สุภาษิต


สัปปุริสธรรม ๗

สวัสดีค่ะ 

    ขอยกตัวอย่างสุภาษิตที่ว่า "ช้าๆ ได้พร้า ๒ เล่ม" กับสุภาษิต"ช้าเสียการ นานเสียกิจ"

มีความหมายและใช้ในเวลาต่างกัน  และสงเคราะห์เข้าหลักธรรมสัปปุริสธรรม ๗        ข้อที่ ๕ คือ กาลัญญุตา

     "ช้าๆ ได้พร้า ๒ เล่ม" หมายความว่า ให้ทำกิจต่างๆ ด้วยความสุขุมรอบครอบ อย่าผลีผลามเร่งรีบเกินกว่าที่ควร ซึ่งจะทำให้เสียกิจนั้นๆได้ ตัวอย่างเช่น การขับรถ เป็นต้น สุภาษิตข้อนี้ ควรใช้ในกิจที่ต้องอาศัยเวลานานสักหน่อย

     ส่วนสุภาษิตที่ว่า "ช้าเสียการ นานเสียกิจ" หมายถึง ให้รีบทำกิจนั้นเร็วๆ เพราะงานบางอย่างถ้าขืนรอช้าอยู่ จะพลาดโอกาสอันงามเสีย สุภาษิตข้อนี้ควรใช้ในกิจรีบด่วน เช่น การศึกษาเล่าเรียน การประกอบอาชีพ การทำบุญเป็นต้น

       สุภาษิตทั้ง ๒ นี้ มีความหมายแตกต่างกัน ขอให้ทุกท่านนำไปใช้เตือนสติได้ตลอดเวลาจะได้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตหรือสอนบุตร หลานให้หมั่นยึดถือความดี

                                    พบกันใหม่  สวัสดีค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 421569เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2011 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้ความรู้ที่กระจ่างขึ้น  ขอบคุณค่ะ

 

 

ช้าเสียการนานเสียกิจ กับ ช้าเป้นการ นานเป้นคน เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรครับ อยากให้ช่วยวิพากษ์วิจารณ์หน่อยครับ

สวัสดีค่ะ พี่ดวงดาว

สุภาษิตทั้ง 2 นี้ดีมากค่ะ ทำให้เข้าใจความหมายมากขึ้น รู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาวในการทำงานและการดำเนินชีวิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท