"...องค์กรของเรามีคนเพียง 10 คนจะทำ AI ได้ไหมคะ.." (ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 297)


Appreciative Inquiry

คำถามนี้มักถูกถามตอนเริ่มต้นโครงการทำ AI กับลูกศิษย์คนหนึ่ง ตอบได้เลยครับว่า...

"ได้ครับ"...มีสองเหตุผลครับ

1. จริงๆแล้ว AI คือศาสตร์และศิลป์แห่งการถามคำถามดีๆ เพื่อเอาเรื่องดีๆมาขยายผลสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ..มีสมมติฐานว่าในทุกระบบมีเรื่องดีๆ ซ่อนเร้นอยู่ครับ...

ไอ้ประการหลังที่ว่า.."..มีเรื่องดีๆซ่อนเร้นอยู่นี่แหละ.." นำมาสร้า้งโจทย์ให้คนสิบคนทำ AI ได้ บอกเลยครับ..นับสิบเรื่อง ครับ.." ทำในแง่การลดต้นทุน การทำงานเป็นทีม ความสุขในการทำงาน..ขยายไปถึงที่บ้าน การเปลี่ยนแปลง...บริการ..พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนางานของแต่ละคน...เพราะไำม่ว่าจะไปจับเรื่องใด งานใด กับใคร ก็มักมีเรื่องดีๆซ่อนเร้นอยู่ครับ..เพราะฉะนั้นมีเรื่องให้ทำเพียบครับ 10 คนนี่ ทำ AI หัวข้อต่างๆกับ 10 เรื่องก็ได้เรื่องดีๆนับ 100 เรื่อง ไปสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้แล้วครับ

2. จริงๆแล้ว คน 10 คนนี่ไม่ได้อยู่บนเกาะ ไม่เกี่ยวข้องกับใคร เราทุกคนต่างเกี่ยวข้องกับคนอื่น สามารถทำให้งานในแผนกถัดไปป่วนปั่น หรือราบเรียบ หรือขนาดอาจจ๋อยหมด เพราะเจอลูกค้าข้างนอกอัด..เพราะผลิตภัณฑ์อย่างโรงงานสายไฟรถยนต์นี่ เสียงว่า ผลิตไม่ทัน โรงงานรถยนต์คนงานสี่ห้าพันคน นี่ได้หยุดผลิตกันเลย..เห็นไหมครับ..

....เพราะฉะนั้น..ถ้ามองแบบลึกขึ้น เราสามารถทำ AI กับทั้งสิบคนและ คนที่เกี่ยวข้องกับเราได้.. โครงการ AI ของกลุ่ม AI Thailand ส่วนใหญ่จะดึงลูกค้ามามีส่วนร่วมด้วยครับ...เพราะฉะนั้นบางร้าน เช่นร้านการแฟ Charity นี่คนขายสามคน..แต่ดึงลูกค้านับ 100 มามีส่วนร่วม บวกร้านข้างๆ คนส่งน้ำแข็ง แผงพระ (อยู่ตรงธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์) มามีส่วนร่วม แม้กระทั่งร้านพ่อแม่ น้องสาว ก็เอามาแจมด้วยครับ...

...

เห็นไหมครับ 10 คนก็ทำได้...

คุณล่ะคิดอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 421902เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2011 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นษิตา ผาสุขบุญ ชื่นชมสรรพสิ่ง

ในความคิดเห็นส่วนตัว ทำคนเดียว คือตัวเราเอง ให้สำเร็จก่อน คือ

มอง ให้เห็นคุณค่าที่มีอยู่แล้วในตัวเราเอง (เพราะว่าตัวเราเอง ไม่อยากสร้างปัญหาให้แก่ชีวิเลย มีความตั้งใจจะให้ดี อยากจะทำให้ดี)

มอง ให้เห็นคุณค่าที่มีอยู่แล้วในมนุษย์ทุกคน (เพราะว่ามนุษย์ทุกคน ไม่อยากสร้างปัญหาให้แก่ชีวิตเลย มีความตั้งใจจะให้ดี อยากจะทำให้ดี)

มอง ให้เห็นคุณค่าที่มีอยู่แล้วในสรรพสิ่ง (เพราะสรรพสิ่งไม่อยากสร้างปัญหาให้แก่ชีวิตเลย มีความตั้งใจจะให้ดี อยากจะทำให้ดี)

แล้วตัวเราเองก็จะมีความสุข และคนรอบข้างเราก็จะมีความสุขไปด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท