การจัดกิจกรรมแบบโครงงาน


โครงงาน

การจัดกิจกรรมการเรียนแบบโครงงาน ( Project  Approach)ในเด็กปฐมวัย

            การจัดกิจกรรมแบบโครงงานระดับปฐมวัย เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ความสำคัญแด่เด็กๆอย่างเท่าเทียมกันทุกคน ทำให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าลงมือทำ โดยครูเป็นผู้คอยให้การสนับสนุน คอยช่วยเหลือ  เมื่อเด็กต้องการ ครูจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่จะเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องที่เป็นความสนใจและท้าทายความสามารถของเด็ก ให้โอกาสเด็กได้ค้นพบและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากสิ่งของ เรื่องราว สถานที่ บุคคลและเหตุการณ์ต่างๆตามวิธีการของแต่ละบุคคล เปิดโอกาสให้เด็กได้ประเมินผลการทำงานของตนเอง ได้เห็นพัฒนาการ ความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเอง ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวก และคอยแนะนำช่วยเหลือให้เด็กได้ประสบความสำเร็จ นอกจากเด็กได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆแล้ว เด็กยังได้รับการพัฒนาทักษะทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างครบถ้วน กล่าวคือ ในส่วนของกิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กได้มีโอกาสแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมการประดิษฐ์ ศิลปะ การวาดภาพ ระบายสี พับสี เป่าสี การทำกิจกรรมตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆ และนอกจากนี้ยังได้ฝึกกระบวนการกลุ่ม การเป็นผู้นำและผู้ตาม การแสดงออกทางความคิดอย่างมีเหตุผลและรู้จักคิดเพื่อหาคำตอบ ฝึกทักษะทางภาษาและคณิตศาสตร์ฯลฯ  ด้วยความสนุกสนานอย่างแท้จริงโดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับหรือเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สอดคล้องกับการจัดการศึกษาที่ว่า  “เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อมีความสนุกกับสิ่งที่ทำ”

            กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดความสนใจ  อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ  ตัว  เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเด็ก  มีลักษณะเป็นกายภาพ  กิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำจึงควรให้เด็กได้ฝึกโดยอาศัยการสังเกต  การทดลอง   การถามคำถาม  เพื่อให้มีโอกาสพัฒนาความรู้  ความคิด  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   ตลอดจนเจตคติทางวิทยาศาสตร์   กระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมทางด้านการเสาะแสวงหา  ให้เด็กได้ลองจับ  ให้ถาม  ให้สัมผัส  ให้ชิม  ให้ดู   ให้คิด   ให้สังเกต  ให้มีโอกาสได้ทดลอง   ฯลฯ  พฤติกรรมดังกล่าวที่ต้องการให้เกิดกับเด็กนี้  ครูต้องคิดกิจกรรมและหาอุปกรณ์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกิจกรรม    มีการเตรียมสภาพแวดล้อมและสถานที่ให้สอดคล้องด้วย   กิจกรรมอาจให้ทำทั้งกลุ่มหรือเดี่ยว  โดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ  ให้เด็กเกิดความรู้  ความเข้าใจ  และเกิดเจตคติ     เนื้อหาที่จัดอาจเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก  เช่น  การทดลองเกี่ยวกับน้ำ  อากาศ ลมเป็นต้น

           การจัดกิจกรรมแบบโครงงาน จึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะดังต่อไปนี้

            1.  ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์

            2.  ทักษะด้านการกระทำหรือการปฏิบัติ

            3.  ทักษะด้านการแสดงออกที่ดี

            4.  ทักษะด้านการให้ความร่วมมือ

ลักษณะการจัดกิจกรรมแบบโครงงาน

            1.  ระยะที่  1  ระยะเริ่มโครงการ

                 1.1  สร้าง/สังเกตความสนใจของเด็ก

                 1.2  เด็กกำหนดหัวข้อโครงการ

            2.  ระยะที่  2  ระยะพัฒนาโครงการ

                 2.1  กำหนดปัญหาที่จะศึกษา

                 2.2  ตั้งสมมุติฐานเบื้องต้น

                 2.3  ทดสอบสมมุติฐานเบื้องต้น

                 2.4  ตรวจสอบการทดสอบสมมุติฐาน

           3.  ระยะที่  3  ระยะสรุปโครงการ

                 3.1  สิ้นสุดความสนใจ

                 3.2  นำเสนอผลงาน

                 3.3  สิ้นสุดโครงการ/นำเสนอผลงานใหม่ 

ประเภทของโครงงาน

           1.  โครงงานสิ่งประดิษฐ์

           2.  โครงงานสำรวจ

           3.  โครงงานทดลอง( โครงงานวิทยาศาสตร์ )

 

 โดย  Pairin 2554 ( ไพรินทร์  หลอมประโคน)

         โรงเรียนอนุบาลประโคนชัย

         081-0748739

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โครงงาน
หมายเลขบันทึก: 425675เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2011 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท