ชื่อเรื่องวิจัย ยาวทำไม? : การวิจัยเชิงสำรวจ


ควรเลือกชื่อที่สั้นที่สุดที่มีความหมายพอๆกับชื่อที่ยาว

ตัวอย่างเช่น

การสำรวจความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น ป.๑ - ๓  ในเขตกรุงเทพมหานคร  ปีการศึกษา ๒๕๔๙

ตัวแปรที่ศึกษาตามชื่อเรื่องนี้คือ  ความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์   ส่วนข้อความว่า  นักเรียนชั้น ป.๑ - ๓ ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา ๒๕๔๙  เป็นเรื่องของกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งเรากล่าวไว้อย่างละเอียดในรายงานในบทที่ว่าด้วยวิธีดำเนินการวิจัย

ความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ป.๑ - ๓ (ที่วัดจากการตอบแบบสอบถาม)  เป็นข้อเท็จจริงอย่างกว้างๆ

ความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ป.๑ - ๓ ในเขตกรุงเทพมหานคร   ก็เป็นข้อเท็จจริง  แต่แคบลง  หรือมีความเป็นเฉพาะมากขึ้น

ความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นป.๑ - ๓ ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา ๒๕๔๙   ก็เป็นข้อเท็จจริง  และยิ่งมีความเป็นเฉพาะมากขึ้นไปอีก

ความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นป.๑ -๓ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่กำลังเรียนอยู่ในวันจันทร์ที่ ๘ เดือนมกราคม เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ปีการศึกษา ๒๕๔๙  ก็เป็นข้อเท็จจริง  และยิ่งมีความเป็นเฉพาะมากขึ้นไปอีก !

ข้อเท็จจริงที่เข้าใกล้ข้อเท็จจริงที่แท้จริงมากที่สุดก็คือ  ชื่อสุดท้าย  แต่มันยาวเกินความจำเป็นของชื่อเรื่อง  ความจำเป็นของชื่อเรื่องก็คือ มันทำหน้าที่สรุปของเรื่องโดยรวม  โดยกล่าวถึงตัวแปร  และหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(ถ้ามี)เป็นสำคัญ  นอกนั้นก็ให้เป็นหน้าที่ของเรื่องวิธีดำเนินการวิจัย(Method)

ดังนั้น  เราจึงเลือกเอาข้อความที่สั้นที่สุดที่ระบุตัวแปรและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้น(ถ้ามี)   และได้ความหมายพอๆกับชื่อที่ยาวที่สุด  นอกนั้นก็ให้เป็นหน้าที่ของเรื่องวิธีดำเนินการวิจัย  จะเหมาะกว่า  ซึ่งชื่อเรื่องที่ควรจะเป็นก็คือ  ความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ป.๑ - ๓ ในเขตกรุงเทพมหานคร   หรือจะเพิ่มคำว่า   การสำรวจ....  เข้าไปข้างหน้าด้วยก็ได้   นอกนั้นให้เป็นหน้าที่ของเรื่องวิธีดำเนินการวิจัย

หมายเลขบันทึก: 42483เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2006 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แวะมาเก็บเกี่ยวความรู้ครับผม
  • ขอบพระคุณมากครับ

มาเรียนรู้กับอาจารย์ครับ

ผมมองอีกอย่างครับ (ความคิดผม) การตั้งชื่อ งานวิจัย สำคัญเพราะ เป็นการเร้าให้คนอื่นๆมาอ่านงานศึกษา หากเนื้อหาดีมาก แต่ หัวข้อเรื่องไม่เร้าความสนใจ ก็ทำให้หลายๆท่าน ไม่ค่อยหยิบมาอ่านครับ 

ตามสองท่านมาคะ...

น้อมนำสู่ปัญญา...เพื่อเติมเต็ม...

ในสิ่งที่ "ตน"...ยังไม่รู้

ชื่อ..วิจัย...จะสะท้อนถึงงานที่เราทำ...

เพียงมองแค่ชื่อ...เราก็พอรู้ได้ว่า..

งานนี้พูดถึงเรื่องอะไร...ทำให้ไม่ต้องตีความมากมาย...

เห็นด้วยกับท่านอาจารย์อย่างยิ่งคะ..ว่า "ชื่อควรสื่อ-หากเขียนให้สั้นแต่ได้ใจความ...ก็น่าจะใช้แทนชื่อยาวๆ ได้"

ขอบคุณ คุณขจิต ฝอยทอง   คุณจตุพร วิศิษฐ์โชติอังกูร   และ Dr.Ka-Poom  ที่ได้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นที่มีคุณค่า ครับ

ลองเข้ามาเฉยๆ แต่ไม่คิดเลยว่าจะได้อะไรดีๆกลับไปเยอะกว่าที่คิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท