ชีวิตที่พอเพียง : ๑๑๘๖. ทำงานเพื่อการเข้าถึงธรรมของสังคมไทย



          วันที่ ๒๑ ม.ค. ๕๔ ผมโชคดีมาก ที่การนัดไปต่างจังหวัดถูกเลื่อน   การนัดประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ จึงเข้ามาแทน   การได้เข้าประชุมในวันนี้ให้ความสุขความปิติแก่ผมเหลือประมาณ   ผมบอกตัวเองว่า ผมมีบุญที่ได้ร่วมทำงานชิ้นนี้ให้แก่สังคมไทย   แม้จะมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย

          เป็นการประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับหอจดหมายเหตุฯ รวม ๘ กลุ่ม คือคณะกรรมการมูลนิธิ, คณะกรรมการโครงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุฯ, คณะกรรมการดำเนินการฯ, คณะกรรมการสนับสนุนทุนจัดตั้งฯ, คณะที่ปรึกษาระบบงานทางบัญชี, อาสาสมัครตรวจสอบบัญชี, อาสาสมัคร, และอาสาสมัครประจำ

          ได้เห็นความคืบหน้าของกิจการ และเกิดความมั่นใจว่าดำเนินการมาถูกทางแล้ว   กิจการจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และทำประโยชน์แก่สังคมได้มากจริงๆ 

          ต่อไปนี้เป็นบันทึกย่อระหว่างประชุม ที่ผมใช้ iPad บันทึก   ประโยคที่มีดอกจันทน์สองตัว (**) อยู่ข้างหน้า หมายถึงความคิดปิ๊งแว้บของผมระหว่างนั่งฟังการประชุม

•  ที่ดินเป็นของการรถไฟถวายพระเจ้าอยู่หัวแล้ว มอบ กทม. ดูแล   แต่ในการจัดการพื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ๔ หน่วยงาน  มีการหารือในที่ประชุมเรื่องความมั่นคง ไม่ถูกการรถไฟขอที่ดินคืน   การรถไฟกำลังดำเนินการพัฒนาพื้นที่เป็นย่านธุรกิจ มีหอฯ อยู่ในพื้นที่ด้วย   ซึ่งจะทำให่หอฯ มีโอกาสทำประโยชน์ได้มากขึ้น มีคนมาใช้ประโยชน์หอฯ มากขึ้น


•  ธรรมะภาคีของหอฯ  ๓ กลุ่ม คือ (๑) ภาคีทางธรรม (๒) ภาคีหลัก และ (๓) ภาคีอื่นๆ  เวลานี้มีรวมทั้งสิ้น ๗๙ กลุ่ม   แสดงความสามารถด้านการจัดการของหอฯ   มีคำแนะนำให้สร้าง engagement ของการรถไฟ และสหภาพการรถไฟ เพื่อให้ซาบซึ้งคุณค่าของหอฯ


•  สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เสด็จเปิดหอฯ ๒๕ มีนาคม ๑๕.๐๐ น.


•  การปรับปรุงอาคารสถานที่ เพื่อให้บริการได้ดียิ่งขึ้น ใช้เงิน ๑๐ ล้าน


•  งบการเงิน ณ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ รวมสินทรัพย์ ๑๘๓ ล้านบาท  รายรับมากกว่ารายจ่าย  และในช่วงหลังจาก ๓๐ มิ.ย. ๕๓ รายรับจากการขายหนังสือเดือนละประมาณ ๘ แสนบาท


•  แผนและงบประมาณดำเนินการ ปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ มี ๖ ส่วนงาน  ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ ๑๔ คน กำลังเต็มอัตรา ๒๓ คน


เดือน มิ.ย. - ธ.ค. ๕๓ รายจ่าย ๗๙% ของรายรับ  มีเงินเหลือ ๓๑ ล้าน  ถ้าไม่รับเงิน  บริจาครายใหญ่ ติดลบ ๔ ล้าน


คาดว่าปีนี้จะติดลบเดือนละ ๒ แสน


**กิจกรรม ประกวดรายการวิดีโอธรรมะ โดยนักเรียน
ต้องการงานแผนและยุทธศาสตร์เก็บข้อมูลเอามาวางยุทธศาสตร์และแผน  รวมทั้งการมี product ใหม่ๆ ออกมาต่อเนื่อง   การจัดการด้านบุคลากร มี KPI  มีระบบพัฒนาบุคลากร


**เห็นการจัดการสมัยใหม่  มีการตลาด เอามาใช้ดำเนินการกิจการธรรมะเพื่อสังคม   มีการพูดถึงตัวอย่างฉือจี้ในการทำธุรกิจเชื่อมโยงกับธรรมะ   ซึ่งทางสวนโมกข์ไม่ส่งเสริมวัตถุนิยม  **souvenir แฝงธรรมะ ศาสนศิลป์ พุทธศิลป์


ประมาณการ Operating expense ในปี ๒๕๕๔ เป็นเงิน ๕๐ ล้านบาท  ประมาณการรายรับ ๔๔.๕ ล้านบาท

 

          ระหว่างนี้มีการแสดงภาพวาดชุด   ทำให้สถานี่ซึ่งเดิมกว้างขวาง ดูแคบไปถนัดใจ

          หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ มี นพ. บัญชา พงษ์พานิช เป็นผู้อำนวยการ   คุณ – เป็นผู้จัดการ

          มีผู้นำเที่ยวหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ไว้ที่นี่   ผมเคยเขียนบันทึกเรื่องหอจดหมายเหตุพุทธทาสไว้ที่นี่ 

 

วิจารณ์ พานิช
๒๒ ม.ค. ๕๓

ห้องจำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก

 

การแสดงนิทรรศการ งอกเงยด้วยธรรม งอกงามด้วยศิลป์ของกลุ่มจิตรกรไทย

 

ภาพธรรมจักร

 

ภาพพระธรรมคุณาภรณ์ (ประยุทธ ปยุตฺโต) เขียนด้วยโคลนต่างสี ไม่มีสีอื่นเจือปนเลย

 

 นพ. บัญชา นำคณะกรรมการชมภาพเขียน

 

 บรรยากาศบนชั้น ๒

 

ในห้องฝึกทำสมาธิ

 

 มะพร้าวนาฬิเกร์บนเกาะนิพพานในทะเลแห่งวัฎฎสงสาร

 

บรรยากาศในห้องประชุม

 

อีกมุมหนึ่ง

 

คนหนุ่มคนสาวมาร่วมกันทำงานบริหารจัดการสมัยใหม่นำธรรมะสู่สาธารณชน

 

ก้าวพ้นมายา

 

หมายเลขบันทึก: 426440เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท