เมื่อกล่าวถึงเรื่องของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก คือ  จิตสำนึกจะเป็นสมมุติสัจจะคือสำนึกว่าอะไรดีหรือไม่ดี  แต่จิตใต้สำนึกจะเป็นปรมัธสัจจะ  เนื่องจากจิตใต้สำนึกเป็นสิ่งที่เกิดจากเจตนาแฝง  แล้วหากว่าใครก็ตามที่ไม่รู้จักสำรวจตนเองให้ดีแล้วมีประสิทธิภาพแล้ว  การกระทำในระดับเจตนาแฝงซึ่งเป็นปรมัสัจจะก็จะไม่ดีด้วยจิตใต้สำนึกอย่างแท้จริง  การกระทำอะไรด้วยจิตใต้สำนึกจะเป็นสิ่งที่ทำอะไรให้เกิดขึ้นเป็นไปอย่างอัตโนมัติ  ถ้าเจตนาแฝงไม่ดีโอกาสในการสร้างบาปโดยอัตโนมัติก็มีมากขึ้น  แล้วการสำรวจตนเองต้องหมั่นทำอยู่ตลอดเวลา  เมื่อเราสำรวจตนเองอย่างละเอียดถี่ถ้วน  จิตสำนึกที่ดีจะเปลี่ยนเป็นจิตใต้สำนึกที่ดีได้เอง

จิตสำนึกที่ดีแต่จิตใต้สำนึกไม่ดี  หากสมมุติว่าทำอะไรออกมาผลที่เกิดขึ้นจะถือว่าเป็นการทำบาป  หากจิตสำนึกไม่ดีแต่จิตใต้สำนึกดีผลที่เกิดขึ้นคือการสร้างบุญ  ในระดับกระบวนทางความคิดนี้จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ  นั่นหมายความว่าถ้าจิตใต้สำนึกไม่ดีแต่จิตสำนึกดีย่อมถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก  คนเราส่วนมากมักมองเจตนาในระดับที่เป็นลักษณะจิตสำนึกเท่านั้น  จิตสำนึกจะเรียกอีกอย่างว่าสามัญสำนึก  แต่จิตใต้สำนึกจะถูกผลักดันแล้วแฝงออกมาปะปนอยู่กับการกระทำในระดับจิตสำนึกเสมอ  ทำให้สิ่งที่ตนเองแสดงออกให้คนอื่นรู้  บิดไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น  เช่นทำออกมาแล้วตนเองและคนอื่นเห็นว่าดี  แต่ผลเกิดขึ้นกับตนเองกลับไม่ดี  เพราะเจตนาแฝงที่ลึกลงไปไม่ดี  เช่นเจตนาหลักหรือจิตสำนึกที่แสดงออกให้คนอื่นเห็นนั้นดี  แต่เจตนาแฝงทำไปด้วยอคติแห่งความกลัว  ถึงแม้เจตนาหลักจะดีแต่มื่อทำสิ่งนั้นออกไปแล้วด้วยความกลัว  ผลที่เกิดขึ้นกับตนเองย่อมไม่ดี  เพราะผู้ทำอะไรให้คนอื่นด้วยอคติแห่งความกลัว  แม้ผลที่ออกมาจะดีต่อผู้อื่นเพียงใดก็ตาม  แต่ผลที่ตนเองได้รับย่อมไม่ดีต่อตนเอง  เนื่องจากผู้มีอคติแห่งความกลัวย่อมทำให้ความจริงใจน้อยลง

ความกลัวนั้นหากอยู่ในระดับที่ไม่รู้ตัว  จะถูกแสดงออกมาในลักษณะของการปฏิเสธออกมาทันทีไว้ก่อน  เช่นคุณไม่ได้อาบน้ำใช่หรือไม่  ถ้าคนที่กลัวจะตอบไปเลยว่าเปล่าผมอาบน้ำแล้ว  แท้จริงแล้วตนเองรู้ว่าตนเองก็ไม่ได้อาบน้ำ  การกระทำเช่นนี้จะถูกกระทำไปโดยอัตโนมัติ  แล้วนั่นหมายความว่าเป็นการแฝงไปด้วยความกลัวโดยที่ไม่รู้  ความกลัวนี้จึงถือว่าเป็นสิ่งที่เรียกว่าจิตใต้สำนึกหรือเจตนาแฝง  แต่เป็นเจตนาแฝงที่เร้นลงไปหยั่งรากลึกจนถึงระดับที่ขับดันความกลัวออกมาโดยไม่รู้ตัว  หากผู้ใดสำรวจตนเองไม่ดีแล้วมองไม่เห็นเจตนาแฝงในระดับลึกลงไปในระดับฝังลากลึก  จะเป็นตัวตัดสินในผลขั้นสุดท้ายว่าการกระทำนั้นจะเป็นการสร้างบุญหรือสร้างบาป

ความกลัวในระดับลึกเช่นนี้มาจากจิตสำนึกในการเอาตัวรอด  การเอาตัวรอดเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต  หรือเป็นปรมัธสัจจะของสิ่งมีชีวิต  สัญชาติญาณแห่งการเอาตัวรอดก่อให้เกิดความกลัวขึ้นในระดับจิตสำนึกแล้วที่เป็นอันตรายคือความกลัวในระดับจิตใต้สำนึกด้วย  แล้วไม่แต่เพียงความกลัวในระดับที่เป็นจิตใต้สำนึกนั้น  ความเกลียด  ความโกรธ  ความหลงในระดับจิตใต้สำนึกก็เป็นอันตรายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  เพราะอคติทั้ง 4  นั้นจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด  หรือแม้แต่เข้าใจผิดในหลักธรรมคำสอนได้  เช่นอคติเพราะความพอใจจะเป็นเหตุทำให้หาเหตุแห่งความชอบธรรมให้คนรักอยู่เสมอ  หากทำไปโดยที่ไม่รู้ตัวจะเห็นว่าคนที่เรารักนั้นเป็นคนดีเสมอ  หรืออาจจะทำให้เข้าใจหลักผิดไปจากความเป็นจริงแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายตามมาได้

จุดชี้ขาดที่จะทำให้ใครก็ตามประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติรรมหรือไม่  จำเป็นที่จะต้องเข้าใจในเรื่องของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก  แล้วให้รู้ตนเองให้ได้  แล้วมองให้ออกว่าตนเองมีเจตนาแฝงอย่างไร  หากว่าใครก็ตามยังมีอคติทั้ง 4 อยู่ไม่ว่าจะเป็น พอใจ หลง โกรธ กลัว จะทำให้ผู้นั้นเข้าถึงแล้วแก้ไขเจตนาในระดับจิตใต้สำนึกได้ยากยิ่ง  เพราะอคติเพราะพอใจจะเป็นอุปทานหาเหตุให้คนที่ตนเองรถูกเสมอแล้วพยายามหาให้ได้   อคติเพราะหลงจะพยายามหาเหตุให้ตนเองดูดีกว่าคนอื่นไห้ได้  อคติเพราะโกรธจะทำให้ผู้ที่เราโกรธทำอะไรก็ขัดใจเราไปเสียทุกอย่าง อคติเพราะกลัวทำให้ผู้นั้นขี้ขลาดไม่กล้าปฏิบัติหรือทำในสิ่งที่ถูกต้อง  อคติทั้ง 4 นี้เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว  จะทำให้ผู้นั้นไม่สามารถให้เหตุผลที่ชอบธรรมต่อผู้อื่นได้  เช่นอคติเพราะหลง  หากตนเองว่าตนเองปฏิบัติธรรมได้ดีกว่าผู้อื่นก็จะไม่สามารถอธิบายให้ผู้นั้นยอมรับในเหตุผลที่ตนเองอธิบายให้เขาฟังได้  จิตสำนึกของตนก็จะไม่ดีแล้วจะกระทำอะไรไปด้วยความประมาทเสมอ

จะเห็นได้ว่าอคติเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติธรรมเสมอ  เพราะผู้มีอคติจะไม่อาจเข้าถึงแล้วแก้ไขจิตใต้สำนึกของตนได้  เนื่องจากประตูด่านหน้าของจิตใต้สำนึกคืออคติ  ถ้าหากไม่มีอคติจะทำให้ผู้นั้นให้เหตุผลแล้วเป็นเหตุผลที่ชอบธรรมได้  นั่นจะพิสูจน์ได้ว่าผู้นั้นมีหรือหลุดพ้นจากอคติได้  เหตุผลที่ชอบธรรมย่อมเป็นปรมัธสัจจะแล้วไม่อาจหาเหตุใดมาหักล้างเหตุผลนั้นได้เลยจึงเชื่อว่าผู้นั้นปราศจากอคติทั้ง 4