Vacuum Dressing


By Jan ชอบมาก ที่คุณหมอไพวัลย์ บอกว่า ต่อไปให้ทิ้ง Gauze หรือ Top หนา ได้เลย คนไข้สบายไม่ต้องเจ็บปวดกับการต้องทำแผลทุกวัน แถมแผลหายเร็วอีกต่างหาก ส่วนค่าใช้จ่ายโดยรวมประหยัดกว่าการทำแผลแบบเดิม อีกอย่างพยาบาลจะมี้เวลาว่างไปทำงานอื่นที่สำคัญได้

 

สืบเนื่องจากได้ไปประชุมวิชาการ วันที่ 18 มกราคม 2554
ที่โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร เรื่อง Dressing update
พวกเราคงจำคุณหมอไพรวัลย์ ศุภลักษณ์ กันได้
ขณะนี้ท่านได้นำแนวคิดของ Vacuum dressing มาประยุกต์ใช้
ที่ตึกศัลยกรรม 3 โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร
(ซึ่งยินดีให้พวกเราไปศึกษาดูงานได้)

  

ตัวอย่างแผลที่เลือกใช้ Vacuum dressing ได้
(ภาพจาก Google)

Large_dscf06930

ขอบคุณภาพจาก http://gotoknow.org/file/kunladar/view/492032

ขอบคุณภาพจาก http://wjso.com/content/5/1/41/figure/F2?highres=y

วัสดุอุปกรณ์&วิธีทำ :

- NG tube เจาะรูเพิ่มตามขนาดของแผล
- แผ่น Filter air ปลอดเชื้อ สำหรับหุ้ม ปลาย NG tube ตัดแต่งให้เหมาะสมกับรูปร่างและขนาดของแผล
- ด้าย หรือไหม ปลอดเชื้อ ผูกยึด NG tube กับ แผ่น Filter air
- แผ่นฟิล์ม สำหรับปิดคลุมแผล หรือแผ่นฟิล์มถนอมอาหารก็ได้
- พลาสเตอร์ สำหรับยึด NG tube และแผ่นฟิล์ม ตามความเหมาะสม
- ขวด Vacuum หรือ เครื่อง Suction แบบไหนก็ได้ ปรับแรงดัน
   ประมาณ 100 mmHg โดยต่อกับ NG tube 
   จะเปิดเครื่องแบบต่อเนื่องหรือหยุดพักก็ได้ ตามความเหมาะสม
   และเปลี่ยน Dressing 3-5 วัน:ครั้ง

*** น่าสนใจชิมิ? ***

By Jan

คำสำคัญ (Tags): #vacuum dressing
หมายเลขบันทึก: 421203เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2011 04:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

คุณยายมาส่งกำลังใจค่ะ

 

ตกลงจะมาประยุกต์ใช้ใน รพ. เราได้ป่าว แบบชอบของใหม่ ชอบการเปลี่ยนแปลง / boss

ได้แน่ค่ะ เหมาะกับ ward มาก เห็นพี่รัชฎาสนใจอยู่
แต่ไม่ทราบเรามีแผลเรื้อรังแบบนี้ Admit มากแค่ไหน

น่าสนใจอย่างยิ่งเลยค่ะ

จะลองนำเสนอทีมงานดู

มโนรมย์ทำแล้วได้ผลเป็นอย่างไรนำมาแบ่งปันบ้างนะคะ

อยากทราบว่าหลักการนี้ทำให้แผลหายเร็วขึ้นได้อย่างไรคะ

         WAW

โดยหลักการของ vacuum dressing หรือ vacuum assist closure ก็ คือ การดูด necrotic tissue หรือ discharge ตลอดเวลา เพิ่ม bllood supply สิ่งที่ได้ก็คือ ไม่มี discharge คั่ง แผลโตเร็ว granulation tissue ( เนื้อแดงๆ) โตเร็วมาก  ผมมีcase NF ที่ทำ debridement แล้วทำแผล ด้วย vaccuum สามารถทำ skin graft ได้ในเวลาไม่ถึงเดือน ซึ่งถ้าทำแผลปกติต้องใช้เวลา 2-3 เดือน แผลจึงจะทำ skin graft ได้

อยากทราบว่าคุณหมอรักษาแผลที่เกิดจากโรคผิหนังมั๊ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท