ที่ต้องใช้ต้นสังกัดเช่น เทศบาลก็ต้องยื่นก่อนออกจากรพ. เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่เราต้องสื่อสารให้ผู้ป่วยและญาติรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ คือ admit ก็ต้องบอกกันเลยตั้งแต่ ERจะได้รีบนำหลักฐานมาให้ทัน เดี๋ยวจะช้าไปคนไข้จะออกจากรพ.ไม่ได้ แต่ถ้ามีปัญหาไม่ได้จริงๆ กรมบัญชีกลางบอกว่าคนไข้ต้องเสียเงินเต็มจำนวนอย่างเดียวแล้วเอาใบเสร็จไปเบิกเอง แต่ต้องบอกเขาด้วยว่าถ้าเอาไปเบิกเองไม่สามารถเบิกค่าห้องและอาหารได้ (วันนั้นก็ลืมถามอาจารย์ว่าแล้วถ้าเขาไม่มีเงินที่จะเสียจริงๆ จะทำอย่างไรดี ต้องกักตัวเอาไว้ก่อนจนกว่าจะหาเงินมาจ่ายได้ ไม่รู้ว่าเราจะโหดร้ายเกินไปหรือเปล่านะ)

       กรณีผู้ป่วยมี 2 สิทธิ์ เช่นมีสิทธิเบิกได้ แล้วมีสิทธิประกันสังคมหรือสิทธิอื่นด้วย ให้เลือกใช้สิทธิข้าราชการหรือเบิกได้(สิทธิหลัก)เพราะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมหรือสิทธิอื่นได้อีกแต่ถ้าเลือกใช้สิทธิปกส.เป็นสิทธิหลักไม่สามารถใช้สิทธิข้าราชการเบิกค่ารักษาของตนทุกกรณี แต่บุคคลในครอบครัวไม่สามารถเลือกได้ให้ใช้สิทธิหลักเท่านั้น

       กรณีบุตรมี 2 สิทธิ์ ของพ่อและแม่ ให้เลือกใช้สิทธิเบิกของกรมบัญชีกลางคือสิทธิเบิกได้

       กรณีมีประกันแล้วเบิกได้ด้วย ให้เบิกประกันก่อน แล้วกรมบัญชีกลางจะจ่ายให้ในส่วนที่ขาดแต่ไม่เกินยอดค่ารักษาที่จ่ายไป

       กรณีไปรักษารพ.เอกชน เป็นผู้ป่วยในเบิกได้ 4,000 บาท ซึ่งจ่ายตาม DRG (รพ.เอกชนมีหน้าที่ต้องแจ้งให้คนไข้ทราบก่อนว่าจะต้องจ่ายส่วนเกินเท่าไร)

        การรายงานข้อมูล เป็นหน้าที่ของผู้มีสิทธิต้องแจ้งกรมบัญชีกลางทราบ เช่นผู้ใช้สิทธิเบิกได้มีบุตร ต้องแจ้งเอง ถ้าไม่แจ้งบุตรอาจเบิกไม่ได้

         ค่ารถ refer แต่ก่อนเราทราบมาว่าผู้ป่วยสิทธิเบิกได้ไม่สารถเบิกค่ารถ refer ได้ เปลี่ยนใหม่ว่าสามารถเบิกได้แล้ว โดยเหมา 500 บาทต่อครั้ง+อัตราจ่ายตามระยะทาง(กม.)ทั้งไปและกลับ เฉพาะการการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลไม่รวมจากจุดเกิดเหตุ(ใช้กูเกิล map เป็นตัวจับระยะทาง) ต้องเป็นการส่งที่ต้นทางเป็นผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกที่ปลายทางเป็นผู้ป่วยใน(Admit)

ชั่วโมงสุดท้ายเป็นการถาม-ตอบปัญหาที่ผู้เข้าร่วมประชุมสงสัย เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง น่าสนใจดียังเสียดายรพ.ที่กลับไปก่อนไม่ได้อยู่ฟัง ยกตัวอย่างเช่น

   ภรรยาเป็นคนต่างด้าว (ไม่มีบัตรประชาชน) ได้สามีเป็นข้าราชการ คีย์ข้อมูลลงทะเบียนไม่ได้ต้องทวงถามเลขสมมุติจากนายทะเบียนที่อำเภอเพราะคนต่างด้าวจะมีเลขสมมุติ ขึ้นต้นด้วย B+เลข 12 ตัวจะใช้สิทธิจ่ายตรงได้

    ขอรับยาก่อนวันนัด เบิกได้หรือไม่ เบิกได้แต่ต้องชี้แจงเหตุผล เช่น ไปต่างจังหวัดแล้วลืมนำยาไป หรือยาหาย เราต้องบันทึกเพื่อป้องกันตนเอง (คงกลัวเอายาไปขายน่ะ)

    พรบ.ขาด กรมบัญชีกลางไม่จ่าย ก็ใช้สิทธิเบิกไม่ได้นั่นแหละ   สิทธิประกันสังคมต้องส่งเงินครบ 3 เดือนกรณีตรวจรักษา ถ้าคลอดต้องส่งครบ 7 เดือน ถ้าส่งเงินยังไม่ครบแต่มีสิทธิเบิกได้ด้วย ให้เบิกกรมบัญชีกลางได้

    การนับวันนอน 24 ชม. = 1 วัน เศษถ้าเกิน 6 ชม.จึงจะนับได้อีก 1 วันถ้าไม่ถึงตัดทิ้ง

    หัตถการในห้องผ่าตัดไม่ต้องลงรหัส      วัสดุสิ้นเปลืองผู้ป่วยในเบิกรวมอยู่ใน DRG

 การเบิกจ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการผู้ป่วยในจ่ายตาม DRG เป็นหลัก ผู้ป่วยนอกจ่ายตามที่เรียกเก็บ  ยังมีหัวข้อที่ยังฟังแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องคือผู้ป่วยพักรอจำหน่ายคงเป็นเพราะเราไม่เคยมีคนไข้กรณีนี้ รายละเอียดมีอยู่ในเอกสารที่ได้รับมาใครต้องการทราบมาศึกษาได้ค่ะ(มีรายละเอียดมากพอสมควร) รู้แล้วก็บอกกันด้วย

                                                                            รัชฏา  ชิตตรงธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 427996เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท