ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโรคเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน


 

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโรคเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน

 

      ข้อวินิจฉัย

 

1. มีภาวะ hypovolemic shock เนื่องจากมี เลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน

 

       วัตถุประสงค์

 

1. เพื่อให้ภาวะ hypovolemic shock หมดไป

2. เพื่อแก้ไขภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน

 

      กิจกรรมทางการพยาบาล

 

  1. ประเมินความรุนแรงของโรคจาก ปริมาณ ของเลือดที่ออก อาการเหงื่อออก

     

ตัวเย็น,ซีด , ปลายมือ – เท้าเขียว

  2.Vital sign ทุก 15 –30 นาที until stable

  3.นอนราบยกปลายเท้าสูง

  4. ดูแลให้สารน้ำตามแผนการรักษา

  5. Oxygen cannular 4 - 5 LPM

  6. สังเกต  NG content เพื่อประเมินว่ามีเลือดออกจริง/ ลักษณะเลือด                  ปริมาณเลือดที่ออก

  7. ตรวจ Hct  และส่งตรวจBUN, Cr, LFT, CBC

  8. ให้ยา ตามแผนการรักษา

  9. จองเลือด / และดูแลให้ได้รับเลือดที่ถูกต้องทั้งชนิด, ปริมาณและสังเกตภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด

 10. NPO

 11. Record intake / out put

 12. ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

 

 

 

                      

         ข้อวินิจฉัย 2. ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดท้อง และคาสาย NG

 

        วัตถุประสงค์

 

     1. บรรเทาอาการปวดท้อง

     2. เพื่อความสุขสบาย

 

 

        กิจกรรมทางการพยาบาล

 

 

  1. อธิบายให้ทราบแนวทางการรักษา

  2. แนะนำให้นอนตะแคงงอตัว หรือจัดให้นอนท่า Fowler| s position

  3. ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา

  4. จัดให้สาย NG tube ไม่ดึงรั้ง

  5. ให้กำลังใจลดความเครียด เพื่อลดการหลั่งน้ำย่อย

  6. NPO

  7. กรณีแพทย์ให้รับประทานอาหาร จัดอาหารอ่อน รสไม่จัด และสังเกตอาการหลังรับประทานอาหาร เช่น ปวดท้อง /อาเจียน

  8. งดอาหารที่มีสีแดง , น้ำตาล , เลือดหมู ควรดื่มนมสดระหว่างมื้อ

  9. ให้นอนพักผ่อนและจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

 

                                     

 

 

หมายเลขบันทึก: 420484เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2011 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาดูวิธีแก้เลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนบน ครับผม

สวัสดีค่ะคุณโสภณ เปียสนิท

 - บันทึกนี้ส่วนมากเขียนเกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาลค่ะ

 -  แพทย์จะทำอะไรให้ ในรายที่สงสัยว่าเกิดจากภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ส่วนต้น แพทย์อาจทำการตรวจพิเศษด้วยการใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหาร (ลักษณะเป็นท่อยาวๆ ให้คนไข้กลืนลงไปในกระเพาะอาหาร) หรือทำการเอกซเรย์กระเพาะอาหาร เพื่อตรวจดูว่ามีการอักเสบ มีแผล หรือก้อนมะเร็งในกระเพาะอาหารหรือไม่    ในรายที่มีการเสียเลือดมาก (คนไข้จะมีอาการซีดเชียว หน้ามืด เป็นลม) แพทย์จะให้เลือด เมื่ออาการทุเลาแล้วก็จะให้ยาบำรุงเลือดกินต่อ ถ้ามีสาเหตุจากกระเพาะอาหารอักเสบ หรือเป็นแผล แพทย์จะให้ยาลดกรด และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร กินนาน 1-2 เดือน แล้วนัดไปตรวจดูอาการเป็นระยะๆ จนกว่าจะแน่ใจว่าหายดี ค่ะ

  

     

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท