หลักธรรมมะกับการบริหาร


          จริงๆ แล้วการบริหารคืออะไร ?

          การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน

          ดังนั้นผู้บริหารจึงเป็นบุคคลสำคัญในการที่จะผลักดันองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้  แต่การที่ผู้บริหารจะทำได้นั้นบุคลากรภายในองค์กรจะต้องให้ความร่วมมือและพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ แล้วอะไรล่ะที่จะเป็นส่วนช่วยให้ผู้บริหารครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ดิฉันมองไปถึงเรื่องของหลักธรรมมะค่ะ ธรรมมะเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ เป็นวิทยาศาสตร์ และสามารถใช้ได้จริง ปัจจุบันนี้ผู้บริหารหลายคนในระดับที่สูงๆ  ก็ใช้หลักธรรมมะกันในการบริหารงานในองค์กร

          ดิฉันจะขอยกตัวอย่างเรื่องของหลักธรรมมะในการบริหารนะค่ะซึ่งพอดีไปอ่านเจอแล้วชอบมากค่ะ เลยอยากจะเอามาเล่าสู่กันฟัง เขาบอกว่า

          ผู้บริหารต้องเรียนรู้การบริหารตน การบริหารคนและการบริหารงาน ดังมีปรากฏในเตสกุณชาดก  ดังนี้
            ๑. ผู้บริหาร ต้องไม่กล่าวเท็จ ไม่พึงโกรธ และไม่พึงลิงโลดใจก่อนจะตัดสินใจในกิจการทั้งหลาย
            ๒.ผู้บริหาร จะต้องมีใจดีต่อบุคคลทั้งปวง มีความอุตสาหะไม่ประมาทในกิจการทั้งหลาย
            ๓. ผู้บริหาร พึงแต่งตั้งผู้ที่มีความฉลาดรอบรู้ เก็บความลับได้ดี ไม่มีประวัติเสื่อมเสียเรื่องทุจริตคิดมิชอบ ไม่หลงไหลในอบายสุข ให้ทำกิจการทั้งหลาย
            ๔. ผู้บริหาร พึงบริหารการคลังด้วยตนเอง ไม่ไว้วางใจใครให้จัดการเรื่องทรัพย์สินและกู้หนี้แทนตน
            ๕. ผู้บริหาร ควรข่มคนที่ควรข่มและควรยกย่องคนที่ควรยกย่อง    (นิคฺคณฺเห    นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ)
            ๖. ผู้บริหาร ต้องหมั่นเยี่ยมเยียนชี้แนะเรื่องราวต่าง ๆ แก่บุคคลที่อยู่ห่างไหล
            ๗. ผู้บริหาร ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ย่อมทำลายทรัพย์สินของแผ่นดิน
            ๘. ผู้บริหาร ไม่พึงดำเนินการเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทำกิจการทั้งหลายด้วยความรีบร้อนจนเกินเหตุ เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา ย่อมจะประสบกับความเดือดร้อนในภายหลังได้
            ๙. ผู้บริหาร ไม่พึงละเลยการบำเพ็ญบุญกุศล และไม่ตกเป็นทาสของความโกรธ เพราะว่าตระกูลที่มั่งคั่งหรือประเทศที่มั่งคั่ง ต้องประสบกับความหายนะเพราะความโกรธมาแล้ว
           ๑๐. ผู้บริหาร ไม่พึงดำริว่าตนเป็นใหญ่แล้ว กดขี่ข่มเหงประชาชน อย่าทำให้ประชาชนต้องได้รับความเดือดร้อน
           ๑๑. ผู้บริหาร ไม่พึงลุ่มหลงกามารมณ์ (กามคุณ) เพราะจะเป็นเหตุให้โภคทรัพย์พินาศ
           ๑๒. ผู้บริหาร ทรงศีล อย่าเป็นผู้ทุศีล เพราะว่าคนทุศีล ย่อมประสบกับความตกต่ำ

จะเห็นได้ว่าทั้ง ๑๒ ข้อที่กล่าว มีการจัดหลักการบริหารได้ครบทั้ง ๓ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารตน การบริหารคน และการบริหารงาน โดยใช้หลักธรรมมะในการบริหาร ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
                ข้อที่ ๑, ๙, ๑๑, ๑๒ เป็นการบริหารตน
                ข้อที่ ๒, ๓, ๕, ๖, ๑๐ เป็นการบริหารคน
                ข้อที่ ๔, ๗, ๘ เป็นการบริหารงาน

           ดิฉันเชื่อว่าหากผู้บริหารมีการจัดการบริหารที่ครบทั้ง 3 ด้านแล้ว องค์กรนั้นก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานค่ะ ยังไงก็ลองนำไปปฏิบัติดูนะค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์7
หมายเลขบันทึก: 422179เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2011 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท