สิ่งหนึ่งที่เป็นยอดปรารถนาประการหนึ่ง  คือความอยากมีอำนาจหรือความอยากอยู่เหนือผู้อื่น  เป็นเจ้าคนนายคนสามารถสั่งให้ผู้อื่นใต้ปกครองหรือบังคับบัญชาทำตามที่เราบอกได้  เป็นความฝันใฝ่อยู่ในใจเราอยู่ลึก ๆ  อีกประการหนึ่ง 

แต่การมีนำนาจไม่ว่าจะเป็นการได้อำนาจมาจากที่ใดก็ตาม  หากเราคิดว่าเรามีอำนาจแล้วใช้อำนาจนั้นในทางพระเดช  โดยเฉพาะการใช้วิธีการลงโทษผู้อยู่ใต้อำนาจ  ดูเหมือนว่าการใช้วิธีการนี้จะเป็นวิธีการที่ดี  แต่เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วจะรู้ว่าเป็นวิธีที่ไม่ดีอย่างยิ่ง  อย่างแรกที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด  คือเราไม่สามารถบังคับผู้ใดให้ทำตามที่เราต้องการของเรา  หรือแท้จริงแล้วก็ไม่มีใครสามารถบังคับเราให้ทำตามความต้องการของเขาได้

ดังนั้นหากเรากลายเป็นผู้มีอำนาจหรือจะได้อำนาจมาด้วยวิธีการใดก็ตาม  หากเราคิดว่าเราเป็นคนมีอำนาจ  นั่นหมายความว่าเรากำลังหลงอำนาจ  หากแต่เราใช้อำนาจด้วยพระเดชแสดงว่าเรากำลังบ้าอำนาจ  ทั้งหลงอำนาจและบ้าอำนาจนั้นท้ายสุดจะนำทุกข์มาสู่ตนทั้งคู่  ยิ่งเรามีอำนาจมากเท่าใดเรายิ่งต้องใช้พระคุณให้มากขึ้นเท่านั้น  ให้เราเปลี่ยนจากการใช้พระเดชหรือแม้แต่การลงโทษผู้กระทำผิดเป็นการให้ปัญญาแทน  เช่นอธิบายด้วยเหตุและผลว่าทำสิ่งใดลงไปอย่างไรมีผลต่อเราอย่างไร  หรือถ้าไม่ทำสิ่งนี้แล้วส่งผลต่อเราอย่างไร  นั่นหมายความว่าสิ่งแรกที่เราควรปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  คือการนำปัญญาไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา  ให้ผู้ใต้บังคัญชาเกิดการตระหนักในสิ่งที่ตนกำลังจะทำหรือตนกำลังจะไม่ทำ  ให้เขาพิจารณาด้วยตนเองว่าทำหรือไม่ทำสิ่งนั้นแล้วจะเกิดผลต่อตนเองอย่างไร  จึงจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง

อีกประการหนึ่ง  ให้เราระลึกอยู่เสมอว่า  เราต้องใช้ความเมตตาต่อใต้ผู้บังคับบัญชาให้ได้มากที่สุด  โดยทั่วไปผู้นิยมใช้อำนาจมักมีทัศนะคติว่าจะต้องลงโทษผู้กระทำผิดหรือรวมถึงผู้ที่มีความคิดไม่เหมือนตนหรือขัดแย้งกับตนให้เกิดความหลาบจำ  แต่ผู้มีอำนาจอย่างแท้จริงเขาจะใช้เมตตาแทนการใช้อำนาจ  ใช้ความเมตตาอันบริสุทธิ์ไปสร้างความสำนึกให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา  โดยหลีกเลี่ยงการคิดว่าเราเป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือผู้ใต้บังคับบชาให้ได้มากที่สุด  ผลจะทำให้แทบไม่ต้องใช้การลงโทษหรือใช้วิธีการที่รุนแรงต่อผู้ใต้บังคับบัญชาเลย

ผู้ที่จะใช้ความเมตตาอย่างบริสุทธิ์นี้ได้  จะต้องเป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ไร้สิ่งขุ่นมัวในใจอย่างแท้จริงจึงจะสามารถทำอย่างที่ผู้เขียนอธิบายไว้ได้  เหตุหนึ่งที่ทำให้สังคมโลกเกิดความวุ่นวายมาจากผู้มีอำนาจเน้นใช้อำนาจ  ใช้กำลังต่อผู้อยู่ใต้อำนาจตน  การใช้วิธีการลงโทษไม่ว่าจะสถานเบาหรือสถานหนักก็ตาม  ถึงแม้จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหลาบจำได้ก็จริงอยู่  แต่จะทำให้เกิดการแค้นเคืองของผู้ใต้บังคับบัญชา  เป็นรการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ  ซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือแก้ไขการกระทำผิดของคนได้อย่างแท้จริง  วิธีการลงโทษผู้กระทำผิดเป็นวิธีการที่ทำให้เกิดการแก้แค้นกันไปมาข้ามภพข้ามชาติไม่รู้จักจบสิ้นอีกประการหนึ่งด้วย 

นี่จึงเป็นความหมายที่แท้จริงของคำว่าเมตตาค้ำจุนโลก  เพราะความเมตตาที่บริสุทธิ์ใจต่อผู้กระทำผิดไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ใต้การปกครองของเราหรือไม่ก็ตาม  จะทำให้ผู้กระทำผิดสำนึกในสิ่งที่ตนทำได้อย่างแท้จริง  ด้วยกุศลของความเมตตาที่เรามีจะสามารถก่อให้เกิดสำนึกขึ้นในใจผู้กระทำผิดได้  แล้วจะใม่มีการแก้แค้นกันไปมาอย่างที่ผู้เขียนได้อธิบายไปแล้ว  เนื่องจากกุศลแห่งความเมตตาอันบริสุทธิ์ของเรา  จะไปเร่งให้ธรรมะที่ว่า  กรรมเป็นเครื่องแสดงเจตนาให้มีผลตอบสนองได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น  เมื่อเป็นดังนี้ผู้ใดมีเจตนาอย่างไรย่อมได้ผลตอบสนองกับตนอย่างนั้น  คิดชั่วทำชั่วสิ่งไม่ดีย่อมเกิดขึ้นกับตนเอง  อยากพ้นจากผลอันเป็นบาปนั้นตนก็ต้องสำนึกด้วยตนเอง  นั่นคือหลักของความเมตตาไม่เน้นการลงโทษเป็นหลัก  แต่ผลการกระทำชั่วโดยเจตนาของผู้ใดจะลงโทษผู้นั้นด้วยตัวของเขาเอง  แล้วผลกรรมจะตอบสนองผู้คิดชั่วด้วยเจตนาของเขาได้เร็วเท่าไร  ขึ้นกับว่ากำลังเมตตาที่เรามีต่อเขามากน้อยเพียงใดเป็นสำคัญด้วย  ไม่ต้องห่วงว่าผู้คิดชั่วทำชั่วจะไม่ได้รับผลกรรมนั้น  เพราะถ้าเรามีเมตตาด้วยความบริสุทธิ์อันแรงกล้า  ธรรมะที่ว่าด้วยกรรมเป็นเครื่องแสดงเจตนาย่อมให้ผลปรากฏเป็นจริงเช่นกัน

PostDateIcon วันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2009 เวลา 20:44 น. | PostAuthorIcon Author: ธนวัฒน์ สวัสดิ์แก้ว |