ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลต่อการค้าระหว่างประเทศ


โลกปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในทุกๆด้าน แม้กระทั้งการค้าระหว่างประเทศก็มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลกิเล็กทรอนิกส์มีส่วนสำคัญทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศได้ทุกมุมโลก ไม่จำกัดเฉพาะสถานที่ใดที่หนึ่ง เวลาใดเวลาหนึ่ง

        การทำธุรกิจในโลกปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยเฉพาะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินกิจการ โดยเฉพาะเรื่องของการค้าระหว่างประเทศที่จำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสื่อสารผ่านเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ตซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมทุกมุมโลกตลอดเวลา ทั้งยังมีต้นทุนในการ

          เมื่อมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำธุรกิจ ก็จำเป็นที่จะต้องมีกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องมารองรับการนำเทคโนโลยีมาใช้ นอกเหนือไปจากกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้กล่าวไว้ในคราวที่แล้วก็ยังมีกฎหมายตัวอื่นที่น่าสนใจ เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Data Protection Law)

         หากจะกล่าวถึงข้อมูลส่วนบุคคลแล้วก็คงต้องนึกถึงความเป็นส่วนตัว เช่น ความเป็นส่วนตัวในเคหสถาน ความเป็นส่วนตัวในการจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น แม้ว่าความเป็นส่วนตัวจะมีหลายประการ แต่ความเป็นส่วนตัวที่นานาประเทศต่างให้ความสำคัญอย่าง มากอันเนื่องจากพัฒนาการทาง เทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว คือความเป็นส่วนตัวในข้อมูลส่วนบุคคลทั้งนี้ เพราะพัฒนาการล้ำยุคของคอมพิวเตอร์ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ สามารถเคลื่อนย้ายและเชื่อมโยงกันได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่อีกต่อไป ทำให้การประมวลผล จัดเก็บ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ในทางกลับกันจึงอาจมีการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้โดยละเมิดต่อบุคคลอื่น ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีการทำการค้าระหว่างประเทศ หากว่ามีการจารกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Computer Espionage) การจารกรรมข้อมูลหรือความลับทางการค้านั้นสามารถก่อให้เกิดผลเสียอันร้ายแรงแก่บริษัทเจ้าของความลับหรือเจ้าของข้อมูลนั้นได้

           ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาทำให้หลายประเทศเห็นความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูล ดังจะเห็นได้จากมีองค์การระหว่างประเทศสององค์กรที่ได้ออกกฎเกณฑ์สำคัญๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวคือ The Council of Europe ได้ออก Convention for the Protection of Individual with regard to the Automatic Processing of Personal Data ในปี ค.ศ. 1981 และ The Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) ได้ออก Guidelines Governing the Protection of Privacy and Transborder Data Flows of Personal Data ซึ่งกฎเกณฑ์ทั้งสองฉบับนี้ได้กำหนดกฎเกณฑ์เฉพาะเพื่อใช้บังคับกับการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยวางหลักการสำคัญไว้ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสม ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเปิดเผย

          กฎเกณฑ์ที่ออกโดย The Council of Europe และ OECD ได้ส่งผลอย่างมากต่อการยกร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศต่างๆ ทั่วโลก กล่าวคือ มีเกือบ 30 ประเทศที่ลงนามใน COE Convention และมีอีกหลายประเทศที่กำลังดำเนินการเพื่อเข้าร่วมลงนาม ในขณะที่ OECD Guidelines ก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางโดยมีหลายประเทศได้นำเอา หลักการใน Guidelines ดังกล่าวไปบัญญัติเป็นกฎหมายภายใน ทั้งนี้ รวมถึงประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกของ OECD ด้วย

          ในปี ค.ศ. 1995 และ 1997 สหภาพยุโรปได้ออกหลักเกณฑ์สองฉบับ ฉบับหนึ่งเรียกว่า “Directive 95/46/EC” และอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า “ The Telecommunication Directive” ทั้งนี้ เพื่อผลักดันให้กฎหมายในหมู่ประเทศสมาชิกมีความสอดคล้องกันในการให้หลักประกันที่ดีเพียงพอต่อการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของพลเมืองของสหภาพยุโรป และเพื่อทำให้การ ไหลเวียนของข้อมูลส่วนบุคคลภายในประเทศสมาชิกเป็นไปโดยเสรีปราศจากข้อจำกัดที่เกิดจากความแตกต่างกันของกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ

           สำหรับประเทศไทยนั้นก็มิได้มีการนิ่งนอนใจแต่อย่างใด ได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยมุ่งหวังที่จะจัดสร้างกลไกในการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล รักษาดุลยภาพของการคุ้มครองสิทธิของบุคคลในความเป็นส่วนตัว (Right of Privacy) เสรีภาพในการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร (Free Flow of Information) และความมั่นคงของประเทศ (National Security) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่มั่นคงในยุค แห่งข้อมูลข่าวสารและในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

           แม้ในปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา แต่ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีความจริงจังที่จะเปิดตลาดการค้าเสรีและรองรับการทำการค้าระหว่างประเทศที่มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะว่าในปัจจุบันก็มีกฎหมายหลายตัวที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลก็เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่ทำขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกปัจจุบันมากขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันหลายธุรกิจเริ่มหันมาเก็บข้อมูลต่างๆในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทางคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถจัดการกับข้อมูลต่างๆในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากขึ้นกว่าแต่ก่อนที่มักจะเก็บในรูปกระดาษ จนทำให้การค้าระหว่างประเทศเริ่มมีมากขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการติดต่อที่รวดเร็ว และการส่งเอกสารและข้อมูลต่างๆก็สะดวกมากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องกามาตราการมาป้องกันข้อมูลต่างๆที่ส่งไปมา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมต่างๆ

 

อ้างอิง : http://www.cipitc.or.th/index-07062549.html

หมายเลขบันทึก: 42517เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เห็นด้วยว่าปัจจุบันอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญจริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท