ความผูกพันในครอบครัว


ครอบครัวอบอุ่น

ความผูกพันในครอบครัว

          เคยได้อ่านบทความพิเศษของ รศ.นพ.รณชัย  คงสกนธ์ ในนิตยสารหมอชาวบ้านเมื่อนานมาแล้ว แต่ได้เก็บบทความนั้นไว้ เพราะเห็นว่าการสร้างครอบครัวให้เข้มแข็งและอบอุ่น เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตให้ปกติสุข และมีสุขภาพจิตที่ดี  ขอนำมาแบ่งปัน โดยหวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นบ้างค่ะ

          ความผูกพัน : ตัวแปรความอบอุ่นในครอบครัว

            ครอบครัวจะมีแรงผลักดันอยู่ 2 แรงที่ต่อสู้กันอยู่เสมอคือ แรงที่ดึงสมาชิกให้เข้าหากัน เป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน ทั้งความคิด ความรู้สึก การกระทำ และแรงผลักดันที่ทำให้สมาชิกอยู่ห่างออกจากกัน เพื่อใช้ชีวิตอย่างอิสระและเป็นตัวของตัวเอง
            แรงผลักดันทั้ง 2 จะสมดุลกันในครอบครัวที่อบอุ่น แม้บางครั้งแรงผลักดันแบบหนึ่งอาจมากกว่าอีกแบบหนึ่ง แต่ก็จะเป็นอยู่ชั่วคราว และจะกลับคืนสู่สภาวะสมดุลในที่สุด โดยความผูกพันทางอารมณ์แบ่งได้เป็น 2  ลักษณะคือ

            1.  ครอบครัวที่ผูกพันแน่นแฟ้นเกินไป

                ครัวที่ผูกพันแน่นแฟู้่ ๒ผู้อื่นบ้างค่ะะอบอุ่น เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตให้ปกติสุข และมีสุขภาพจิตที่ดีเกิดขึ้นจากการที่สมาชิกในครอบครัวทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากที่เคยทำมา ก็จะเกิดความเครียดขึ้นมาในครอบ-ครัวทันที ความเครียดนี้อาจกระทบถึงความสัมพันธ์ และการปฏิบัติหน้าที่ด้านอื่นๆ ของครอบครัว เช่น ลูกทำใน สิ่งที่พ่อแม่ไม่ชอบ หรือไม่เห็นด้วย และให้ลูกตัดสินใจว่า จะทำตามใจตัวเอง หรือยอมทำตามที่พ่อแม่ต้องการ
ผลของความผูกพันที่มากเกินไปนั้น จะทำให้สมาชิกในครอบครัวไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ เช่น แม่ที่ผูกพันแน่นแฟ้นกับลูกมากเกินไป อาจทำให้พ่อห่างเหินไปโดยอัตโนมัติ โดยเด็กจะพึ่งแม่ไปโดยอัตโนมัติและไม่รู้จักโต

            2. ครอบครัวที่เหินห่างทางอารมณ์

            สำหรับครอบครัวที่ผูกพันระหว่างกันน้อย แม้สมาชิก ในครอบครัวจะมีอิสระมาก ก็จะเป็นความอิสระที่ไม่สมบูรณ์ เพราะขาดความรู้สึกเป็นส่วนตัวและความรู้สึกที่พึ่งพิงกันในยามจำเป็น นอกจากนี้ การที่ต่างคนต่างอยู่จะทำให้ไม่สามารถร่วมทำภารกิจที่สำคัญให้สำเร็จได้ เช่น ครอบครัวที่พ่อกับแม่ไม่มีความผูกพันใกล้ชิดกัน ย่อมไม่สามารถร่วมมือกันปกครองลูกได้

            ความผูกพันทางอารมณ์ที่เหมาะสมที่สุดคือ ความผูกพันระดับกลาง เพราะคนในครอบครัวจะมีความเป็น อิสระ แต่ยังคงความผูกพันกับครอบครัวเดิมอยู่ ทั้งนี้ การจะมีครอบครัวที่อบอุ่นได้นั้น ครอบครัวจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างความเป็นอิสระและความผูกพันกับครอบครัว ได้อย่างเหมาะสม

            ผู้นำในครอบครัว : บทบาทผู้สร้างความอบอุ่นในครอบครัว

            ทุกครอบครัวต่างก็มีผู้นำในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ความเป็นผู้นำไม่ควรถูกจำกัดให้อยู่กับ คนใดคนหนึ่ง เช่น พ่อแม่ไม่ควรเป็นผู้นำคนเดียว หรือ แม่ไม่ควรเป็นผู้นำคนเดียว เพราะหากครอบครัวต้องตกอยู่ในภาวะความตึงเครียด ผู้เป็นพ่อและแม่ต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และร่วมกันเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
จากการศึกษาครอบครัวของวัยรุ่นในประเทศแคนาดา พบว่า วัยรุ่นในครอบครัวที่พ่อเป็นผู้นำในแบบประชาธิป- ไตย จะมีความมั่นคงทางอารมณ์มากกว่าวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวที่พ่อหรือแม่มีอำนาจเพียงคนเดียว

            ดังนั้น หากต้องการมีครอบครัวที่อบอุ่น สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวจะต้องมีบทบาทความเป็นผู้นำในวาระที่แตกต่างกันออกไป เช่น แม่จะเป็นผู้นำและเป็น                   ผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลครอบครัวและการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องอาหาร         การกินในบ้าน ส่วนพ่อจะเป็นผู้นำในเรื่องที่สำคัญ เช่น เรื่องภายนอกบ้าน และสมาชิก ในบ้านควรมีส่วนในการสนับสนุนความคิดของผู้นำในครอบครัว

            เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว คนในครอบครัวจะต้องช่วยกันแก้ไขความขัดแย้งให้กลับคืน สู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด โดยสามารถแก้ไขความขัดแย้ง ได้ 2 วิธีคือ

            1. การร่วมมือกัน โดยคนในครอบครัวต้องหันหน้าเข้าหากัน และพูดคุยถึงปัญหาอย่างตรงไปตรงมา เพื่อหาข้อยุติที่เหมาะสม

            2. การยอมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งยอมลงให้อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อเป็นการยุติความขัดแย้ง หรือเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามออกไป

            3. การพยายามเอาชนะ เป็นการช่วงชิงอำนาจว่าใครจะเป็นใหญ่ ใครจะแพ้ ใครจะชนะ ซึ่งไม่ทำให้ปัญหายุติได้ แต่จะทำให้สถานการณ์รุนแรงยิ่งขึ้น เพราะการแก้ไขปัญหาด้วยการเอาชนะกันนั้นไม่ใช่วิธีการที่ได้ผล ยิ่งถ้ามีการดึงบุคคลที่ 2 เข้ามาก็จะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาเป็นลูกโซ่

            หนทางที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวคือ การสื่อสาร เพราะการสื่อสารทำให้ครอบครัวมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่การสื่อสารที่ดีย่อมต้องอาศัยทักษะและความสามารถที่ดี เช่น การเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่าย การฟังผู้อื่น การพูดจาประคับประคองอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
ในทางกลับกัน การพูดจาตำหนิติเตียน หรือทำให้เกิดความรู้สึกในเชิงลบ จะยิ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกโกรธ เสียใจ ตึงเครียด ขัดแย้ง และนำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวทั้งในด้านท่าที วาจา และการกระทำที่รุนแรงกับบุคคลอื่นในที่สุด

            การสร้างความรักและความอบอุ่นในครอบครัวจะเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันให้ครอบครัวหลีกหนีและห่างไกลจากความรุนแรง และจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมในที่สุด

 

ขอบคุณ นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 319  

บทความพิเศษ 

นักเขียนรับเชิญ : รศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์

หมายเลขบันทึก: 421799เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2011 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ...

  • ครอบครัวเป็นพื้นฐานแรกในการดำรงชีวิตค่ะ...
  • ยิ่งที่เริ่มต้น มีความผูกพัน อบอุ่น ในระยะเวลาการทำงานทำให้เราทราบได้เลยค่ะว่า ใครบ้างที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น ใครบ้างที่มาจากครอบครัวที่มีปัญหา จะรวมทั้งอารมณ์ที่แสดงออกของคน ๆ นั้นด้วยค่ะ...
  • ความอบอุ่น จะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับการดำรงชีวิตด้วยค่ะ...
  • ไม่เคยพบว่านักเรียนที่มีปัญหามาจากครอบครัวที่อบอุ่น
  • นักเรียนที่มีปัญหาพอศึกษา พูดคุยลึกๆ ก็จะเจอตอ....
  • ขอบคุณค่ะ

ปลายพู่กันณัฐรดาhttp://portal.in.th/files/6/6/0/2010/10/29/IMG_4697-anchan-pic-wl.jpg

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท