การจัดทำแผนในระบบ EVMIS


      ก่อนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงบประมาณ (อนุมัติเงินประจำงวด) ส่วน ราชการทั้งหลายจะต้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ซึ่งการจัดทำแผนฯ ดังกล่าวในช่วงก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ส่วนราชการจะต้องจัดทำเป็น Paper ส่งไปยังสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนฯดังกล่าว แต่ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา สำนักงบประมาณได้พัฒนาระบบการทำแผนใหม่ โดยให้ส่วนราชการบันทึกแผนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และจะมีการอนุมัติแผนฯ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน
        ปีงบประมาณ 2549
สำนักงบประมาณพัฒนาระบบการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณขึ้นใหม่ จากเดิมที่ให้ส่วนราชการบันทึกข้อมูลลงในระบบ GFMIS โดยตรง แต่ปีนี้ได้มีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นใหม่ คือ ระบบ EVMIS ให้ส่วนราชการต่าง ๆ บันทึกข้อมูลแผนฯ ลงในระบบ EVMIS และตรวจสอบให้ถูกต้อง สำนักงบประมาณเห็นชอบแผนฯ แล้ว จึงโอนข้อมูลเข้าระบบ GFMIS 
      
ในช่วงวันที่ 14-16 กันยายน 2548  ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้ไปบันทึกข้อมูลแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2549 ณ สำนักงบประมาณ ปีนี้เป็นปีที่สองแล้วนะ ที่จะต้องทำแผนฯโดยไม่มีโอกาสเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับวิธีการจัดทำแผนตั้งแต่ต้น เนื่องจากเหตุผลบางประการ (ซึ่งก็ยังไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใดจนถึงวันนี้) แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ เพราะสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (สงสัยจะเป็นคนหัวดี...555) แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการหาข้อมูลและสอบถามจากคนใกล้ชิดที่ทำหน้าที่เดียวกันของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ วันแรกที่ไปถึงก็งง งง ว่าจะต้องทำอะไรก่อน ตอนนั้นไม่ทราบว่ามีคู่มือการปฏิบัติงานให้ด้วย จึงสอบถามพี่ ๆ ที่สำนักงบประมาณ ก็ได้รับความอนุเคราะห์คู่มือมาหนึ่งเล่ม จากการศึกษาพบว่าการบันทึกข้อมูลนั้น จะต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้การบันทึกข้อมูลสมบูรณ์และถูกต้อง ดังนี้
    1. ตรวจสอบข้อมูลในระบบ BIS ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และแก้ไขให้ถูกต้อง
    2. โอนข้อมูลจากระบบ BIS เข้าสู่ระบบ EVMIS
    3. บันทึกข้อมูลตามขั้นตอนตั้งแต่ระดับผลผลิตจนถึงระดับรายการย่อย เพื่อให้สามารถออกรายงานตามแบบ สงป.301 สงป.302 สงป.302-1           สงป.302-2 และ สงป.303-3 ได้

         การบันทึกข้อมูลครั้งนี้ถ้าประเมินโดยรวม ถือว่าเป็นโปรแกรมที่บันทึกข้อมูลได้ง่าย เมนูต่าง ๆ สามารถเข้าใจได้ง่าย (ง่ายกว่าปีที่แล้วมาก) แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีปัญหาบ้างบางอย่าง เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล นอกจากนี้โปรแกรมจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เพราะช่วงระหว่างที่เราบันทึกข้อมูลนั้น โปรแกรมเมอร์จะทำการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามคำแนะนำหรือข้อเสนอของหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้เมื่อเจอปัญหาขณะบันทึกข้อมูล ก็จะไปปรึกษากับโปรแกรมเมอร์

ข้อเสนอแนะ

        1. ในการบันทึกข้อมูลน่าจะให้บันทึกตั้งแต่ระดับรายการย่อยขึ้นไป เพื่อที่ว่าจะได้ไม่ต้องบันทึกข้อมูลซ้ำไปซ้ำมา โดยให้โปรแกรมประมวลข้อมูลจากระดับรายการย่อยขึ้นไปสู่ระดับรายการหลักเอง โดยไม่ต้องคีย์ข้อมูล 2 ครั้ง
        2. ขณะที่ไปบันทึกข้อมูล โปรแกรมกำลังอยู่ในช่วงการพัฒนา ทำให้การบันทึกข้อมูลต้องหยุดชะงักขาดตอน ในครั้งต่อไปน่าจะให้โปรแกรมค่อนข้างสมบูรณ์เสียก่อน แล้วจึงให้หน่วยงานเข้าไปบันทึกข้อมูล เนื่องจากหน่วยงานที่อยู่ในภูมิภาคจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางค่อนข้างสูง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4205เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2005 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท