เตือน..สารเคลือบผิวผักผลไม้ต้องห้าม 2: มอร์ฟอลีน


จากการที่อียูได้แจ้งเตือนการใช้สาร Morpholine เคลือบผลไม้สดที่ส่งออก โดยชี้ว่าเป็นสารเจือปนอาหารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในผลไม้สดทั่วไป .......ประเด็นปัญหาคือ อยู่ดีๆทำไมสารดังกล่าวจึงเป็นสารต้องห้ามอีกแล้ว

เตือน!..สารเคลือบผิวผักผลไม้ต้องห้าม 2: มอร์ฟอลีน

โดย meepole

(ต่อ) ไขเคลือบผิวที่มีมอร์ฟอลีนถูกสั่งห้ามใช้ภายใต้การควบคุมของ EU และไม่ให้มีในผลิตภัณฑ์อาหารใดๆด้วย  สาเหตุที่มีการประกาศครั้งนี้เนื่องจากสหภาพยุโรป (EU) โดยหน่วยงานมาตรฐานด้านอาหารได้ตรวจพบสารมอร์ฟอลีน (Morpholine) ปริมาณ 2 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ในแอปเปิ้ลที่เคลือบผิวที่สหภาพยุโรปนำเข้าจากประเทศชิลี

 สารมอร์ฟอลีน (Morpholine) คืออะไร

สารมอร์ฟอลีน หรือ Diethylenimide Oxide เป็นสารใส ไม่มีสี  ระเหยได้ มีกลิ่นคาวปลาเล็กน้อย ละลายในน้ำได้ สารนี้ถูกใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารสดทั่วไป

ประโยชน์:ใช้เป็นสารทำละลายสำหรับเรซิน แวกซ์ สารที่ได้จากการตกตะกอนโปรตีนจากนม และสีย้อม สารประกอบมอร์ฟอลีน ใช้เป็นสารทำอีมัลชัน สารยับยั้งการกัดกร่อน สารแอนตี้ออกซิแดนต์ สารเติมเพื่อให้มีความยืดหยุ่นหรือมีคุณสมบัติเป็นพลาสติก สารกำจัดศัตรูพืช สารต้านจุลินทรีย์ เป็นต้น [Merck Index # 6277]

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดให้ Morpholine (172.235) อยู่ในกลุ่มสารเคลือบ ใช้เคลือบผักผลไม้สด ในรูปเกลือของกรดไขมัน ในปริมาณไม่เกินที่จะให้ผลตามวัตถุประสงค์ของการใช้

สาร Morpholine นี้เป็นสารเจือปนอาหาร (food additive) ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ในหลายๆประเทศ เช่น แอฟริกาใต้ ชิลี อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย (ในประเทศไทยคงไม่มีข้อห้ามเช่นกัน) แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในสหภาพยุโรปและประเทศในเครือสมาชิก

 สารนี้ถูกเติมลงในสารเคลือบผิวเพื่ออะไร 

จริงๆสารนี้ใช้เป็นตัวทำละลายสำหรับ แวกซ์หรือไข ใส่ในไขที่จะใช้เคลือบผิวเพื่อเป็นตัวที่ทำให้ไขกระจายตัวสามารถเข้ากันกับน้ำได้ดี (emulsifier) เมื่อสารนี้ถูกทำให้แห้งหลังการเคลือบด้วยลมร้อน สารมอร์ฟอลีนส่วนหนึ่งจะระเหยไปและเหลือติดที่ผิวเปลือกในปริมาณน้อยมาก

 สารมอร์ฟอลีน อันตรายหรือไม่ เป็นสารก่อมะเร็งจริงหรือ 

สารมอร์ฟอลีนนี้ไม่มีหลักฐานว่าทำให้เกิดมะเร็งแต่อย่างใด(http://monographs.iarc.fr/index.php)

หน่วยงานสุขภาพของแคนาดา (Health Canada )ได้ออกมาระบุว่าสารมอร์ฟอลีนที่ใช้เคลือบผิวแอปเปิ้ลนั้นไม่มีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์

รู้ได้อย่างไรว่าเคลือบด้วยอะไร 

จากตอนที่1 ทำให้เรารู้ประเภทของสารเคลือบ แต่จริงๆแล้วเราไม่มีทางรู้ได้ว่าสารเคลือบนั้นมีสารใดเจือปนบ้าง สินค้าต่างประเทศที่นำเข้า อาจจะมีข้อความแสดงให้รู้เพียงว่าเป็นสารเคลือบพวกไหน

สารเคลือบผิวหรือไข (wax) เหล่านี้พบว่าบางชนิดได้มาจากสัตว์ จากแมลงบางชนิด ดังนั้นสารเคลือบผิวบางชนิดจึงกระทบต่อคนที่ทานมังสวิรัติ ทานเจ ในต่างประเทศ (หรือสินค้านำเข้า) จึงมีการพิมพ์คำเหล่านี้ติดไว้เตือน เช่น

 หากเคลือบด้วยไขที่ทำจากสัตว์ จะเขียนบอกไว้ว่า

"Coated with animal-based wax." หรือไม่ก็.

“petroleum-beeswax”

หากเคลือบด้วยไขจากพืชทั่วไปก็เขียนไว้ว่า

"Coated with food-grade vegetable" หรือ

“shellac-based wax” หรือ resin

 

ติดตามตอนจบ (ตั้งใจจะมีเพียง 2 ตอน แต่ค้นแปลเรียบเรียงแล้วค่อนข้างยาว จึงต้องแบ่งตอนเพื่อไม่ให้หลับก่อนจบค่ะ) ในหัวข้อ

ทำไมสารดังกล่าวจึงเป็นสารต้องห้าม

ทางเลือกของผู้บริโภค 

อ้างอิง

Fact Sheet: Use of Morpholine in Apple Coatings   http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/securit/facts-faits/factsheet_applecoating-fiche_info_pomme_enrober-eng.php

http://www.chemtrack.org/HazMap-Agent-Info.asp?ID=862

http://www.food.gov.uk/news/newsarchive/2010/oct/morpholine

MORPHOLINE  http://toxnet.nlm.nih.gov/

 

 

หมายเลขบันทึก: 422149เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2011 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สมัยก่อนไม่เคยทราบเลยว่า มันอะไร เห็นมันๆๆที่เคลือบนึกว่า wax ธรรมดา ขอบคุณสำหรับความรู้ครับอาจารย์

สวัสดีค่ะ

เมื่อวานนึกว่าตอบอจ.แล้ว แก่แล้วหลงลืมอย่างนี้เอง หุ หุ

วันนี้มีตอนใหม่แล้วค่ะ ติดตามต่อนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท