KM0040 : บรรทัดฐานทางสังคมกับบรรทัดฐานทางการตลาด


ผมเคยเห็นหลายองค์กรหลายหน่วยงานมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้าหรือประชาชน แต่อาจลืมนึกถึงคนของตัวเอง (ซึ่งมองอีกทีก็คือลูกค้าหรือประชาชนเหมือนกัน) เมื่อเป็นเช่นนั้นบรรทัดฐานทางการตลาดจึงเกิดขึ้นในองค์กร
ได้อ่านหนังสือของ Dan Ariely เรื่อง Predictable Irrational หรือแปลเป็นไทยว่า "พฤติกรรม พยากรณ์" เป็นหนังสือเกี่ยวกับ "เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม" (behavioral economics" ที่น่าสนใจเล่มหนึ่ง มีเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงและน่าสนใจเป็นอย่างมาก คือ เรื่องต้นทุนของบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งผมคิดว่าน่าเป็นข้อคิดที่ดีในการบริหารจัดการองค์กรได้ รายละเอียดของบทนี้กล่าวถึง บรรทัดฐานทางสังคม (social norms) และบรรทัดฐานทางตลาด (market norms)
บรรทัดฐานทางสังคม คืออะไร ผมยกตัวอย่างเช่น การที่คุณไปช่วยเพื่อนขนของย้ายบ้าน ก็ไม่ได้หมายความว่าเพื่อนจะต้องมาช่วยคุณย้ายบ้านเดี๋ยวนั้น ดังนั้นบรรทัดฐานทางสังคมจึงดูทั้งอบอุ่นและคลุมเคลือ
ส่วนบรรทัดฐานทางการตลาดนั้นตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง ไม่มีทั้งความทั้งอบอุ่นและคลุมเคลืออยู่เลย คือการแลกเปลี่ยนอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง ราคา ค่าเช่า ดอกเบี้ย และการเปรียบเทียบต้นทุนกับผลประโยชน์ (benefit - cost principle) ซึ่งไม่ได้หมายความถึงความเลวร้ายแต่เป็นเรื่องของความเท่าทียม
ทีนี้มันมาเกี่ยวพันกับการทำงานในองค์กรอย่างไร ผู้เขียนซึ่งเป็นนักวิจัยได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลการทำงานบางอย่างกับบรรทัดฐานทั้งสอง รายละเอียดผมไม่เขียนมาก แต่ผลสรุปออกมาว่า คนที่ถูกจ้างให้ทำภารกิจด้วยเงินที่ต่างกันจะให้ผลงานที่ไม่เท่ากัน คือ จ้างน้อยทำน้อย จ้างมากทำมาก ในขณะที่อีกกลุ่มเป็นการอาสาสมัครไม่มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง พบว่าทำภารกิจได้มากที่สุด ผลการทดลองนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง  นั่นหมายความว่าหากใช้บรรทัดฐานทางสังคมน่าจะทำให้ผลงานออกมาดีกว่าบรรทัดฐานทางการตลาด
ผมไม่ได้เชื่อผลการทดลองนี้ซะทั้งหมด เพราะมันคงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรหลายอย่าง แต่เราคงเคยได้ยินเพื่อนร่วมงานพูดว่า "เงินเดือนแค่นี้ก็ทำงานแต่นี้" หรือ "หมดเวลาทำงานแล้ว" หรือ "วันศุกร์แห่งชาติ" หรือหากในหน่วยงานของรัฐอาจได้ยินว่า "ซีแค่นี้ก็ทำแค่นี้" เป็นต้น ปัญหาคือเราจะสร้างบรรทัดฐานทางสังคมในองค์กรให้เกิดขึ้นได้อย่างไร แน่นอนคงหนีไม่พ้นเรื่องของ "ความสุข" และ "ความสัมพันธ์" ผมชอบประโยคหนึ่งของ Stephen Covey ใน The 7 habits ฯ ที่ว่า "ใส่ใจกับพนักงานของคุณให้เหมือนกับที่คุณต้องการให้เขาดูแลลูกค้าที่ดีที่สุดของคุณ"  ผมเคยเห็นหลายองค์กรหลายหน่วยงานมีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้าหรือประชาชน แต่อาจลืมนึกถึงคนของตัวเอง (ซึ่งมองอีกทีก็คือลูกค้าหรือประชาชนเหมือนกัน) เมื่อเป็นเช่นนั้นบรรทัดฐานทางการตลาดจึงเกิดขึ้นในองค์กร
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 424183เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2011 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยว่า "ใส่ใจกับพนักงานให้เหมือนกับ... " แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นกับ จิตสำนึก พื้นฐานการอบรมจากครอบครัว การศึกษา ทัศนคติ  ด้วย  สังเกตจากพฤติกรรมและความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของคนไทยบางคน ยังต่างกับ ญี่ปุ่น จีน มากกกก (ยกตัวอย่าง)  ส่วนใหญ่พบในบางแห่งของหน่วยบงานรัฐ  แต่เดี๋ยวนี้  น่าจะดีขึ้นเยอะ  เคยมีเพื่อนบางคนได้ทุน กพ.จนจบสูงสุด รวยหุ้น 50 อันดับแรกของประเทศ  ตั้งใจรับงานราช...เงินเดือนหมื่นเศษ ยังบอกว่า ทุกวันนี้ ราช...อยู่ได้ก็เพราะมี 30% ของคนที่ตั้งใจทำงานจริง 

อันนี้เห็นด้วยครับ ส่วนที่ท่านบอกว่าราชการอยู่ได้เพราะมีคนตั้งใจ ๓๐% ส่วนตัวผมก็ว่าดีนะครับ เพราะยังมีคนตั้งใจอยู่ และเชื่อว่าระบบราชการคงจะสามารถให้คนที่ตั้งใจเหล่านี้ขยายเชื้อแห่งความตั้งใจออกไปได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท