บทความ การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ


นวัตกรรม

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

 ความหมายของนวัตกรรม

            นวัตกรรม  หมายถึง  วิธีการ  หลักปฏิบัติ แนวคิดและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ของบุคคลที่ นำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ

กระบวนการเกิดนวัตกรรม

1.   มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน

2.   มีการพัฒนาปรับปรุง โดยผ่านการทดลองหรือวิจัยจนมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือได้

3.   มีการนำไปปฏิบัติใน สถานการณ์จริงและปรับปรุงจนเกิดประสิทธิภาพ

สภาพของนวัตกรรม

       การที่จะพิจารณาว่า วิธีการ หลักปฏิบัติ แนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใดๆ เป็นนวัตกรรมหรือไม่ มีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

1. สิ่งนั้นต้องแปลกใหม่จากที่เคยปฏิบัติกันอยู่ซึ่งอาจจะใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียง  

    บางส่วน

2. การประดิษฐ์คิดค้นอาศัยวิธีระบบอย่างมีขั้นตอนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่ใช้กระบวนการและผลลัพธ์

3. มีการทดลองใช้ ปรับปรุงและวิจัย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสิ่งใหม่นั้นมีประสิทธิภาพ

     น่าเชื่อถือได้

4. สิ่งใหม่นั้นยังไม่ใช้กันแพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนงาน เพียงแต่มีการ

    นำไปทดลองใช้ในบางกลุ่มยังไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

การยอมรับนวัตกรรม

       นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ขึ้นอยู่กับบุคคล 3 ฝ่าย ได้แก่

1.  นวัตกร (Innovators)   

2.  นักต่อต้าน (Resistors)

3.  ผู้นำ (Leaders)

ตามแนวคิดของ Everrette M. Rogers มีขั้นตอนดังนี้

1.  ขั้นตื่นตัว (Awareness) เป็นการรับรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมเป็นครั้งแรก

2.  ขั้นสนใจ (Interest) เป็นการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในนวัตกรรมนั้น

3.  ขั้นไตร่ตรอง (Evaluation) เป็นการพิจารณาว่า นวัตกรรมเหมาะสมกับความต้องการ

     และสภาพปัญหาหรือไม่

4.  ขั้นทดลอง (Trial) เป็นการนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ว่าได้ผลตามความต้องการหรือไม่

5.  ขั้นรับไปใช้ (Adoption) เป็นการตัดสินใจรับนวัตกรรมไปใช้

แนวคิดพื้นฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา

1.  แนวคิดในด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล

2.  แนวคิดในด้านความพร้อม

3.  แนวคิดในด้านการใช้เวลาเพื่อการศึกษา

4.  แนวคิดในด้านความก้าวหน้าทางวิชาการและอัตราเพิ่มของประชากร

ความหมายของเทคโนโลยี

            นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี ไว้ดังนี้

            เทคโนโลยีมาจากภาษากรีก Techne หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ทักษะ  และมาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า TEXERE หมายถึง การสานหรือการสร้าง ในภาษาอังกฤษใช้ว่า TECHNO หมายถึง วิธีการ เมื่อรวมกับ LOGY ซึ่งหมายถึงศาสตร์ วิทยาหรือความรู้ เทคโนโลยีจึง หมายถึง ศาสตร์ หรือความรู้ที่ว่าเทคนิควิธีการ

            เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525)

            สมบูรณ์ สงวนญาติ (2516 : 16) ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า เทคโนโลยีเป็นวิธีการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นระบบที่ดีซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้

       เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ผสานกับหลักการทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยครอบคลุมการจัดการและออกแบบระบบ พฤติกรรม เทคนิคและวิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอนและการประเมินเมื่อพิจารณาแล้ว เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาก็น่าจะหมายถึง การประยุกต์เอาวัสดุอุปกรณ์และเทคนิควิธีการต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมผสานกันในเชิงระบบ มาผลิตใช้และพัฒนาการศึกษาในรูปแบบ สื่อมวลชน  (สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ต) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ การสื่อสารอื่นๆ) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่

เทคโนโลยีการเรียนการสอน (Instruction  technology)

            เทคโนโลยีการเรียนการสอน หมายถึง สื่อที่เกิดจากวิวัฒนาการด้านการสื่อสารและสามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเรียนการสอนพร้อมๆ ไปกับครูผู้สอน ตำราเรียน และกระดานชอล์ก

สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ

- ความหมายสารสนเทศ

- ความสำคัญของสารสนเทศ

- ประโยชน์ของสารสนเทศ

- คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ

- ประเภทของสารสนเทศ

- คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี        

- กระบวนการจากข้อมูลมาเป็นสารสนเทศ

- การรู้สารสนเทศ

ความหมายสารสนเทศ

            สารสนเทศ หมายถึง  ความรู้ ข้อมูล  ข่าวสาร  ข้อเท็จจริง  เรื่องราว และความคิดต่างๆ ที่ได้จากการสื่อสาร บันทึก  จัดพิมพ์  หรือเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ที่ผ่านการกลั่นกรองและประมวลผล  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทั้งในส่วนของบุคคลและสังคม

 ความสำคัญของสารสนเทศ

            สารสนเทศคืออำนาจ (Information  is Power) ซึ่งหมายถึง ผู้ใดมีสารสนเทศไว้ในครอบครองย่อมเป็นผู้ที่มีพลัง มีอำนาจ  ได้เปรียบผู้อื่นๆในทุกๆ ด้าน

 สารสนเทศจึงมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม ดังต่อไปนี้

  • ความสำคัญของสารสนเทศต่อตัวบุคคล
  • ความสำคัญของสารสนเทศต่อสังคม

ประโยชน์ของสารสนเทศ       

            เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินงาน

  • เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
  • เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ การวิจัย  การกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน          
  • เพื่อใช้ประกอบความคิดอย่างมีเหตุผล
  • เพื่อการพัฒนาความรู้ใหม่การประดิษฐ์คิดค้น

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ

      ในการศึกษาค้นคว้าและการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ ผู้ใช้จะต้องตระหนักในคุณค่าของสารสนเทศและสามารถนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข และเกิดประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาการ วิชาชีพ โดยเฉพาะในส่วนการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านวิชาการนั้น

 ประเภทของสารสนเทศ

            1. สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ

  •   แหล่งปฐมภูมิ (primary  source)
  •   แหล่งทุติยภูมิ (secondary source)
  •  สารสนเทศจากแหล่งตติยภูมิ (tertiary source)

            2.  สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ            

คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี

- สารสนเทศต้องมีเนื้อหาถูกต้อง        

- สารสนเทศที่ตรงตามความต้องการ

- สารสนเทศที่ครบถ้วนสมบูรณ์

- สารสนเทศที่เข้าใจได้ง่าย

- สารสนเทศที่มีลักษณะเชื่อถือได้

- สารสนเทศที่ทันต่อเหตุการณ์

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 425751เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2011 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท