แนวโน้มเศรษฐกิจโลก 2011


โดยปกติแล้ว เดือนมกราคมของทุกๆปี แอมมี่มักจะได้รับเชิญให้ไปบรรยายในเรื่องของ “แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและระดับภูมิภาค” ให้กับองค์กรต่างๆอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ปีนี้ เริ่มบรรยายให้กับบริษัทผู้ผลิตกระจกนิรภัยอันดับต้นของประเทศ ผู้เข้ารับฟังก็มีทั้งชาวญี่ปุ่นและผู้บริหารชาวไทย จำนวน 170 ท่าน

แอมมี่เชื่อว่าการที่เราเข้าใจแนวโน้มทางเศรษฐกิจและวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับโลกที่อาจจะกระทบมาถึงระดับภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย จะช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมองค์กรของเราในทุกๆด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

ปีที่ผ่านๆมา โลกเผชิญกับวิกฤตต่างๆมากมาย เช่น วิกฤตพลังงาน วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง วิกฤตการขาดแคลนอาหารและน้ำสะอาด (โดยเฉพาะ โซนที่เพิ่งผ่านภัยธรรมชาติร้ายแรงมาหมาดๆ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ซีนามิ พายุไต้ฝุ่น เฮอริเคน หิมะถล่ม หรือน้ำท่วมใหญ่) วิกฤตโรคระบาด และวิกฤตการก่อการร้ายและความเชื่อที่แตกต่าง

ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลหรือเป็นต้นตอสำคัญอย่างยิ่งใหญ่ต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะถ้าเกิดวิกฤต ไม่ว่าจะเรื่องอะไร เศรษฐกิจจะหยุดชะงักทันที

เช่น การประท้วงในอียิปต์ --> ส่งผลต่อทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจาก อียิปต์มีจุดยุทธศาสตร์สำคัญ คือ คลองสุเอซ ที่เป็นเส้นทางลำเลียงน้ำมันและปัจจัยต่างๆ จากตะวันออกกลางไปสู่ยุโรปและทวีปอเมริกา (ทั้งเหนือและใต้) รวมทั้งส่งมาทางทวีปเอเชีย (โดยไม่ต้องอ้อมแอฟริกาทั้งทวีป) ช่วยให้ประหยัดค่าขนส่ง และ ลดความเสี่ยงจากโจรสลัด (ในโซมาเลีย) หาคลองสุเอซถูกปิด ราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนของภาคการผลิตทั้งมวลจะสูงขึ้นมหาศาล (ซึ่งปัจจุบันก็สูงขึ้นแล้ว)-> ส่งผลต่อเนื่องให้ข้าวของทุกอย่างราคาแพงขึ้นด้วย ประกอบกับ หากไม่มีน้ำมันในการผลิต ก็จะดึงให้ภาคการผลิตต้องหยุดชะงัก ผลกระทบแรกที่เจอคือ น้ำมันปาล์มและน้ำตาลที่ใช้ในการบริโภคก็ราคาสูงขึ้น ต้องปันส่วนซื้อ-ขาย (เพราะทั้ง 2 อย่างเป็นทั้งพืชบริโภคและพืชพลังงาน)--> เมื่อหยุดผลิต บริษํทก็จำเป็นต้องปลดคนงานออก -->คนไม่มีงาน ก็ไม่มีเงิน เศรษฐกิจถดถอย โจรผู้ร้ายก็จะชุกชุมเพิ่มขึ้น -->ผู้คนส่วนใหญ่ก็มีชีวิตที่ไม่ปลอดภัย อยู่บนความกลัว บรรยากาศซึมเซากันทั้งประเทศ

อีกตัวอย่างง่ายๆ คือ การรบกันที่ชายแดนพม่า อาจจะไม่เกี่ยวกับไทย (เพราะพม่ารบกันเอง) แต่เราซื้อไฟฟ้าจากพม่ามาใช้ถึง 70% ของปริมาณการใช้ของเรา ถ้ารบกันหนัก หากเกิดกรณีพม่าหยุดส่งพลังงานไฟฟ้ามาให้เรา  ซึ่งในชีวิตประจำวันเราใช้พลังงานไฟฟ้าทำกิจกรรมมากมาย หุงข้าว ดูทีวี ตู้เย็น แอร์ ผลิตสินค้าต่างๆ  ลองคิดดูค่ะว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง และรบกันมันไม่ดีค่ะ ดูที่ฟากเขมรก็ได้ ประชาชนเดือดร้อน ต้องอพยพหนีตายจากสงครามกันจ้าละหวั่น ผู้คนในประเทศตกอยู่ในความประหวั่นพรั่นพรึง (ระยะทางบินจากสองประเทศเพื่อนบ้านมากรุงเทพฯ ใกล้นิดเดียวเอง) นี่แค่เรื่องพลังงานนะคะ

ในคลาสแอมมี่เล่าถึงภาพรวมในทุกเรื่อง ทั้งเรื่องของเงินสกุลดอลล่าร์ที่กำลังอ่อนตัว เรื่องของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ BRICs (Brazil Russia India China) ที่น่าจับตา โดยเฉพาะประเทศจีน ที่มีภาคการผลิตขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันอยู่ในอันดับสองของโลก (รองจากอเมริกา เบียดญี่ปุ่นไปอยู่อันดับสามได้สำเร็จ) และปริมาณการผลิตโดยเฉพาะชิ้นส่วนรถยนต์สูงมากๆ ทำให้จีนได้เปรียบด้านราคา หลายองค์กรจึงต้องจับตาดูและประเมินสถานการณ์บ่อยๆ เพื่อปรับกลยุทธ์ให้สามารถแข่งขันกับจีนได้แบบไม่เจ็บช้ำมากนัก หรือหาทางร่วมมือไปเลยค่ะ

และกลับมาดูที่ประเทศไทยที่มีจุดอ่อนหลักๆ ก็คือ เสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมือง โดยเฉพาะนโยบายการบริหารประเทศที่ยังไม่ได้เป็นในเชิงรุกมากนัก รัฐบาลมาจากหลายพรรค ทำให้ไม่สามารถประสานนโยบายต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวได้และขัดผลประโยชน์กันเองอย่างเห็นได้ชัด แล้วก็ยังไม่สามารถบริหารจัดการหรือมีนโยบายที่จริงใจพอในการแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งการควบคุมผู้ชุมนุมและปัญหาปากท้อง ซึ่งในภาคเอกชนอาจจะต้องทำใจและพึ่งตนเองไปก่อน

ส่วนเรื่องที่หากอยากจะให้รัฐบาลช่วยเหลืออะไร จำเป็นจะต้องรวมกลุ่มกันให้เหนียวแน่นเพื่อต่อรองและขอความช่วยเหลือค่ะ

ในชั้นเรียนหลักสูตรอื่นๆ นั้น แอมมี่ก็มักจะชอบเล่าเรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกประกอบสั้นๆ ก่อนที่จะลงลึกในเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมและแนวโน้มสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจะได้ประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์ทางเลือกในการวางกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานต่างๆ ได้อย่างสอดคล้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพค่ะ

อิศราวดี (แอมมี่) ชำนาญกิจ

8 กุมภาพันธ์ 2554

หมายเลขบันทึก: 424839เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2011 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

G2K ปรับปรุงระบบจริงๆนะเนี่ย  ไม่สามารถทำอะไรให้สวยงามได้เลย ไม่มีกล่องให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอักษร  เพิ่มสี เพิ่มขนาด ใส่รูปก็ไม่ได้  เอ๊ะ ยังไง

ต้องขอประทานโทษท่านผู้อ่านนะคะ

 

ไว้เค้าแก้เสร็จจะมาปรับ เอนทรี่นี้ก็แล้วกันค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์แอมมี่

              มีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยายครั้งนี้จากอาจารย์  เสียดายจังค่ะ เวลาน้อยไปหน่อย หวังว่าจะมีโอกาสต่อๆไปที่ได้รับความรู้จากอาจารย์แอมมี่นะคะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาแสดงความเห็นค่ะ

เจอกันคราวหน้านะคะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท