316. "...KM สำหรับผู้ต้องการกู้โลก.." (จัดการความรู้กับคนกลุ่มใหญ่ไม่ให้ปวดตับด้วย AI Summit ตอน 4)


ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 316

เคยเจอแบบนี้ไหมครับ..ในที่ประชุมระดมสมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้.."เอ๊าทุกคน ผมอยากได้เรื่องที่คุณอยากเห็นให้เกิดขึ้นในปีหน้า..".ครับ ในวงระดมสมองแบบนี้ เรามักเจอผู้ที่ให้ข้อเสนอแนะอย่างนี้ครับ..

...

"..อืม...ดิฉันว่าเรื่องอย่างนี้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมนะคะ ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่อนุบาล โดยทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง รัฐต้องสนับสนุนด้านงบประมาณ ภาคเอกชนก็ต้องจริงจัง...และต้องทำอย่างต่อเนื่อง...ทั้งประเทศ.....ต้องยั่งยืน ต้อง Green"".

และ @$^&^*^*()(*)*)_()__+)_)+_)++++++++++++)*@E&*@()&@()*@()""

'...

คำตอบที่ได้ มักจะให้ข้อเสนอแนะแบบงงๆ ..

....

ถ้าเป็นสมัยก่อน ถึงผมจะงง แต่ก็จะบันทึกไว้ตามมารยาท แต่มักหา Action Plan ไม่ได้...

...

ตอนหลังผมใช้ AI ผมจะถามง่ายๆ ว่า...พี่ๆ พี่พอเห็นตัวอย่างจริงๆ ไหมครับเอาที่ work สักนิดส์ก็ได้พี่..ที่พวกเราพอจะไปดูตัวอย่างได้...

"...เช่น..ผมยกตัวอย่างนะพี่.. ผมเห็นลิเกสินไซ บ้านสาวัตถี ขอนแก่น  เริ่มจากการที่อาจารย์มหาลัย นำลิเกสินไซจากมหาสารคามมาโชว์ ปรากฏว่าสร้างแรงบันดาลใจให้ครูในท้องถิ่น ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมด้วยการสร้างคณะลิเกสินไซของหมู่บ้านเอง..จนมีชื่อขึ้นมา..." 

"...จะเห็นว่าการปลูกฝังวัฒนธรรมนี้ มีจุดเริ่มต้นจากการจุดประกายก่อน...ครูกับนักเรียนเห็นเลยทำบ้าง...กลายเป็นคณะลิเกมีชื่อไปในที่สุด..ชุมชนก็มีส่วนร่วมไปในตัว เพราะเป็นลูกหลานกันเองทั้งนั้น..

ยังไม่พอรัฐก็พูดถึง ก็สนับสนุน เพราะที่นั่นเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเี่ที่ยวแห่งหนึ่งคือสิมอีสาน ที่มีภาพจิตกรรมอีสานโบราณแท้ชื่อสินไซ..รัฐก็เข้ามาสนับสนุนเรื่องการท่องเที่ยวอีก..ก็เจอลิเกคณะนี้อีก...เกิดการส่งเสริม หรืออย่างน้อยก็มีพูดถึงเป็นเรื่องเป็นราวอีก.."

....

OK ครับ อาจจะไม่ใหญ่โตขั้นจริงจังทุกภาคส่วน Green เกินร้อย ยั่งยืนข้ามศตวรรษ..แต่ก็พอเห็นภาพครับว่า ถ้าจะปลูกฝังกันแต่อนุบาล ทุกคนมีส่วนร่วม ภาครัฐช่วยนี่ สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการ "จุดประกาย" ครับ..นี่เป็นเพียงวิธีหนึ่ง ซึ่ง ในวง KM พอคนเข้าใจตัวอย่างแล้ว..คนจะค่อยๆเล่าเรื่องดีๆออกมา เราก็จะได้แนวทางดีๆ ที่เป็นไปได้อีกมาก และถึงแม้บางคนเขาจะตอบไม่ได้ ก็จะมีคนเล่าเรื่องแทนครับ.. บางคนเคยทำในบางเรื่องได้ ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงขั้นเกิดเสนอความช่วยเหลือกันในภายหลังก็มีครับ..

....

นี่ไงครับ...แนวทางลดอาการปวดตับ เวลาทำ KM กับคนกลุ่มใหญ่ อย่าปล่อยให้ใครเล่าเรื่องกู้โลก ชนิดต้องกู้กันตั้งแต่อนุบาล..แถมยั่งยืน มีส่วนร่วม Green อีกต่างหาก รัฐจริงจังตลอดไป..โดยที่ทุกคนงง..หาทางออก หาวิธีทำไม่ได้..กลายเป็นความรู้ที่เอาไปต่อยอดยากไปครับ...ยิ่งถ้าคนพูดก้าวร้าวนี่ ถึงกับปวดตับมาทั้งห้องประชุม..ก็มีมาแล้ว..

...

ลองถามหาตัวอย่างง่ายๆ ไม่ต้องสมบูรณ์แบบอะไรมากครับ... ประเภทได้ผลนิดๆก็ได้..แล้วค่อยต่อยอดกันครับ...จะได้อะไรอีกมาก..

คุณล่ะ คิดอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #ai summit#appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 424874เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2011 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

     *  บันทึกนี้โดน และ ถูกใจสุดๆ ครับ อาจารย์  คงต้องขออนุญาตนำไปเผยแพร่ในที่ต่างๆครับ

     *   จากประสบการณ์ของผมนะครับ  ในวงการศึกษา เวลามีการประชุมสัมมนาแล้วให้แสดงความคิดเห็น  ก็มักจะมีคำตอบประเภท "กู้โลก" พร้อมคำศัพท์เก๋ๆ   เช่น  บูรณาการ  เรื่องนี้ต้องบูรณาการกันทุกภาคส่วน  ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์  ต้องระดมทรัพยากร   ต้องสร้างภาคีเครือข่าย   เน้นการมีส่วนร่วมจากประชาชน  ต้องทำงานแบบจิตอาสา  ต้องใช้สื่อไอซีทีที่หลากหลาย  แสวงหาภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ

   *   ผมไปพบข้อสอบปริญญาโทที่หนึ่ง  ถามว่าถ้าท่านเป็นนายกรัฐมนตรี  ท่านจะพัฒนาการศึกษาอย่างไร   ผมว่าข้อสอบแบบนี้  ก็มีผลทำให้เราคิดแบบ "กู้โลก" นะครับ

   *  ที่ผ่านมา จึงมักจะมีแต่การประชุมพัฒนาแบบ "กู้โลก"แต่ไร้ซึ่ง Action Plan คล้ายกับเป็นการประชุมแบบ Nato (No action talk  only)

เห็นด้วยครับ ท่านอาจารย์ครับ ผมจะเขียน KM เพื่อการกู้โลกในตอนต่อๆไปด้วยครับ..

มีอะไรที่ผมเจอมาอีก

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ให้เกียรติแวะมานะครับ

ขอบคุณ น้ำหยดหนึ่ง ช่วยเติมแก้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท