สัตว์ทะเล ๆ


เอามาดูกันพอสังเขป

 

Penaeus merguiensis De man, 1888, กุ้งขาว, banana prawn, Penaeidae. เป็นกุ้งทะเลขนาดใหญ่ ขนาด 10-25 เซนติเมตร พบทั่วไปตามชายฝั่งจนถึงทะเลลึก อาศัยและวางไข่ในทะเล ตัวอ่อนเข้ามาเจริญเติบโตบริเวณชายฝั่ง ลำตัวใส เปลือกบาง กรีแหลมมีฟันทั้งด้านบนและด้านล่าง เป็นกุ้งเศรษฐกิจที่มีรสชาติดี ราคาสูง นอกจากการจับจากธรรมชาติแล้ว ยังมีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์

Penaeus monodon Fabricius, 1798, กุ้งกุลาดำ, giant tiger prawn, Penaeidae.

เป็นกุ้งทะเลขนาดใหญ่ ขนาด 10-35 เซนติเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลอมแดง มีลายสีดำ และลายขาวพาดตามปล้องท้อง กรีแหลมมีฟันทั้งด้านบนและด้านล่าง มีรสชาติดี มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ดี จึงเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงอย่างกว้างขวางทั่วโลก และกำลังเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง ทั้งการทำลายพื้นที่ป่าชายเลนและคุณภาพน้ำชายฝั่ง

Macrobrachium sp., กุ้งกะต่อม, dwarf prawn, Pelaemonidae.

อาศัยในแหล่งน้ำกร่อยถึงน้ำจืดในคลองและป่าชายเลน ลักษณะคล้ายกุ้งก้ามกราม แต่มีขนาดเล็ก 5-10 เซนติเมตร หัวโต กรีแหลมหยักเป็นฟันเลื่อย ขาเดินคู่ที่ 2 เป็นก้ามใหญ่ ปลายมีสีเหลือง ลำตัวใส ไข่ติดบริเวณท้อง

Thalassina anomala (Jerbst, 1804), แม่หอบ, mud lobster, mangrove lobster, Thalassinidae.

ลำตัวมีสีแดงเข้ม อมน้ำตาล ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ ขาเดิน 2 คู่แรกมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ขุดรูและขนดินออกมากองคล้ายจอมปลวก ส่วนท้องมีขนาดเล็ก ยาวเรียว ไม่มีแพนหาง ลักษณะคล้ายแมงป่อง ขนาด 20-30 เซนติเมตร พบมากทางฝั่งอันดามัน เชื่อกันว่าใช้เป็นยาแก้โรคหืดหอบ

Panulirus polyphagus (Herbst, 1793), กุ้งมังกรเลน, mud spiny lobster, Palinuridae.

พบทั่วไปตามชายทะเล พื้นทรายปนเลน และตามแนวกองหินและแนวปะการัง ตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว มีหนามระหว่างตา 1 คู่ โคนหนวดคู่ที่ 2 มีสีเขียว ปล้องท้องมีลายขาวพาดขวาง นิยมบริโภคและนำมาเป็นเครื่องประดับ

Panulirus versicolor (Latreiller, 1804), กุ้งมังกรเขียว, painted spiny lobster, Palinuridae.

พบตามแนวกองหินและปะการัง มีสีสันสวยงาม โคนหนวดคู่ที่ 2 มีสีชมพู ส่วนหัวมีลายสีดำพื้นเหลือง ปล้องท้องสีเขียว มีลายขาวส่วนท้อง มีหนามระหว่างตา 2 คู่ นิยมนำมาบริโภคและนำเปลือกมาทำเครื่องประดับบ้าน มีราคาสูง

Panulirus ornatus (Fabricius, 1798), กุ้งมังกรเจ็ดสี, ornate spiny lobster, Palinuridae.

พบตามแนวกองหินและปะการัง มีสีสันสวยงาม โคนหนวดคู่ที่ 2 มีสีม่วง หนวดมีสีชมพู ส่วนหัวมีสีเขียวลายเหลือง หนามที่เปลือกมีสีเหลืองเข้ม ลำตัวมีสีเขียวอ่อนปนเหลือง มีลายสีน้ำเงินอมม่วงจุดขาว มีหนามระหว่างตา 2 คู่ นิยมนำมาบริโภค และใช้เปลือกทำเป็นเครื่องประดับบ้าน มีราคาสูง

Scyllarus sp., กั้งกระดาน, flathead lobster, Scyllaridae.

พบทั่วไปตามชายฝั่งบริเวณพื้นทรายปนเลน มีขนาด 10-20 เซนติเมตร ตัวกว้างแบน มีเปลือกแข็งหนาผิวขรุขระ สีน้ำตาลปนเทา คล้ายแผ่นกระดาน ส่วนหัวและอกแผ่กว้าง มีขาเดิน 5 คู่ ไม่มีก้าม ลำตัวค่อย ๆ เรียวแคบลงในส่วนท้อง มีขาว่ายน้ำ 5 คู่ แพนหางเป็นแผ่นกว้าง

Clibanarius padavensis De Man, 1888, ปูเสฉวนกระบองม่วง, hermit crab, Diogenidae.

อาศัยอยู่ในเปลือกหอย พบทั่วไปตามหาดทรายและป่าชายเลน มีขนาดใหญ่ ตัวและก้ามมีสีม่วง ก้านตามีขนาดใหญ่คล้ายกระบอง กินซากพืชซากสัตว์และสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร

 

"เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ...

...........เจมส์...

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4225เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2005 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ดูๆ แล้วเพลินดีค่ะ...ชอบดูสัตว์ทะเล..

กำลังหารายงานอยู่อ่ะค่ะ  ก้อพอมีบ้างนะคะ ที่ต้องเอาไปทำอ่าค่ะ ขอบคุนนะคะสำหรับข้อความ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท