วิธีประเมินผลขณะดำเนินการสอนแบบฉับไวด้วย wordle.net


- - formative evaluation with wordle.net - -

ในฐานะผู้บริหารห้องเรียน หรือผู้ประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียน บางทีเราก็มีอารมณ์อยากจะเห็นผลตอบรับแบบง่ายและเร็วจากผู้เรียน ทั้งที่รู้ว่าการตรวจงานและตรวจการบ้านนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและการต่อยอดความรู้ของผู้เรียน แต่บางคนก็คงไม่สามารถให้งานทุกสัปดาห์ ตรวจงานทุกวันได้

ผมลองใช้วิธีง่ายง่ายแบบนี้ครับ
1.    อันดับแรกผมสร้าง google form ให้ผู้เรียนสามารถเติมคำคุณศัพท์ได้สี่คำ เน้นว่าต้องเป็นคำที่อธิบายอารมณ์ได้ดี ผมย้ำกับนักเรียนว่ากิจกรรมนี้ไม่มีผลต่อคะแนนใดๆ ทั้งสิ้น และผมไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ทั้งนั้น พูดจบผมก็เดินออกไปนอกห้องให้เขาได้ลงมือคิดและส่งคำเหล่านั้นโดยไม่มีอิทธิพลของผู้สอนไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม

google form
2.    จาก google form เราสามารถ export เป็น excel sheet ได้ ผมก็เอามารวบรวมและจัดกลุ่มเอาคำที่คล้ายกันมารวมกัน เช่น กลุ่มคำว่า useful, it useful, nice to improve my works with microsoft office, can use Microsoft office, useful assignment ผมก็จับรวมเป็น useful คำเดียว (ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง) ขั้นตอนนี้ไม่มีทางลัดและใช้เวลานานที่สุด แต่ก็สำคัญที่สุดครับ เป็นการใช้เวลาทำความเข้าใจกับคำคุณศัพท์ต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาในหัวผู้เรียน ซึ่งผมคิดว่าจำเป็นมาก จะมาใส่คำให้เขาเลือกก็คงไม่ได้ความหลากหลายแบบนี้
3.    พอได้รายการกลุ่มคำคุณศัพท์เหล่านี้ พร้อมความถี่ว่าแต่ละคำมีนักเรียนอ้างถึงกี่หน ผมก็จับโยนเข้าไปใน www.wordle.net/create คำที่ซ้ำกันก็ใส่เข้าไปตามจำนวนที่มีนั่นแหละครับ เพราะว่า wordle สามารถจะเอาความถี่ของคำเหล่านี้มาคำณวนเป็นขนาดของคำได้ ผลที่ออกมาก็ได้แบบนี้แหละครับ

wordle

เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะสะท้อนให้เห็นว่าในชุมชนเล็กเล็กระดับห้องเรียนประมาณสี่สิบถึงหกสิบคนว่าในช่วงต้นเทอม กลางเทอมและปลายเทอมมีความคิดอย่างไร สำหรับในวิชาที่ผมทดลองใช้เทคนิคนี้เป็นการเรียนในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยมีการออกแบบหลักสูตรให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง และช่วยเหลือกัน ส่วนผมก็จะคอยสนับสนุนชี้แนะอยู่ พูดง่ายๆ คือไม่มีการเรียนการสอนแบบบรรยาย (lecture) มากนัก

อย่างที่เห็นอยู่ใน wordle อันนี้ก็จะมีคำเด่นคือ ความรับผิดชอบ (responsibility) ความรู้ (knowledge) และ มีประโยชน์ (useful) แต่คำที่ผมอยากให้ใหญ่กว่านี้ก็เช่นคำว่า เรียนรู้ด้วยตนเอง (self-taught) ใช้งานได้จริง (practical) ท้าทาย (challenging) และสนุก (fun) ส่วนคำที่อยากให้น้อยลงคือคำว่า น่าเบื่อ (boring) และสับสน (confusing)


เดี๋ยวเอาไว้ปลายเทอมจะลองดูอีกสักหน แล้วจะเอาผลมาฝากกัน

สำหรับตอนนี้ใครสนใจลองเอาไปใช้โลดเลย ได้ผลอย่างไรมาเล่าให้กันฟังบ้างนะครับ

ผมลองใช้วิธีง่ายง่ายแบบนี้ครับ

1.       อันดับแรกผมสร้าง google form ให้ผู้เรียนสามารถเติมคำคุณศัพท์ได้สี่คำ เน้นว่าต้องเป็นคำที่อธิบายอารมณ์ได้ดี (รูปแรก)

2.       จาก google form เราสามารถ export เป็น excel sheet ได้ ผมก็เอามารวบรวมและจัดกลุ่มเอาคำที่คล้ายกันมารวมกัน เช่น กลุ่มคำว่า useful, it useful, nice to improve my works with microsoft office, can use Microsoft office, useful assignment ผมก็จับรวมเป็น useful คำเดียว (ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง)

3.       พอได้รายการกลุ่มคำคุณศัพท์เหล่านี้ พร้อมความถี่ว่าแต่ละคำมีนักเรียนอ้างถึงกี่หน ผมก็จับโยนเข้าไปใน www.wordle.net/create คำที่ซ้ำกันก็ใส่เข้าไปตามจำนวนที่มีนั่นแหละครับ เพราะว่า wordle สามารถจะเอาความถี่ของคำเหล่านี้มาคำณวนเป็นขนาดของคำได้ ผลที่ออกมาก็ได้แบบนี้แหละครับ (รูปสอง)

หมายเลขบันทึก: 421314เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2011 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท