รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

การปฏิบัติศาสนกิจของพุทธศาสนิกชนในชีวิตประจำวัน : ทำบุญตักบาตรในวันธรรมดาและช่วงเทศกาล


ทำบุญตักบาตรในวันธรรมดาและช่วงเทศกาล

การทำบุญตักบาตรถือเป็นประเพณีนิยมและวิถีปฏิบัติของคนไทย

มาเนิ่นนาน คนรุ่นก่อนมักจะพิถีพิถันและ ประณีตในการทำอาหารถวายพระ

ถือเป็นความสุขใจและต้องการให้พระท่านได้ฉันอาหารที่ดีมีประโยชน์และ

มีความ หลากหลาย เพื่อให้ผู้ตักบาตรได้รับบุญโดยสมบูรณ์

แต่เดี๋ยวนี้มีความสะดวกมากขึ้น มีร้านค้าที่ขายข้าวถุง แกงถุง สำหรับใส่

บาตรไว้ให้เรียบร้อย โดยมากจะวางแผงในตลาดบริเวณ

ที่พระเดินบิณฑบาตผ่าน เพื่อสะดวกต่อผู้ซื้อจะได้ตักบาตรได้ทันที

โดยจัดไว้เป็นชุด ๆ มีข้าวหนึ่งถุง  แกงแล้วแต่เราจะเลือก และมีน้ำขวด

เล็ก ๆ  มีข้อน่าสังเกตว่าอาหาร เหล่านี้มีความพิถีพิถันประณีตบรรจงในการ

ประกอบและมีความหลากหลายของรายการอาหารมากน้อยเพียงใด

ผู้ตักบาตรอาจไม่ค่อยสนใจเพราะไม่ได้ตักบาตรทุกวัน

แต่พระที่บิณฑบาตนั้นท่านต้องฉันอาหารซ้ำ ๆ อยู่เสมอ

ทำให้การทำบุญกลายเป็นบุญที่ไม่ประณีตโดยไม่รู้ตัว

หากเราสละเวลามาปรุงอาหารหรือพิถีพิถันเลือกอาหารใน การตักบาตร

ก็จะได้รับบุญโดยสมบูรณ์หมือนคนรุ่นพ่อแม่เราได้ปฏิบัติกันมา

ฉันเองก็เหมือนกัน ความรีบเร่งในภาระกิจยามเช้า

ทำให้ขาดความพิถีพิถันในการใส่บาตร บางวันก็ต้องอาศัยกับข้าวที่ตลาด 

 แต่ก็จะพยามเลือกซื้อที่ไม่ซ้ำซาก หรือคิดว่าคนอื่น ๆ

ไม่ค่อยได้ใส่บาตร เช่น น้ำพริกผัก  น้ำพริกปลาทู ผัดหมี่กะทิ  ห่อหมก

แกงเลียง  พยายามเลือกอาหารที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์

และเหมาะสมกับวัยของพระที่เราใส่บาตร ทั้งนี้เพราะเห็นว่า

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะใส่แกงเป็นหลัก บางครั้งเห็นพุทธบริษัทบางท่าน 

 ถวายดอกไม้ ธูปเทียน อาหารกระป๋อง และน้ำบรรจุขวด

น้ำแต่งกลิ่นใส่สี ใส่วัตถุกันเสียที่เห็นบรรจุในขวดเหมือน น้ำส้ม

ส่วนตัวแล้วฉันคิดว่า น่าจะเพลา ๆ ลงบ้าง  เพราะจะทำให้เป็นภาระในการ

ที่พระจะต้องหิ้วกลับวัด บางครั้งต้องหิ้วน้ำหลาย ๆ ขวด

เพราะสมัยนี้ไม่มีลูกศิษย์วัดเดินตามหลังพระอีกแล้ว

สำหรับช่วงเทศกาล ชาวพุทธจะพากันตักบาตรพร้อมกันมาก

จนอาหารล้นเหลือ ทางที่ดีควรเลือกใส่ อาหารแห้งจะดีกว่า

เพราะเก็บไว้ได้ในวันถัดไปเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารเหลือทิ้ง

สำหรับอาหารแห้งในบางวัดจะมี การจัดเก็บไว้บริจาคให้กับถิ่น

ที่ขาดแคลน เราอาจเลี่ยงไปใส่บาตรวันอื่นที่ไม่ใช่วันเทศกาลแทน

หรือเปลี่ยนไป ถวายสังฆทานที่วัด

 ถวายเงินเพื่อการศึกษาของพระเณรในที่มีกองทุนเพื่อการศึกษา

ของภิกษุสงฆ์ หรือไปปฏิบัติ ธรรม ทำความดีอื่น ๆ ได้อีกมากมาย

หมายเลขบันทึก: 422885เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2011 00:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การทำบุญตักบาตรต่อศาสนา            วันธรรมดาหรือว่าวันสำคัญไหน

ฆราวาสผู้ขัดจิตคิดเข้าใจ                  เป็นหน้าที่ที่ดีไซร้ใฝ่ฝึกตน

การตักบาตรวันธรรมดาน่าชื่นจิต        สุจริตบริสุทธิ์ใจได้กุศล

ส่งเสริมพระโปรดสัตว์ฝึกหัดตน          ได้เริ่มต้นวันใหม่ใจงดงาม

ที่สำคัญการใส่บาตรอันปราณีต          น้อมจากจิตศรัทธาพาเลิศล้ำ

พระมิป่วยไข้ได้ฝึกหัดปฏิบัติธรรม       ใคร่ขอย้ำอาหารพิษติดสบาย

อาหารพิษถวายพระสะสมโรค             จบที่ยกใส่บาตรอาจวางขาย

อาหารร้อนใส่่ถุงสู่พุงใคร                   ทั้งหวานมันอันตรายใส่เพิ่มเติม

ความศรัทธาปราณีตจิตมุ่งมั่น            กุศลนั้นถึงตรงใคร่ิส่งเสริม

บุญทำได้หลายวิธีมีเพิ่มเติม              วันนี้เริ่มเติมบุญใหม่อย่างไรดี

ตื่นขึ้นมาสมาทานอันศีลห้า                แผ่เมตตาให้ทุกคนต้นราศี

เทวดาประจำตนทุกคนมี                   แผ่ให้ดีสัตว์-มนุษย์สุดเทวดา

พระรัตนตรัยพ่อแม่และครูนั้น            จิตตั้งมั่นพระคุณใหญ่ให้เราหนา

แม้นาทีเจริญสติวิปัสสนา                  ตื่นขึ้นมาทำตารางเส้นทางบุญ

  • สวัสดีครับ
  • สมัยนี้มักซื้ออาหารถุงใส่บาตรเป็นส่วนใหญ่ ที่ในมหาลัยผมมีจุดให้ใส่บาตร ก็มีร้านที่ขายอาหารใส่บาตรโดยเฉพาะ สองร้าน แต่ดูเหมือนทำให้รู้สึกว่าขายได้ใส่ครับ เช่น ข้าวผัดถุงเล็กๆ ที่ทาจืดชืด ไข่พะโล้1ฟอง กล้วย2ลูกใส่ถุง ขนมสาคูเล็กถุงๆ นมแลคตาซอยกล่องละ12 บาท (ขายแพงมากไป) ส่วนพระเองก็มาจากหลายที่ บางที่ก็นั่งรถยนต์มาวัดละ 1-2รูป มายืนรอให้คนใส่ตรพอเต็มบาตรก็ให้เด็กวัดมาเอาออกจากบาตรไส่กระสอบไปเก็บไว้ยืนรอให้คนมาใส่เรื่อยๆ เป็นชุดๆ แล้วกล่าวยะถาฯ สัพพีฯ เป็นระยะ จนคนหมดใส่แล้วก็นั่งรถกลับ พระแต่ละที่ก็จะยืนห่างๆ กันแล้วแต่ใครจะใส่ ดูแล้วบางทีก็ไม่ค่อยสบายใจ คล้ายๆ ธุรกิจ ในการทำบุญ
  • ส่วนทางเหนือบ้านผม จะมีการทำอาหารอุทิศไปหาญาติที่ล่วงลับโดยญาติพี่น้อง จะเตรียมอาหารคาวหวาน ผลไม้อย่างดี ไปทำบุญที่วัด เรียกว่าไป "ตานขันข้าว" ในตอนเช้า ทำได้ทุกวันแล้วแต่ใครจะทำวันไหนก็ได้ ขนาดผมจะทอดไข่เจียวไปตาน คนเฒ่าคนแก่ยังห้ามเลยครับ สงสัยจะง่ายไป และเวลาตานก็จะมีคำกล่าวเราก็จะเขียนชื่อผู้ที่จะตานไปหาใส่กระดาษเล็กๆให้พระท่านอ่านอุทิศให้ญาติ คำกล่าวยาวเป็นภาษาทางเหนือ ฟังแล้วสุขใจ อิ่มใจ คล้ายทำสังฑทานครับ

สวัสดีค่ะคุณกิติยาIco48

  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะคุณIco48นายวิโรจน์ พูลสุข

  • ขอบพระคุณสำหรับข้อคิดเห็นเติมเต็มให้กับบันทีกนี้ค่ะ
  • การทำบุญทำได้หลายวิธี
  • แต่บางครั้งก็ต้องไตร่ตรองถึงความควรมิควร
  • เคยไปวัดในวันธรรมดา ช่วงฉันเพล
  • พระแทบไม่มีอาหารที่จะฉันเลยค่ะ
  • เพราะคนนิยมไปทำบุญในวันพระ  คงจะลืมไปว่า พระภิกษุมิได้ฉันอาหารเฉพาะวันพระ
  • แต่ต้องฉันทุกวันเพื่อดำรงชีวิตอยู่  เราจึงไม่นิยมไปทำบุญในเทศกาล  ชอบทำว้นธรรมดามากกว่า
  • ไม่ต้องไปแออัด แย่งชิงพื้นที่กับใคร ๆ เขา

 

สวัสดีค่ะน้องIco48ชำนาญ เขื่อนแก้ว

  • พี่อิงชอบจังเลยข้อคอมเม้นท์ที่ต่อยอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบนี้
  • ทำให้พี่อิงได้ข้อมูล ได้รับรู้ และที่แน่ ๆ ทำให้พี่อิงมั่นใจว่าผู้มาเยือนได้อ่านบันทึกของเราจริง ๆ
  • พี่อิงก็ได้ข่าวมาเหมือนกันเรื่องการบิณฑบาตแบบนี้ เรียกว่า บุญเชิงพาณิชย์ น่าจะได้นะคะ 
  • ขอบคุณน้องชำนาญมากค่ะ ที่แวะมาเติมเต็ม ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เล่าสู่กันฟัง
  • หวังโอกาสหน้าพี่อิงคงได้อ่านข้อคิดเห็นที่ให้ความรู้เช่นนี้จากน้องชำนาญอีกนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท