dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

รู้จักการเขียนในเด็กปฐมวัย


รู้จักการเขียนในเด็กปฐมวัย

g                                  การเขียนของเด็กปฐมวัย: ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจ

 

               การเขียนเป็นการพัฒนาการทางภาษาที่มีความสำคัญไม่แตกต่างจากการฟัง  พูด    และอ่าน   จุดมุ่งหมายของการเขียนในเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนจากขั้นง่ายๆไปสู่ขั้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น  เด็กต้องการประสบการณ์ในการเขียนตั้งแต่การทำเครื่องหมาย  การทดลองเขียนคำ  การเขียนประโยค  เพื่อที่จะได้เกิดสิ่งที่ค้นพบว่าเครื่องหมายต่างๆ ที่เด็กได้ทดลองนั้นมีความหมายสำหรับตนเอง       การเขียนเป็นทักษะที่มีความยุ่งยาก  เพราะต้องใช้ความคิด   ความรู้สึก  ประสบการณ์และความสามารถเฉพาะตัวของเด็กแต่ละคน   ฉะนั้นรอยขีดๆ  เขียนๆ  ซึ่งอาจจะเขียนอย่างมีความหมายและไม่มีความหมายตามความเป็นจริงหรือไม่นั้นจะเป็นการพัฒนาด้านการเขียนเป็นขั้นๆ  ไป    ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วการพัฒนาการเขียนเริ่มจากการจับปากกาหรือดินสอลากไปบนกระดาษ  แล้วสามารถบอกได้ว่ารอยขีดเขียนต่างๆ  ที่ปรากฏในกระดาษนั้นคืออะไร       ตลอดจนเด็กสามารถเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวได้อย่างไรบ้างและให้ตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าการเขียนของเด็กปฐมวัย คือ  การที่เด็กขีดเขียนถ่ายทอดเรื่องราวความคิดออกมาอย่างมีความหมาย  เด็กสามารถบอกได้ว่าเขาเขียนอะไร   การเขียนของเด็กไม่เน้นความสวยงามหรือถูกต้องตามหลักการเขียน  แต่การเขียนในเด็กปฐมวัยจะเป็นไปตามพัฒนาการและความสามารถเฉพาะของเด็กแต่ละคน   ประเด็นตรงนี้ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทุกฝ่ายจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติ  อย่าบังคับให้เด็กเขียนในขณะที่เด็กยังไม่พร้อมที่จะเขียน  และบังคับให้เด็กเขียนตามรูปแบบที่ผู้ใหญ่ต้องการ   ฉะนั้นการพัฒนาการเขียนในเด็กปฐมวัยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเขียนที่จะต้องคำนึงดังนี้

               1 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเขียน  การเขียนเป็นทักษะที่ต้องใช้อวัยวะของร่างกายหลาย

อย่างประกอบกันดังนี้คือ

                       มือ  การพัฒนากล้ามเนื้อมือมีส่วนสำคัญในการเขียน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง

                       ตา  การเขียนมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้สายตาในการดูขณะเขียน   การมอง

ภาพของตัวสัญลักษณ์ต่างๆ ตาจึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

                       ความสัมพันธ์ระหว่างตากับกล้ามเนื้อ   การเขียนต้องอาศัยตามอง  และอาศัยกล้าม

เนื้อมือในการเขียนสิ่งที่มอง 

                2  สมองหรือสติปัญญา   การเขียนเป็นพัฒนาการที่อาศัยสติปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญ  และมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเขียน เพราะสมองจะต้องทำหน้าที่ในการรับรู้และจำสิ่งต่างๆ ซึ่งได้แก่การสังเกตสิ่งที่เขียน  การเห็นความสัมพันธ์ของเรื่องที่เขียน   การลำดับความคิด  การจำลักษณะของตัวอักษะ   คำ  ประโยค   และข้อความ

                  นอกจากนั้นการเขียนมีการเชื่อมโยง    ความสัมพันธ์และต่อเนื่องกัน  สติปัญญหรือสมองจะต้องทำหน้าที่นี้

                 3 สิ่งแวดล้อม    การเขียนเป็นทักษะที่ต้องอาศัยประสบการณ์ต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางการฟัง    พูด  อ่าน  และเขียนต้องมีสิ่งแวดล้อมทั้งทางบ้าน  ทางโรงเรียน   ตลอดจนสังคม  ซึ่ง

เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันและมีบทบาทต่อการพัฒนาทักษะการเขียน

                  สิ่งที่กล่าวข้างต้นเป็นการกล่าวถึงความหมาย  และปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเขียนของเด็กปฐมวัย  จึงเป็นข้อควรคำนึงในการพัฒนาการเขียนของเด็กเล็กๆคือ   อย่าพัฒนาการเขียนของเด็กโดยการใช้ประสบการณ์เดิมๆ  ที่ผู้ใหญ๋ได้รับเท่านั้น   ยังมีความรู้อีกมากที่จะต้องนำมาใช้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา              

            

หมายเลขบันทึก: 423338เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
นางสาวณัฐธิดา ทองเภา

การเขียนของเด็กปฐมวัย หรือเด็กเล็กนั้น ดิฉันเห็นด้วยกับการที่ให้เด็กไ้้ด้หัดวาด หัดจับ หัดสัมผัส กับที่สิ่งที่ใช้เขียน แล้วให้เด็กได้ใช้จินตนาการของแต่ละคน โดยที่เราไม่ต้องไปบังคับ หรือใช้กฏเกณฑ์กับเด็ก ให้เด็กได้ขีดเขียน ไปตามความคิดของเด็กเหล่านั้นโดยอิสระ  จะทำให้เพิ่มพัฒนาการของเด็กต่อไป อย่างน้อยก็เป็นการฝึกปราสาทสัมผัสของเด็ก และที่สำคัญยังฝึกการเป็นคนอดทน  การเป็นคนที่รู้จักคิด  รู้จักสร้างสรรค์ ค่ะ

นางสาวราตรี โกมลเปริน

จากบทความทำให้รู้ว่าการหัดเขียนของเด็กปฐมวัยมีปัจจัยทางด้านอวัยวะคือกล้ามเนื้อ และตา  ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากและควรคำนึงถึงในการหัดเขียนของเด็ก  และการเขียนของเด็กนั้นต้องเป็นไปตามพัฒนาการและความสามารถของเด็กแต่ละคน

นางสาววราภรณ์ อัครวิจิตร

การเขียนของเด็กปฐมวัยนั้น ครูควรให้ความสำคัญกับกล้ามเนื้อมือและประสาทสัมผัส  ครูควรให้เด็กทำกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารกล้ามเนื้อมือ โดยอาจให้เด็กเล่นปั้นดินน้ำมัน หรือวาดภาพระบายสี เพื่อให้เกิดทักษะในการควบคุมกล้ามเนื้อ

การให้เด็กเขียนในระดับเด็กปฐมวัยนั้น ครูปฐมวัยควรให้เด็กฝึกกล้ามเนื้อมือก่อนที่จะให้เด็กหัดเขียน เพื่อเป็นการพัฒนาให้กล้ามเนื้อมือมีการใช้งานให้ระดับหนึ่ง จะได้ให้เด็กได้เขียนอย่างมีทักษะ

นายวัชราวุฒิ อุทัยอัน

การให้เด็กได้ฝึกการเขียนในเด็กปฐมวัยนั้น จะช่วยให้เด็กได้เกิดทักษะ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อ การพัฒนากล้ามเนื้อมือมีส่วนสำคัญในการเขียน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง อีกทั้งยังเป็นการฝึกการใช้สายตาของเด็ก 

นางจารุณี ศิริเลิศ

การเขียนของเด็กขึ้นอยู่กับความพร้อมและวุฒิภาวะบวกกับการกระตุ้นกล้ามเนิื่้อมือและตาให้มากๆและเมื่อวุฒิภาวะพร้อมการเขียนก็จะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับเขา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท