โรงเรียนมาตรฐานสากล


โรงเรียนมาตรฐานสากล

โรงเรียนมาตรฐานสากล

World-Class Standard School

          ต้องสร้างให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก  World Citizen คือเป็นเลิศวิชาการ    สื่อสารสองภาษา    ล้ำหน้าทางความคิด  ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์     ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลกจะต้องมี หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล  World-Class Standard  Curriculum and Instruction และการบริหารจัดการระบบคุณภาพQuality System Management

            เพื่อการบริหารจัดการคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนต้องคำนึงถึงการให้ความสำคัญกับคุณค่าที่ควรยึดถือเป็นหลักในการดำเนินงาน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงผลการปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practices) ผลการปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practices) ที่โรงเรียนพึงมุ่งเน้นเพื่อให้เกิดผลงานที่เป็นเลิศ โดยบูรณาการให้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ในการปฏิบัติประจำวันทั่วทุกระดับในโรงเรียน จะต้องทำให้องค์กรมีค่านิยมหลักดังนี้

                การนำที่มีวิสัยทัศน์ร่วม (Visionary Leadership)

การศึกษาที่ยึดการเรียนรู้เป็นแกนกลาง(Learning-Centered Education)

การเรียนรู้ขององค์กรและบุคคล(Organizational and Personal Learning)

การให้คุณค่ากับคณะครู บุคลากร และผู้มีส่วนร่วม(Valuing Faculty, Staff and Partners)

ความคล่องแคล่ว กระตือรือร้น (Agility)

การมุ่งอนาคต (Focus on the Future)

การจัดการเพื่อให้เกิดนวัตกรรม(Managing for Innovation)

การบริหารจัดการโดยใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริง(Management by Fact)

ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ/สังคม และความเป็นพลเมืองดี(Public/Social Responsibility and Citizenship)

การมุ่งเน้นผลงานและการสร้างคุณค่า(Focus on Result and Creating Value)

การมีมุมมองเชิงระบบ (System Perspective)

จากแนวคิดและค่านิยมหลัก เพื่อนำไปสู่ผลการปฏิบัติการที่เป็นเลิศขององค์กร (โรงเรียน) ได้มีการนำมาผนวกเป็นองค์ประกอบของระบบบริหารคุณภาพ 7 หมวด คือ

  1. การนำองค์กร (Leadership)
  2. การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
  3. การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Student and Stakeholder Focus)
  4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้(Measurement, Analysis and Knowledge Management)
  5. การมุ่งเน้นบุคลากร (Faculty and Staff Focus)
  6. การจัดการกระบวนการ (Process Management)
  7. ผลลัพธ์ (Performance Results)

         องค์ประกอบดังกล่าวแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในเชิงระบบ เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ (Integrated Management System) ที่มุ่งเน้นการสร้างผลงานที่เป็นเลิศโดยการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและใช้รูปแบบวงจรคุณภาพ PDSA (Plan Do Study ActModel) เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการกำหนดทิศทางของโรงเรียน ทั้งวิสัยทัศน์เป้าประสงค์ ค่านิยม ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางสำหรับโรงเรียนในการกำหนดกลยุทธ์นอกจากนี้ การกำหนดกลยุทธ์จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายใน  และภายนอก  ไม่ว่าจะเป็นธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคม  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ความสัมพันธ์กับนักเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน  เพื่อนำมาช่วยกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียนโดยการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ดังกล่าวนั้นจะต้องเกิดจากความร่วมมือของผู้บริหารและบุคลากรภายในองค์กรดังนั้น การออกแบบระบบงาน  การมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องพัฒนาให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการดังกล่าว กลยุทธ์ของโรงเรียนจะถูกถ่ายทอดและนำไปสู่การปฏิบัติ  รวมถึงช่วยในการวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินการของโรงเรียน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ตลอดจนจะสนับสนุนต่อการพัฒนากระบวนงาน  และผลลัพธ์การดำเนินงานขององค์กรในที่สุด

- ข้อมูลสารสนเทศและกลยุทธ์ของโรงเรียน เป็นข้อมูลสำคัญที่จะต้องทำการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจในทิศทางและกลยุทธ์ไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งเมื่อได้นำไปปฏิบัติแล้ว หากผลการดำเนินงานจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาเรื่องใดย่อมนำไปสู่การกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ขององค์กรต่อไป

- การนำกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่การปฏิบัตินั้นจะช่วยในการวัดและวิเคราะห์ผลการดำเนินการของโรงเรียน อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร  และในบางองค์กรที่ให้ความสำคัญกับบุคลากร กลยุทธ์บางประเด็นอาจมุ่งเน้นเพื่อนำไปสู่ความผูกพันของบุคลากร นอกจากนี้การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัตินั้น ยังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ขององค์กร

- การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ได้ผล บุคลากรจะต้องมีและใช้ข้อมูล สารสนเทศในด้านต่าง ๆ มาสนับสนุนการตัดสินใจและการจัดการความรู้  การจัดการกระบวนการ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ของโรงเรียนจะต้องเอื้อในการนำไปปฏิบัติ นอกจากนี้ บุคลากรจะต้องมีความรู้ความสามารถในการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติด้วยดังนั้น การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการปฏิบัติงานให้ได้ตามแผนปฏิบัติการและบรรลุผลความคาดหวังของการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติก็คือผลลัพธ์การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ของโรงเรียน

 

 

หมายเลขบันทึก: 425419เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2011 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ ได้รับความรู้มากมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท