สระ ฤ


ในภาษาไทย มีอักษรตัวหนึ่ง คือ ฤ มักเรียกกันว่า รอรึ หรือ ตัวรึ เพราะปกติแล้ว อักษรตัวนี้ออกเสียง รึ (พฤหัส, คฤหัสถ์) แต่้บางทีก็ ริ (ทฤษฎี, ฤทธิ์) บางทีก็ออกเสียง เรอ (ตัวอักษร เรอ ได้ด้วย อิอิ) เช่น ฤกษ์...     ตัว ฤ นี้มีอะไรน่าสนใจไม่น้อยเลย

โดยทั่วไปภาษาไทยแท้ๆ จะไม่มีการใช้ ฤ เว้นแต่คำที่มาจากภาษาสันสกฤต (ภาษาบาลีก็ไม่มี ฤ) ในภาษาสันสกฤต "ฤ" ถือเป็นสระเสียงสั้น คู่กับ "ฤๅ" สระเสียงยาว

 

อันที่จริง ฤ ตัวนี้ ก็คล้ายๆ ร นั่นแหละครับ แต่ทำหน้าที่เป็นสระ มีมาแต่สมัยโบราณ ในหลายภาษาของยุโรป ก็มีการใช้ ร (หรือ r) เป็นสระได้ เช่น litre, metre ในภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส

เล่ากันว่าสมัยโบราณ ฤ ของสันสกฤตก็ออกเสียงคล้าย เออร์ แบบฝรั่ง แต่เวลาผ่านไป อะไรก็เปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันนี้ ฤ ในภาษาอินเดีย ยังออกเสียงต่างกันตามถิ่น ริ ก็มี, รึ ก็มี, รุ ก็มี อาจารย์ชาวอินเดียท่านหนึ่ง ออกเสียง เป็น รุ  คำว่า "ฤกฺษ" จึงออกเสียงเป็น รุก-ษะ แต่ตำราฝรั่งมักจะให้อ่าน เป็น ริ "ฤกฺษ" จึงอ่านว่า ริก-ษะ

ฤ เป็นสระ เมื่อเกาะหลังพยัญชนะ ทำให้พยัญชนะตัวนั้นมีเสียง ริ ควบไปด้วย เช่น ทฺฤศฺ, ปฺฤถิวี

 

โปรดสังเกตว่า เมื่อเขียนภาษาสันสกฤต พยัญชนะที่ประสมด้วยสระ ฤ จะต้องมีจุดเสมอ กรณีเช่นนี้มักจะมีคำถามอยู่บ่อยๆ ว่าทำไมต้องเขียนจุด ในเมื่อ ก ประสมด้วยสระ อา ก็เขียน กา ไม่ต้องใส่จุดที่ ก  คำตอบก็คือ เพราะป้องกันความสับสน เนื่องจากในภาษาสันสกฤตมีกรณีที่พยัญชนะอยู่หน้า ฤ แต่ไม่ได้ประสมด้วยสระ ฤ (กรณีเช่นนี้ พบได้เฉพาะในภาษาพระเวท)

เช่น "คฺฤห" ฤ ประสมกับพยัญชนะ ค จึงใส่จุดที่ ค, แต่ "มหฤษิ" ฤ ไม่ได้ประสมกับพยัญชนะ ห จึงไม่ต้องใส่จุดที่ การใส่ หรือไม่ใส่ จึงมีความสำคัญ 

*หากไม่ใส่จุดสำหรับพยัญชนะที่ประสมสระ ฤ  กรณีของ มหฤษิ ก็จะเข้าใจผิด คิดว่า ห ประสมสระ ฤ ความจริงแล้ว คำนี้ ออกเ้สียง มะ หะ ริ ษิ (ในภาษาสันสกฤตสมัยหลัง ใช้เป็น มหรฺษิ แต่ มหฺฤษิ ไม่มี)*

 

สำหรับสระ ฤๅ (รือ) ในภาษาสันสกฤตพบได้น้อยกว่า ฤ แต่ก็มีใช้บ้าง โดยมากจะเป็นรูปผันของคำนาม เช่น  ปิตฺฤๅนฺ (บรรพบุรุษทั้งหลาย) นฺฤๅนามฺ (ของมนุษย์ทั้งหลาย)

 

เรื่องของ ฤ และ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต ยังมีที่ควรจะทราบ เกี่ยวกับการยืดเสียง หดเสียง (ตามหลักสนธิ) ไว้โอกาสหน้าค่อยเล่าให้ฟังครับ

หมายเลขบันทึก: 427596เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2011 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาดูตัวหนังสือที่ไม่ค่อยได้สนใจเท่าใด

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะ

อ่านแล้วก็จำไม่ค่อยได้...สำหรับคนไม่ค่อยได้ใช้และเกี่ยวข้องกับภาษาบาลีสันสกฤตนัก

แต่ก็ขอบคุณค่ะ เรียนรู้ไปทีละเล็กละน้อย ก็อาจจะรู้มากขึ้นเอง

(^__^)

 

สวัสดีครับ คุณ Ico48 คนไม่มีราก

ภาษาไทยและสันสกฤต มีความเกี่ยวข้องกันมาก

และในภาษาไทยปัจจุบัน มีภาษาสันสกฤตแทรกอยู่มากครับ

............ฤใครวางหว่างฟ้าหาว

อ.ธวัชชัยคะ เขียนแบบนี้ในบาทหนึ่งของบทกวี ถูกต้องมั้ยคะ

สวัสดีครับ

ในภาษาไทย เขียนแบบนี้ได้เลย ถูกต้องแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท