แสงที่วูบดับลงที่สนามหลวง


วันนี้ลงพื้นที่ริมคลองหลอด มีคนวิ่งมาบอกว่า “พี่ลุงเปี้ยกแกตายแล้วนะ ได้เกือบเดือนแล้ว” เป็นช่วงที่ทางอิสรชนไปต่างจังหวัดพอดี พอทราบข่าว เราจึงเดินไปหานางสุไร เมียแก และทราบว่าแกนอนเสียชีวิตและรถร่วมกตัญญูมารับไป

 วันนี้ลงพื้นที่ริมคลองหลอด มีคนวิ่งมาบอกว่า “พี่ลุงเปี้ยกแกตายแล้วนะ ได้เกือบเดือนแล้ว” เป็นช่วงที่ทางอิสรชนไปต่างจังหวัดพอดี พอทราบข่าว เราจึงเดินไปหานางสุไร เมียแก และทราบว่าแกนอนเสียชีวิตและรถร่วมกตัญญูมารับไป

            ย้อนไปเมื่อเกือบสิบปี สองตายายที่ใช้ชีวิตคู่ที่สนามหลวงร่วมกันมา เป็นที่รักและนับถือของคนที่สนามหลวง ที่เป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะด้วยกัน  ลุงเปี้ยกจัดอยู่ในผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่ถูกยึดที่ดิน ไม่มีญาติพี่น้อง และตกหล่นทางทะเบียนราษฎร์ (ซึ่งในประเทศไทยมีจำนวนมากและถูกมองผ่านละเลยจากรัฐบาล) ทำให้แกเป็นคนไม่มีบัตรประชาชน มีลูกชายหนึ่งคน  อายุประมาณ 20 กว่าปี ไม่มีบัตรประชาชนเช่นกัน เพราะพ่อและแม่ไม่มีบัตร นางสุไร เป็นคนอิสลามแถวทุ่งครุ ที่ออกมาจากบ้านเพราะครอบครัวไม่ยอมรับ ญาติพี่น้องตีตราทำให้ชีวิตอยู่อย่างเจ็บปวดเมื่อต้องอยู่กับครอบครัวจึงออกมาใช้ชีวิตในที่สาธารณะ และพบกับลุงเปียกและมีลูกชายร่วมกัน 1 คน แต่ลูกชายก็มีครอบครัวและทำงานรับจ้างทั่วไป วันไหนว่างก็แวะมาหาพ่อและแม่ที่สนามหลวง ลูกอยู่ไม่เป็นที่ เพราะเป็นคนงานรับจ้างทั่วไป สองตายายอยู่สนามหลวงมามากกว่า 10 ปี ก่อนที่จะพบอิสรชน และเป็นคู่แรก ๆ ที่อิสรชนเข้าไปดูแลในปี 2546

จนวันนี้ เมื่อทราบว่าลุงเปียกแกจากไปด้วยวัยที่ 60 กว่า และโรคที่เป็นเบาหวานและกระเพาะ ทำให้ชีวิตจบลงที่สนามหลวง  เป็นอีกศพที่จบลงและไม่ได้เผา กลายเป็นศพไร้ญาติ เป็นศพแรกของปีใหม่ เป็นน่าหดหู่และตกใจของอาสาสมัครหลายท่าน ณ เวลานี้ หญิงสาววัย 50 ปลาย ต้องอยู่คนเดียวไม่มีสามีดูแลคุ้มครอง ถึงแม้หน้าที่ในการหาเงินด้วยการเก็บขวดขายหรือแม้แต่การโบกรถตรงไฟแดง เพื่อดูแลสามี จะเป็นของนางสุไร แต่วันนี้ไม่มีสามีคอยคุ้มครองดูแลเป็นเพื่อนยามยาก สนามหลวงก็ถูกปิด จากเมื่อก่อนอยู่กันเหมือนหมู่บ้านพี่น้องดูแลกัน พ่อค้าแม่ค้าดูแลกัน แต่วันนี้ต้องกระจัดกระจายไปนอนคนละทิศคนละทาง คนที่ออกมาสู่ที่สาธารณะใหม่ ๆ หรือเด็กวัยรุ่นก็มาขโมยของแก กลายเป็นผู้หญิงคนเดียวที่อยู่ที่สาธารณะ ลูกแวะเวียนมาเยี่ยมบ้าง แต่แกก็ไม่สบายใจที่จะไปอยู่กับลูก เพราะติดสุรา และญาติก็รับไม่ได้ จึงเป็นอีกหนึ่งชีวิตที่ต้องแล และคนสนามหลวงก็ช่วยกันดูแลแกแทนลุงเปี้ยก

 

เขียนและเรียบเรียงโดย อัจฉรา สรวารี

หมายเลขบันทึก: 423072เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2011 01:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หากเรามองการเกิดและการตายว่าเป็นของทุกคน ชีวิตก็มีความหมายต่อการพัฒนาตัวเองว่าจะมุ่งหน้าไปทางใดก่อนชีวิตจะดับลง ไม่ว่าที่ใดก็ตาม นะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท